Afleveringen

  • เราน่าจะหมุดหมายจุดเด่นของสำนักพิมพ์ของเราอยู่ที่ทำวรรณกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นนวนิยายสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเลือกนักเขียนที่พอที่จะเป็นที่รู้จักอยู่แล้วบ้างมาเผยแพร่เพราะฉะนั้นเล่มแรกของเราก็จะเป็น “สูญสิ้นความเป็นคน” ของ ดะไซ โอซามุ

    .

    ทีนี้เราก็เห็นว่าคาแรกเตอร์ของเราเนี่ยก็คือเลือกเรื่องที่เป็น modern literatureแต่เราเลือกวรรณกรรมดาร์กหน่อยนึงแล้วกัน ให้มันเป็นสัญญะ เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของสำนักพิมพ์ เรามีความรู้สึกว่าเด็กควรที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆในด้านมืดของความเป็นจริงไว้ก่อนด้วย เพื่อที่จะมีภูมิคุ้มกัน มีเกราะป้องกันจะได้ไม่รู้สึกว่า โลกนี้มันสวยลาเวนเดอร์ไปหมดทุกสิ่ง

    .

    ในระหว่างที่เราทำไปเราพยายามจะหาแนวใหม่ เพื่อที่จะมาแนะนำและเราก็เห็นว่าในสังคมเริ่มรับหนังสือแนวนี้ได้ เราก็จะไปหาต้นฉบับและการคัดสรรต้นฉบับมันก็จะเป็นเอกลักษณ์ จุดเด่นของสำนักพิมพ์เราบางทีถ้าเราใช้ทั้งเล่มของที่เขามีอยู่แล้ว ตอนนี้เริ่มรู้สึกสนุกกันภายในสำนักพิมพ์การคัดสรรเรื่องสั้นของนักเขียนหลาย ๆ คนแต่มีธีมเดียวกันหรือว่านักเขียนคนเดียวที่มีธีมมาจากเรื่องหลาย ๆ อัน มันกลายเป็นแบบว่าเป็นจุดแข็งของสำนักพิมพ์เรา เพราะไม่มีใครสามารถที่จะไปเข้าถึงตัวต้นฉบับแล้วก็อ่าน แล้วก็ศึกษา แล้วก็สนใจ อย่าง GL กับ BL ที่เราทำ ต้องขุดกันมานานมากใช้เวลาเป็นปีที่จะคัดสรรต้นฉบับ

    .

    BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสำนักพิมพ์ขนาดเล็กหนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สำนักพิมพ์JLIT – คุณอรรถ บุนนาค

    ผู้ดำเนินรายการ:คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    แขกรับเชิญ:คุณอรรถบุนนาค

    .

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

    YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=LsIOcDh5FMk

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotify:https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

  • “โจทย์แรกอยากจะทำหนังสือให้มันไร้ขอบขีดจำกัดของรูปทรงเพราะเรามองหนังสือเป็นงานสถาปัตยกรรม ส่วนตัวนะ เป็นรูปทรง รูปร่างแล้วมันมีสปิริตอยู่ข้างใน ฟอร์มมันอะ มองเป็น art objectเหมือนเป็นงานศิลปะชิ้นนึง

    .

    เรามีแต่หนังสือภาพๆ เป็นนิยายภาพ เป็นหนังสือบันทึกการเดินทางด้วยภาพ แล้วก็จะมีอีกอันหนึ่งเราใช้คำว่าเป็นฟิวชั่นบุ๊คคือเป็นอะไรก็ได้ผสมผสานให้ออกมาเป็นแบบรูปทรงอะไรก็ได้แล้วก็เล่นกับมันเล่นกระดาษ เป็นการ์ด เป็นอะไรก็ได้ จริง ๆ พวกนี้มาจากการคิดการสร้างมูลค่างานเข้ามาสู่ในยุคที่แบบว่า เราเริ่มค้นพบแล้วว่าจะทำยังไงให้ทำหนังสือให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลลัพธ์มากที่สุดมันกลายเป็นหัวใจอันเดียวในปัจจุบันที่เราคิดว่าวันนี้จะเป็นทางรอดของการทำสำนักพิมพ์ลักษณะหนังสือที่เป็น appliedart

    .

