Afleveringen
-
ระลึกถึงคุณพระธรรมทั้งหก ธัมมานุสสติ เพื่อความเจริญของจิต
๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม คำสอนที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว คือ
๑.๑ ปฏิบัติได้ทั้ง เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
๑.๒ เป็นเหตุและผล ถึงที่สุด ตรงถึงพระนิพพาน
๑.๓ มีการกำหนดบทคำอธิบายที่จับต้องได้
๑.๔ มีความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ คือปริมาณมากพอ ให้ถึงนิพพานได้
๒. สันทิฏฐิโก รู้ได้เฉพาะตน
๓. เอหิปัสสิโก สามารถตรวจสอบได้
๔. อกาลิโก ปฏิบัติได้ทุกเวลา ธรรมะยังเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
๕. โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่จิตตน บรรลุเป็นขั้นๆได้
๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ พึงรู้ พึงทำแต่สิ่งที่ดี และจักรู้ได้เฉพาะตน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ส่งความสุขโดยตั้งจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อรับกระแสความเมตตา กรุณา ปัญญา ให้เข้าไปถึงจิต ให้จิตชุ่ม อิ่มเอิบ ยินดี กับพุทธคุณเก้า
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ถึงพร้อมด้วยความรู้และข้อปฏิบัติในการไปถึงความรู้นั้น เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลกทุกอย่างแจ่มแจ้ง ฝึกทุกท่าน ไม่มียกเว้น ให้บรรลุธรรม ไกลกิเลส เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นภควา จำแนกสัตว์ สั่งสอนธรรม ได้อย่างแจ่มแจ้งทั้งหมดรวมลงอยู่ในพุทโธ มั่นใจลงใจ ปฏิบัติให้เป็นอนุพุทโธ, ตั้งพุทโธตลอดเวลาเพื่อส่งความสุขตลอดปี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
Zijn er afleveringen die ontbreken?
-
พัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาอันยิ่ง รอบรู้ กำหนดรู้ ขันธ์ทั้งห้า “รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณ” ว่า เป็นกองทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น แต่แท้จริงแล้วขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นทุกข์ หากแต่เมื่อเราพัฒนาจิตจนเกิดความรอบรู้ เกิดปริญญา กำหนดรู้ ว่าขันธ์ทั้งห้า ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น, เกิดปัญญาอันยิ่งคือ อภิญญา ด้วยการปล่อย ไม่ยึดถือในขันธ์ทั้งห้า ด้วยการยอมรับทุกข์ “อยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ เราก็จะพ้นทุกข์”.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
จิตมีความเป็นประภัสสร เศร้าหมองหรือผ่องใสได้ตามสิ่งต่างๆที่จรเข้ามา หากแต่การมีสติ จะช่วยแยกแยะ จิต ออกจาก สิ่งที่เข้ามา, มีสติอย่างต่อเนื่อง จะเกิด สมาธิ, สมาธิจะทำให้จิตมีพลัง, จิตมีพลังจะสามารถเลือกให้จิตเป็นกุศล ไม่เพลินไปกับอารมณ์ต่างๆ ไกลจากกิเลสมากขึ้นๆ, นั่นคือการทำจิตตภาวนา คือการพัฒนาของจิต พัฒนาต่อเนื่องๆ จิตจะอ่อนเหมาะ ควรแก่การไปใช้งาน “ให้เห็นตามความเป็นจริง” ว่า ทั้งกายและจิตนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ควรที่เราจะไปยึดว่าเป็นตัวตนของเรา ปัญญาจะเกิด และปล่อยวางได้ แล้วเราจะไม่ทุกข์.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นในภายใน
เราต้องรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ว่า ชีวิตเราจะเลือก ความสุขจากอะไรเป็นหลัก
ความสุขมีสองแบบ อย่างแรกคือกามสุข สุขที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นความสุขทั่วๆไปที่เราได้รับผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสุขที่มีโทษมาก ประโยชน์น้อยเหมือน สุนัขแทะกระดูก ที่ไม่รู้จักอิ่มและไม่ใช่สุขที่แท้จริง
หากแต่ความสุขอย่างที่สองคือ สุขที่เกิดจากในภายใน เป็นสุขที่ ไม่มีกาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นสุขที่มีแต่กุศล มีแต่ความสงบ ระงับ อยู่เป็นสุขได้ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก เป็นสุขที่ทำให้เกิดปัญญา และพ้นทุกข์ได้