    พี่มีความเชื่อว่าหนังสือมันทำให้โลกเรางดงามได้จริง ๆ ก็ตั้งโจทย์กับทุกคนด้วยนะที่ทำหนังสืออยากให้หนังสือมันเป็นเพื่อนกับคนที่มาซื้อด้วยบางทีหนังสือเล่มเดียวอาจจะทำให้เขาแบบว่า อยู่บนโลกนี้ มันมีจริง ๆคือหนังสือมันเหมือนเป็นเพื่อนเขาได้ ที่นี้ถ้าเกิดคนแวะมาดู โอเคอาจจะดูสร้างความสุขให้ตนเองอันดับหนึ่ง อันดับสองคือซื้อด้วยนะเผื่อสร้างความสุขให้ศิลปินที่ทำงานด้วยก็อีกส่วนหนึ่ง ทำให้โลกรวม ๆมันเดินทางไปด้วยความงดงาม ผมว่ามันเป็นเรื่องของความที่มันควรจะเป็นเพราะศิลปะมันช่วยให้ทุกอย่างมันงดงามได้”

    BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสำนักพิมพ์ขนาดเล็กหนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สำนักพิมพ์ Fullstop - คุณสมคิด เปี่ยมปิยชาติ

    ผู้ดำเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    แขกรับเชิญ: คุณสมคิด เปี่ยมปิยชาติ

    .

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

    YouTube: bacc channel

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotify:https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

    ติดตามสำนักพิมพ์ Fullstop ได้ทาง

    FB: Fullstop Book

    IG: fullstop.book

    เว็บไซต์: www.fullstopbook.com

    https://shopee.co.th/fullstopbooks

    https://www.lazada.co.th/shop/fullstop-book

    http://fullstopbooks.lnwshop.com/

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • “มาถึงจุดหนึ่ง ย้อนกลับไปมองผลงานตัวเองเก่า ๆ มีบางเรื่องที่เราอยากจะทำอะไรมากกว่านั้นผลงานบางเล่มที่เรารักเป็นพิเศษ ในตอนนั้นหนังสือเล่มนี้มันไม่เป็นที่รู้จักขนาดนั้นมันเป็นเพราะสำนักพิมพ์ในตอนนั้น ใส่ใจมันไม่เพียงพอหรือเปล่า นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ว่าพอเรามีศักยภาพถึงจุดหนึ่งแล้ว เราอยากจะนำหนังสือมาพิมพ์เอง

    .

    จุดเริ่มต้นอยากจะเอาผลงานของตนเองที่เรารักมันมากแต่เรารู้สึกว่าในช่วงเวลาหนึ่งที่มันยังไม่ถูกปฏิบัติด้วยอย่างที่มันควรจะเป็น นำกลับมาทำใหม่จึงเป็นหนังสือชุดแรกของแมงมุมบุ๊ก ลวง แสบ เหยื่อ หนังสือของ คุณหมอโหวเหวินหย่ง

    .

    นักอ่านในยุคนี้มักจะเป็นนักอ่านมาตั้งแต่เด็กถ้าเกิดเราไม่ปั้นนักอ่านเด็กในตอนนี้ แล้วในอีก 10 20 ปีข้างหน้าเราจะมีนักอ่านปัจจุบันได้อย่างไรนั่นก็เป็นเหตุที่เรายังคงโฟกัสที่หนังสือเด็กควบคู่ไปกับนิยายที่เราทำไปด้วย

    .เราอยากให้เห็นคุณค่า ความสำคัญของการอ่าน นอกเหนือจาก content (เนื้อหา) แค่กระบวนการการอ่าน มันก็เสริมทักษะเราแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมาธิให้อยู่กับช่วงเวลานาน ๆ กระบวนการคิด กระบวนการเรียบเรียงต่าง ๆ การเติบโตของจินตนาการ

    .

    หนังสือคือแหล่งความรู้ที่ราคาถูกที่สุดถึงแม้ว่าทุกวันนี้ราคาหนังสือจะแพงขึ้น ๆ เมื่อเทียบกับการสรรหาความรู้หรือการเข้าเรียนตามคอร์สต่าง ๆ และประโยชน์จากการอ่านการอ่านหนังสือเล่มหนึ่งให้จบ คุณค่ามันย่อมแพงกว่าราคาที่คุณจ่ายไปอย่างแน่นอน”

    .

    BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสำนักพิมพ์ขนาดเล็กหนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สำนักพิมพ์แมงมุมบุ๊ก คุณเบียร์อนุรักษ์ กิจไพบูลย์ทวี

    ผู้ดำเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    แขกรับเชิญ: คุณอนุรักษ์ กิจไพบูลย์ทวี

    .

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

    YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=eedO5wsJRag

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotify:https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

    .

    ติดตามสำนักพิมพ์ Mangmoom Book ได้ทาง

    FB: mangmoombook

    IG: mangmoombookร้านค้าออนไลน์ https://shopee.co.th/mangmoombook

  • BACC Library Podcast

    ชุดรู้จักทักทายสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สำนักพิมพ์สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณคุณเกื้อกมล นิยม

    ผู้ดำเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    แขกรับเชิญ:คุณเกื้อกมล นิยม บรรณาธิการสำนักพิมพ์สานอักษรโรงเรียนรุ่งอรุณ

    สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นสำนักพิมพ์ที่มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณอยากจะทำให้มีขึ้นมา เพื่อที่จะได้เผยแพร่องค์ความรู้ของโรงเรียน ช่วงแรก ๆอาจจะดูเหมือนเป็นหนังสือเชิงสารคดี เพราะอิงกับการเรียนการสอน เป็นแนว “บูรณาการสู่ชีวิต”ของโรงเรียนรุ่งอรุณ

    .

    คำว่า บูรณาการสู่ชีวิต มันคือ ความมีชีวิตชีวา มันคือ การที่ทำอย่างไรให้เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตของเด็ก เราโชคดีที่มีเด็กกับครู เราทำไป ลงไปในห้องเรียน ลงไปทดลอง เอาไปคุยกับครู เอาไปสังเกตเด็กแบบนี้ เราเริ่มเห็นว่า คำว่า บูรณาการสู่ชีวิต มันกว้างมาก เกื้อก็เลยใช้คำว่า มันคือ ความมีชีวิตชีวา เด็กเขาเหมือนยังไม่มีกรอบ เพราะฉะนั้นเขาจะรับแบบเต็ม ๆ รับแบบเปิด ๆ เกื้อเลยรู้สึกว่า มันสนุกนะ

    .

    เรารู้สึกว่า เขา (เด็ก) ไม่ใช่คน (ตัว) น้อยที่เราต้องประคบประหงม เขาไปเอาความรู้มาให้เราด้วยนะ เราก็ขอบคุณเขาเลยนะ แล้วก็มีที่เราให้ข้อมูลผิด แล้วเด็กให้ข้อมูลถูก พอเรารู้ว่าเราผิด เราก็เรียกเด็กมาเลย หนูเข้าใจถูกแล้วนะ แบบนี้เราก็ต้องไปบอกเขา เหมือนเพื่อนกันหน่ะ เหมือนคนพอ ๆ กันหน่ะ เดี๋ยวเข้าใจผิดไง แต่เราเข้าใจผิดได้ มันไม่ได้ว่าถูกแล้วเก่ง หรือผิดแล้วโง่ มันก็จะไม่ไปติดกับคุณค่าแบบนั้น

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์คุณเกื้อกมลนิยม แบบเต็ม ๆ ได้ทาง

    YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=zdzTOdFGdpo&t=456s

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotify:https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotifyfor Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

  • “ไลบรารี่ เฮ้าส์ เริ่มมาจากคนที่ชอบหนังสือ รักหนังสือ และอยากทำหนังสือคนหนึ่ง คนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งก็คือหน่อยเอง ก่อตั้งเมื่อปี 2015 ตอนนั้นหน่อยเริ่มเข้ามาในแวดวงของสำนักพิมพ์ขนาดเล็กแล้ว

    หน่อยเคยไปเห็นใน twitter ว่ามีนักอ่าน ซึ่งก็น่าจะเป็นนักอ่านรุ่นใหม่เขาสรุป character ของไลบรารี่ เฮ้าส์ ประมาณว่า เป็นหนังสือที่มีเสียงของผู้หญิงชัดเจน เป็นผู้หญิงที่เหมือนมีความขบถอยู่ในตัว แต่ว่าไม่ได้แสดงออกว่า ฉันเนี่ยหัวแข็ง ดื้อด้าน มีความเป็นเสียงของผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการจะ liberate ตัวเองจากกรอบเดิม ๆ หรือขนบเดิม ๆ อันนี้คิดว่าน่าจะเป็น character ที่เราเห็นบ่อยที่คนอื่นพูดถึงเราแบบนี้ ผ่านเนื้อหาของวรรณกรรมแปลที่เราคัดสรรมาแปลเป็นภาษาไทย แล้วก็จัดพิมพ์และจำหน่าย