แล้วเราจะเลือกสุขแบบไหนให้ชีวิตเรา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
พรากกาย พรากจิต ดุจพระจันทน์บนฟ้า และ พระจันทน์บนผิวน้ำ เกี่ยวข้องกัน แต่ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน, แยกด้วยสติ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สงบระงับ จนจิตเป็นสมาธิ หากแต่เมื่อมีสิ่งมากระทบ กายและจิตกลับรวมกันเป็นสิ่งเดียวกันได้อีก เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ยึดโยงอยู่กับตัณหา, สิ่งเดียวที่จะแยกกาย แยกจิตได้ อย่างต่อเนื่อง คือ ปัญญา, ปัญญาที่เกิดจาก การเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ของทั้งกายและจิต จึงวางทั้งกายและจิตลงได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
เกิดชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ได้ ด้วยปัญญา พิจารณาว่า ทุกสิ่งใดๆในโลก ล้วนปรุงแต่ง มีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ให้เห็นว่าทุกสิ่งเป็นสมมุติ
โดยเริ่มจาก มีสติ เกิดสมาธิ ทำจิตให้มีกำลัง เกิดปัญญา ใช้เป็นอาวุธ เพื่อตัด กิเลสตัณหา ที่เชื่อมยึดถือหรืออุปาทาน อยู่กับจิต โดยมี อวิชชาเป็นรากเหง้าอยู่ในจิต เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในจิตว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดวิชชา อวิชชาดับ เกิดความดับเย็นคือนิพพานในจิตในใจ นั่นคือ ชัยชนะที่ไม่กลับแพ้แล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ทำไม ความคิดนึก จึงเป็นการภาวนาได้ เพราะมีสติ สัมปชัญญะ กำกับอยู่ในความคิดนั้น, ดังนั้นจิตจะถูกรักษา ให้คิดนึก ด้วยความระลึกรู้ คือมีสติ ด้วยความรู้ตัวรอบคอบคือมีสัมปชัญญะ นั่นคือมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วคือ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ พร้อมกันทั้งสามสิ่ง, เกิด สัมมาสังกัปปะ ปราศจากกาม พยาบาท เบียดเบียน, นำไปสู่ สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำรงอยู่ในทางมรรคมีองค์แปดในชีวิตประจำวันได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
เราจะศรัทธา ปฏิบัติตามสิ่งใด สิ่งนั้นต้องตรวจสอบได้ ต้องพ้นทุกข์ได้จริง โดยต้องประกอบด้วยมรรคมีองค์แปด ตลอดทางที่ดำเนินไป คือ มีศีล สมาธิ ปัญญา
เริ่มจาก มีศรัทธา พร้อมปัญญา ว่าสิ่งนั้นตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เมื่อมั่นใจแล้ว ตั้งใจลงมือทำ ด้วยความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น จะเห็นว่า ทุกๆสิ่ง ไม่เที่ยง มีเงื่อนไข
ปัจจัยเกิดขึ้น มีทุกข์ ไม่ควรยึดถือ
วาง ละ ทิ้งเสีย นั่นคือถึงที่หมายแล้ว.
<<timestamp >>
[00:00] ศรัทธาทำให้เกิด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
[14:58] มรรคแปด ร่องรอยที่ตรวจสอบได้
[38:07] พิจารณาความไม่เที่ยง
[56:56] ไม่ยึดถือ ละ วาง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
จิตที่ไหลไปตามกระแส สุขๆ ทุกข์ๆ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่เกาะ ตามหาที่พึ่งไปเรื่อยๆ ขาดที่พึ่งที่แท้จริง
หากแต่ เมื่อเรามี สติเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง จะไม่ยึดในเวทนาทั้งสุขและทุกข์, ระลึก รู้ตัว ในสิ่งต่างๆคือ มีสติปัฏฐานสี่เป็นที่พึ่งตลอด,
อกุศลธรรมดับ กุศลธรรมเกิด ข้ามกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยสติสัมปชัญญะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
“บางคนนั่งเฉย ๆ ไม่ได้ไปหาใครพูดกับใคร แต่เบียดเบียนคนอื่นได้ เบียดเบียนตัวเองได้ ตรงความคิดไง ตัวไม่ขยับแต่จิตมันขยับ”
หยุดจิตให้ได้ อย่าให้จิตไหลไปตามผัสสะ ควบคุมจิตไม่ให้คิดเรื่องต่างๆ ด้วยสติ ด้วยลมหายใจ
จิตสงบ ระงับ เกิดสัมมาสมาธิ, แล้วใช้ปัญญาพิจารณา จิต เดี๋ยวผ่องใส เดี๋ยวขุ่นมัว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุการปรุงแต่ง
จะเห็น จิตก็ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา, วาง ละ จิตที่ไม่เที่ยงนั้น.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