    หน่อยเข้าใจว่า การที่เราได้กลับมาทำอะไรที่เรารัก เอาแค่มีโอกาสได้ทำ มันก็มีความสุขแล้ว แล้วยิ่งเรามีโอกาสได้ทำงานกับคนที่เก่ง คนที่มีวินัย คนที่นิสัยดี คุยกับเราแล้วมันไม่มีปัญหา ทุกคนรักงานตัวเอง ทุกคนให้เกียรติกัน หน่อยว่า อันนี้มันคือที่สุด ที่สุดของการทำงาน ที่คนทำงานคนหนึ่งจะหาได้”

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ในBACC Library Podcast ชุด รู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก

    ตอน สำนักพิมพ์ Library House - คุณหน่อย รังสิมา ตันสกุล

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel:

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotify for Podcastershttps://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

  • ในชีวิตนี้มีความชอบอยู่สองอย่าง คือ ภาษาและภาพ ชอบพัฒนาทักษะในสองเรื่องนี้ พอถึงจุดหนึ่งของเวลาที่เราคิดว่า ได้แล้ว เราจึงอยากทำหนังสือภาพ คือ หนังสือภาพนี่อยู่ในใจมาตลอด อยากทำมาตลอด

    เราจึงคิดถึงหนังสือ ตาตุและปาตุ สมัยไปเรียนที่ฟินแลนด์

    “การคิดสิ่งประดิษฐ์สุดเพี้ยน ภาษาผู้ใหญ่ก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ การได้ลองคิดอะไรใหม่ๆ ในวงเล็บก็คือ “นวัตกรรม” นั่นแหละ”

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ในBACC Library Podcast ชุดรู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก

    ตอน สำนักพิมพ์นาวา-คุณก้อย กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel: https://www.youtube.com/watch?v=4lK9ABhUu58

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotifyhttps://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

    Spotify for Podcasters https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

  • เรามี motto ว่า “Space for opening all possible worlds.” เรามองว่าสำนักพิมพ์ของเราเป็นพื้นที่ที่จะเปิดโลกใบใหม่ ๆ ให้กับคุณผู้อ่านเพราะเราเชื่อว่า ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย

    เราอยากให้หนังสือของเราเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมโลกวิชาการเข้าสู่โลกมวลชนเพราะหนังสือที่เราทำจะเป็น non-fiction หรือเชิงสารคดีอยากให้มันเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับคนมากขึ้นด้วย เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสำนักพิมพ์ต่างประเทศกับสำนักพิมพ์ไทย ปัญญาความรู้ต่างแดนเข้ามาสู่สังคมไทยมากขึ้น

    .

    เราอยากเปิด landscape เปิดภูมิทัศน์ทางความรู้ให้กับคนอ่านเราสนใจความรู้หลากหลายสาขามาก ทั้งเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา การเมือง ไลฟ์สไตล์ สุขภาพต่าง ๆ ไปจนถึงหนังสือที่เป็นความรู้พื้นฐาน และความรู้ร่วมสมัย เราพยายามจะทำให้น่าสนใจขึ้น วิชาการไม่จำเป็นต้องเป็นตำราที่แห้งแล้งเสมอไป เราอยากให้มันมีชีวิตชีวา ความรู้มันก็ sexy ได้

    รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ใน

    BACC Library Podcast ชุด รู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก

    ตอน Bookscape-จิรภัทร เสถียรดี และณัฏฐพรรณ์ เรืองศิรินุสรณ์

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel: https://www.youtube.com/watch?v=EVKnwQSZQ18

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Spotifyhttps://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

  • “Sandclock สำนักพิมพ์นาฬิกาทราย – มันเป็นชื่อของเราเลยล่ะ เราอยากได้ชื่อที่มีตัวของเราเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย ตอนที่ตั้งชื่อจริง ๆ ตอนแรกสุด เราไม่ได้ใช้กับสำนักพิมพ์ เราเคยทำแบรนด์สมุดโน้ตมาก่อน ประมาณสิบกว่าปีแล้ว ตอนนั้นใช้ชื่อ Sandclock เป็นชื่อที่น่ารักดี พอมาทำสำนักพิมพ์ มันมีความหมายดีนะ เป็นเรื่องการเดินทางของเม็ดทราย และเรื่องของเวลา เป็นเรื่องของ space and time มันเข้ากับการตั้งชื่อสำนักพิมพ์”

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel

  • “ทำอย่างไรที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ด้วยวิธีสมุดบันทึก เพราะอะไร เพราะเด็กไม่กล้าพูดกับผู้ใหญ่ แต่ว่าพูดกับสมุดได้ ในสมุดนั่นเราเจอปัญหามากมายที่เด็กไม่กล้าบอกกับผู้ใหญ่ สมุดบันทึกเป็นมากกว่าที่เด็กเขียน สมุดบันทึกกำลังเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกเยอะแยะเลยด้วยความคิดของเด็ก และเป็นความคิดที่มาจากข้อเท็จจริง” ถ้อยคำชวนขบคิดถึงการแสดงออกทางความคิดของเด็ก ๆ จากอาจารย์มกุฏ อรฤดี ผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ผีเสื้อ รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ใน

    BACC Library Podcast ชุดรู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ตอน สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อาจารย์มกุฏ อรฤดี

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel

  • "จริง ๆ ผมชอบศึกษาเรื่องความหลากหลายต่าง ๆ หนังสือของอะโวคาโดบุ๊กส์ ค่อนข้างจะหลากหลายเหมือนกัน แต่แก่นของมันคือ ความเป็นอะโวคาโดผมชอบกินอะโวคาโด เรามาวิเคราะห์ว่า ทำไมเราชอบกิน (เพราะ) อะโวคาโด อร่อยชอบที่จะเป็นของคาวก็ได้ ของหวานก็ได้ และก็เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ตอนที่จะตั้งสำนักพิมพ์ก็เลยชื่อนี้เลย “อะโวคาโด บุ๊กส์”ออกมาเป็นหนังสือที่มีทั้ง Fiction Non-Fiction มีทั้งเรื่องจริง เรื่องแต่ง แนวสารคดีได้สาระความรู้ในขณะเดียวกันก็ได้ความบันเทิงด้วย อยากเอาเรื่องยาก ๆ มาย่อยง่ายอยากเอาความรู้ที่บางคนมองว่าเป็นเรื่องเฉพาะทาง เป็นเรื่องยาก มาทำให้ Mass ให้คนสนใจในสิ่งนั้น ๆ "

    นั่นคือ คำนิยามสำนักพิมพ์ จากคุณทอม จักรกฤต โยมพยอมบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์อะโวคาโด บุ๊กส์

    BACC Library Podcast

    ชุด รู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก

    ตอน อะโวคาโด บุ๊กส์ – เรื่องที่ผมจะเล่ามันค่อนข้างน่ากลัวครับพี่, แม่ ฉันและอัลไซเมอร์

    ร่วมพูดคุยโดย คุณจักรกฤต โยมพยอม

    ชวนคุยโดย คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    🥑📚

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    https://www.youtube.com/watch?v=L3W-yjp5Q-Q

  • “ผมเชื่อว่า หลายคนถ้าได้อ่าน (เล่มนี้) ก็อยากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ หมายถึง พื้นที่กายภาพที่ออกแบบมาเฉพาะเจาะจง สะท้อนบางอย่างในตัวเรา ตอบโจทย์สภาพแวดล้อมรอบข้าง สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ทำอย่างไรให้สถาปัตยกรรมนำมาซึ่งความสงบในจิตใจ”

    BACC Library Podcast

    ชุด รู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สวนเงินมีมา-สถานพำนักจิตวิญญาณ 2/2

    แขกรับเชิญ คุณโจ้ ธนา อุทัยภัตรากูร

    สถาปนิกและอาจารย์ประจำสำนัก สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์

    ข้อมูลหนังสือ

    สถานพำนักจิตวิญญาณ: สถาปัตยกรรมและการออกแบบสภาพแวดล้อมในฐานะศิลปะบำบัด

    (Places of the soul: architecture and environmental design as a healing art)

    ผู้แต่ง: คริสโตเฟอร์ เดย์

    ผู้แปล: สดใส ขันติวรพงศ์

    สำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel

    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Anchor https://anchor.fm/bacc-library

    Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

  • “อยากให้ทุกคนค้นหา และเขียนมาบอกเราว่า Places of the soul ของคุณคืออะไร คือที่ไหน ที่ ๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น