เจริญสติโดยการพิจารณากาย ใช้กายเพื่อชำระจิต ให้เห็นกาย ตามความเป็นจริง
ให้เห็นกายนี้ว่า เป็นทั้งสิ่งปฏิกูล และเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล และให้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้น
ทำอย่างต่อเนื่อง, จิตจะแยกออกจากกาย จิตไม่ไปยึดถือ ยึดมั่นในกายว่าเป็นตัวตนของเรา,
กิเลสในจิต จะค่อยๆ หลุดออกไปๆ ด้วยความเพียร ในการพิจารณากายซ้ำๆ ปัญญาจะเกิดขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ระงับความคิด ด้วยการตั้งสติ ด้วยการระลึกสังเกตอยู่กับลมหายใจ สังเกตดูเฉยๆ ฝึกบ่อยๆจนเกิด สัมมาสติ จิตตั้งมั่นได้ ไม่ตามไปกับสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามา
ไม่ตามความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ,
จิตแยกออกจากความคิด ความรู้สึกได้มากขึ้น มากขึ้น, เกิดความสงบ ระงับ, จิตเริ่มเป็นสมาธิ เรียกว่าสัมมาสมาธิ,
ใช้สัมมาสมาธิเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เชี่ยวชาญในความคิด แก้ปัญหาสิ่งต่างๆได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ตั้งสติให้มั่น ด้วยพุทโธ ธัมโม สังโฆ ประดิษฐานอยู่ในใจเราตลอดเวลา จิตตั้งมั่นขึ้นได้ ไม่ไหลไปตามผัสสะที่เข้ามา เราจะมีความสุขเย็น ที่เกิดจากความสงบ ระงับ จากภายใน เกิดสติสัมสัมปชัญญะ จิตมีกุศลธรรมเกิดขึ้น มีเมตตา กรุณา
อกุศลธรรมลด เบาบางลง มีความเพียร กล้าในการเผชิญหน้า แผ่เมตตาใหญ่ออกไป ความกังวลใจหายไป จากการมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นธงชัย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง ให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก เห็นทุกข์ คือเห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่ เหมือนปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกัน
โดยมีนายทวารที่ฉลาด คือ มีสติ เพื่อแยกแยะไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามา อนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถและวิปัสสนา ถือสาสาส์นเรื่องการเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองหรือวิญญาณ โดยผ่านทางมรรคแปด
เมื่อผัสสะมากระทบผ่านประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติที่มีกำลัง มีความละเอียด จะสังเกตเวทนาในช่องทางใจของเรา แยกแยะสิ่งดีหรือไม่ดี และเกิดสมถวิปัสสนาเข้าสู่จิต เห็นความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งรูป นาม ขันธ์ทั้งห้าเป็นกองทุกข์ ควรแล้วหรือที่จะยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา
วิญญาณเมื่อได้รับข่าวสารที่เป็นวิชชาเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆพ้นออก คือ วิมุตติ โดยมีนิพพานแล่นไปสู่จิตซึ่งไม่ใช่ตัวตน
จิตดับไป หลุดพ้นแล้ว จิตพ้นจากผัสสะต่างๆ คือ นิพพานนั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
รู้ลมแล้วจินตนาการไปในพุทธะ นึกถึงเหตุการณ์หลังการตรัสรู้ ครั้งที่สหัมบดีพรหมเกิดความร้อนใจ มานิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม จินตนาการแล้วก็ไม่ลืมลม เป็นการเจริญทั้งพุทธานุสสติและอานาปานสติไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เดินไปตามทางอันประเสริฐ เส้นทางเดียวกับพระพุทธเจ้า เราเดินตามท่านไป ตริตรึกใคร่ครวญตามไป เกิดสัมมาสังกัปปะ บุคคลที่ทำเช่นนี้ถือว่ามีความเพียร ความสำเร็จผลตามพระพุทธเจ้าย่อมเกิดได้แน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ก่อนปฏิบัติธรรมถอดหัวโขนทั้งทางกาย วาจา ใจ และเมื่อมีผัสสะมากระทบอายตนะ 6 รับรู้ได้อยู่คือวิญญาณทั้ง 6 ทั้งส่วนกายและใจ มีเครื่องทดสอบว่าจะกำหนดความคิดให้หลีกออกจากวิตกทั้งสาม คือกามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกได้หรือไม่ ถ้ามันจะเกิดขึ้นในช่องทางใจของเรา จงหยุด จงถอยกลับ ไม่เอาเข้าไป ต้องรู้จักใคร่ครวญแยกแยะให้เข้าได้เฉพาะกุศลธรรม จะแยกแยะได้ต้องมีสติสัมปชัญญะ คือการระลึกรู้นั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านใช้อานาปานสติ พระเจ้ามหาสุทัสสนะท่านใช้พรหมวิหาร 4 ตั้งจิตน้อมไปทางนั้น สิ่งนั้นก็มีพลังมาหุ้ม นั่นคืออาสวะที่ประกอบด้วยส่วนแห่งบุญ ชำระอาสวะเก่า จิตสะอาดขึ้น เจริญสัมมาสติให้มาก ย่อมทำสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นได้ จะอยู่เหนือความคิดได้พิจารณาแยกแยะความคิด ดี/ไม่ดี เห็นคุณเห็นโทษ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
สังกัปปะ กับ วิตก เป็นความคิดเหมือนกัน แต่มีธรรมชาติที่ต่างกัน คือถ้าเราต้องน้อมจิตเรียกว่าความคิดตริตรึกหรือวิตก แต่ถ้าความคิดโผล่ขึ้นมาเรียกความคิดนี้ว่าสังกัปปะหรือความดำริ ทั้ง 2 ประเภท มีทั้งคิดในทางกุศลหรือสัมมา และอกุศลหรือมิจฉา เราต้องฝึกตริตรึกไปในทางที่ละกาม พยาบาท และเบียดเบียน เพื่อให้เกิดความดำริหรือสังกัปปะที่เป็นกุศล นี่เป็นการทำงานร่วมกันของวิตกและสังกัปปะ
ฝึกได้เริ่มจากวิตกสู่สังกัปปะโดยพุทธานุสสติ เราต้องน้อมจิตไปคิด นึกถึงพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์เดินข้ามแม่น้ำเนรัญชราถือหญ้าคาปูนั่งใต้ต้นโพธิ์ จิตแน่วแน่ในการที่จะบรรลุสัมมาโพธิญาณให้ได้ ตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ จิตเป็นสมาธิอยู่ตลอด ตริตรึกและดำริไปในญาณทั้งสาม แผ่เมตตาทั่วทุกทิศ ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ละอาสวะ รู้อริยสัจ 4 ขึ้นมาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ให้เราคิดด้วยการนึกน้อมจิตไปในเรื่องของพระพุทธเจ้านี้ ให้สะสมจนเป็นสังกัปปะคือความดำริ ที่มันเกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติของจิตของเราเอาไว้อย่างนี้ให้ดี รักษาให้ได้ตลอดทั้งวัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ความตายจะเป็นจุดสูงสุดของความทุกข์ที่เราต้องเจอ ต้องเข้าหาระลึกถึงความตายอย่างถูกต้อง เตรียมตัวตาย โดยเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นกับตัวเราแน่ และให้ได้ประโยชน์จากความตาย คือเจริญมรณานุสติ จะเกิดอานิสงส์ใหญ่เป็นธรรมที่ลงสู่อมตะ คือความไม่ต้องตายอีก ทำได้โดย
ปล่อยวางในสิ่งของรักของหวงละความยึดถือตัวตนซึ่งเป็นแค่ธาตุทั้งสี่ละความอยากได้หลังความตายเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดี เร่งทำความดี พิจารณาบาปทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ กาย วาจา และใจ โดยระลึกถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง การที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอากุศลธรรมขึ้นเป็นหลักก่อน ตั้งฉันทะไว้ตรงนี้ ไปให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม สู้ด้วยสติสัมปชัญญะ สู้ไม่ถอยไม่เลิกไม่แพ้ ปฏิบัติตามมรรคแปด ทุกข์หายไปทันที กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ละอาสวะได้ จะบรรลุจะเห็นได้ด้วยตนเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
คิดเป็นระบบด้วยการพิจารณาโดยอาศัยปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน เริ่มจากเครื่องนุ่งห่มให้พิจารณาว่าจะใส่เพื่ออะไร ดังนี้ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ หมายถึงการพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่ม. ถัดไปเป็นอาหารพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดเวทนาใหม่หรือระงับเวทนาเก่า พินิจเพ่งจดจ่อ มีสติ ไม่เผลอเพลิน ไม่ยึดติดเกิดความหวง
ปัจจัยที่ 3 คือ เสนาสนะ พิจารณาการเข้าสู่เสนาสนะ หรือออกจากเสนาสนะด้วยสติสัมปชัญญะ ต่อไปเรื่องของปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับคนป่วย จะใช้ยาหรือสิ่งของอะไรต้องพิจารณามีสติมีสมาธิ นั่นเป็นธรรมะโอสถไปในตัว เพื่อที่จะระงับทุกขเวทนา การมีเงื่อนไขเยอะ จะอยู่ยาก แต่หากเงื่อนไขแห่งความสุขน้อย สุขยิ่งมากเพราะจะทุกข์น้อย
เกิดปัญญาด้วยการคิดที่เป