    อาจจะเป็นที่นั่งหน้าบ้าน แสงแดดและสายลมยาม 10 โมงเช้า ราวตากผ้าข้างบ้านที่ปลิวไสวในแสงแดดและสายลมตรงนั้น นั่นคุณก็อิ่มเอมใจแล้ว”

    ร่วมแชร์กันเข้ามาได้ที่ FB: BACC Art Library

    BACC Library Podcastชุด รู้จัก ทักทาย สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนำจากสำนักพิมพ์เฉพาะทาง

    ตอน สวนเงินมีมา-สถานพำนักจิตวิญญาณ 1/2

    แขกรับเชิญ คุณเกียวโกะ นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ ทีมงานสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา

    หนังสือสถานพำนักจิตวิญญาณ: สถาปัตยกรรมและการออกแบบสภาพแวดล้อมในฐานะศิลปะบำบัด

    (Places of the soul: architecture and environmental design as a healing art)

    ผู้แต่ง: คริสโตเฟอร์ เดย์

    ผู้แปล: สดใส ขันติวรพงศ์

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ YouTube: bacc channel

  • BACC Library Podcast ชุดมองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ ตอน อัลไซเมอร์ ก่อนถึงวันที่ฉันอาจลืม

    ให้ความรู้โดย รศ.ดร.วิภาวรรณ ตั้งนิพนธ์

    ชวนคุยโดย คุณเบิร์ด คิดแจ่ม


    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: 
    https://youtu.be/XLWFFTc8pIU
    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

    Anchor https://anchor.fm/bacc-library

    Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

  • BACC Library Podcast

    ชุดมองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ ตอน ขอบใจวัยชรา

    พบกับ อาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์  ชวนคุยโดย คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

    YouTube: bacc channel

    Index 

    1:05 แนะนำอาจารย์สดใสและอัพเดตชีวิต

    14:35 เรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ

    19:00 บทที่ 6 อากาศธาตุ

    22:45 ความแก่ชราและความเสื่อมถอยของร่างกายในทัศนะของอาจารย์

    36:18 กัลยาณมิตร

    42:00 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

    47:00 แนะนำหนังสือใหม่ เราอยู่อย่างไร เราตายอย่างนั้น

    52:08 ทำไมสมาชิกครอบครัวควรอ่านหนังสือ “ขอบใจวัยชรา”

    55:00 เสวนา Book Club by New Spirit #9: In Praise of Ageing

    แลกเปลี่ยนมุมมอ กับ “คุณแหม่ม” วีรพร นิติประภา อาทิตย์ที่ 9 ต.ค. นี้ 13.00 – 15.00 น. ที่ Learning Space ร้านสวนเงินมีมา ถ.เฟื่องนคร (ตรงข้ามวัดราชบพิตร)

    56:39 แจกหนังสือขอบใจวัยชรา เพียงตอบ Comment “แผนชราอย่างไรในใจ” ในเพจ www.facebook.com/bacc.library ใต้โพสต์พอดแคสท์ ขอบใจวัยชรา 3 ท่านแรกรับฟรีหนังสือเล่มนี้ ภายในวันที่ 9 ต.ค.2565

  • “การนำเสนอเรื่องความตายในนิทาน ดูจะเป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อน แต่นิทานที่มีกลวิธีนำเสนอที่ดี อาจจะทำให้เด็ก ๆ หรือคุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับสภาวะที่ทำให้หัวใจสั่นไหว และข้ามผ่านวิกฤตของชีวิตไปได้”

    ชวนฟังบทสนทนา ตอน นิทานกับความตาย ระหว่าง ครูนุช และ คุณเบิร์ดคิดแจ่ม พร้อมรู้จักกับหนังสือนิทานที่บอกเล่าเรื่องราวของความตาย ที่หากมองในแง่ดี ความตายอาจเป็นการเติบโตอย่างหนึ่งของชีวิตคนเรา

    BACC Library Podcast ชุดมองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ ตอน นิทานกับความตาย

    ให้ความรู้โดย อาจารย์อนุสรา ดีไหว้    ชวนคุยโดย คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่
    YouTube: bacc channel

    https://www.youtube.com/watch?v=rkWQjT_L828

  • “ถ้าพูดถึงนิทานเยอรมันเรามักจะนึกถึงนิทานกริมม์กัน แต่นิทานเยอรมันมีอะไรมากกว่านั้น”

    ห้องสมุดศิลปะ หอศิลปกรุงเทพฯ ร่วมกับ ห้องสมุด สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย 

    ชวนฟังเรื่องราววรรณกรรมเด็กและเยาวชนเยอรมัน ผ่านมุมมองนักแปล ศ.พิเศษ ดร.อำภา โอตระกูล

    ใน BACC Library Podcast ชุดมองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ ตอน วรรณกรรมเด็กและเยาวชนเยอรมัน: วัฒนธรรมการอ่าน

    ให้ความรู้โดย ศ.พิเศษ ดร.อำภา โอตระกูล

    ดำเนินรายการโดย คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่
    YouTube: bacc channel

    https://www.youtube.com/watch?v=rkWQjT_L828

  • “สิ่งที่ดีที่สุดในการเลี้ยงดูคนสักคน ก็คือ ให้เขามองเห็นความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เมื่อคุณกลัวว่า ลูกจะไปผิดทางก็จงหยิบยื่นสิ่งที่น่าสนใจกว่าให้เขา” ทัศนะการเลี้ยงลูกจากคุณแหม่ม วีรพร นิติประภา ที่ทั้งช่วยโอบกอดมนุษย์ลูกและให้ข้อคิดกับพ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองให้ใคร่ครวญสิ่งที่เราหยิบยื่นให้กับลูกทุกโมงยามของสายสัมพันธ์

    BACC Library Podcast ชุด มองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ ตอน โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก

    พบกับ คุณแหม่ม วีรพร นิติประภา ชวนคุยโดย คุณเบิร์ดคิดแจ่ม

  • “บ้านเรียน คือ เราเรียนด้วยกันทั้งบ้าน” คำอธิบายความหมายของการเรียนแบบบ้านเรียนจากแม่อี๋ ที่จัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมาแล้ว 7 ปี

    ชวนฟังประสบการณ์การจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังหาข้อมูลการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็ก ๆ ในบ้านคุณ

    BACC Library Podcast ชุด มองครอบครัวผ่านตัวหนังสือ

    ตอน บ้านเรียน เรียนที่บ้านเรา

    พบกับ แม่อี๋ สุรวดี รักดี

    ชวนคุยโดย คุณเบิร์ดคิดแจ่ม

    นาทีที่ 0.50 แนะนำแขกรับเชิญ แม่อี๋ สุรวดี รักดี

    นาทีที่ 1.52 ประสบการณ์การจัดบ้านเรียน

    นาทีที่ 10.19 การจัดบ้านเรียนแบบร่วมกับศูนย์การเรียนรู้

    นาทีที่ 14.50 ตัวอย่างการประเมินผลการเรียน

    นาทีที่ 17.30 สังคมของเด็กบ้านเรียน

    นาทีที่ 22.00 ความเหนื่อยของพ่อแม่

    นาทีที่ 24.18 จุดแข็ง จุดอ่อนของระบบบ้านเรียน

    นาทีที่ 31.50 หนังสือแนะนำ

    (หนังสือชุดถามใจตัวเอง จากสำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ และคู่มือพับกระดาษ อาจารย์พรจันทร์ จันทวิมล)

    นาทีที่ 41.42 ทำบ้านเรียนจะต้องรวยหรือไม่

    รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่
    Facebook: Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
    YouTube: bacc channel
    รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่
    Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV
    Anchor https://anchor.fm/bacc-library

  • เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ เมื่อเกิดโรคระบาด เมื่อแม่ต้องทำงานอยู่บ้าน เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น เราทุกคนในบ้าน ต้องปรับตัวอย่างไร

    คุณเบิร์ดคิดแจ่มชวน คุณหมอมินบานเย็น พญ.เบญจพร ตันตสูติ จากเพจ “เข็นเด็กขึ้นภูเขา” มาพูดคุยเกี่ยวกับวิธีปรับตัวของคนในครอบครัว เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง พร้อมพูดคุยถึงหนังสือที่คุณหมอเขียน ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกให้การมองเห็นทางออกของปัญหาที่แต่ละบ้านต้องเผชิญ

  • BACC Library Podcast ชุดวรรณกรรมเด็กกับธรรมชาติ ตอน นิทานหุ่นใบไม้: ให้ใบไม้ แสง และเงาเล่าเรื่อง

    พูดคุยกับ คุณยอด เจริญพงศ์ ชูเลิศ ผู้ใช้ใบไม้เป็นสื่อเล่านิทานผ่านแสงและเงา

    ชวนคุยโดยคุณเบิร์ด คิดแจ่ม (นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ)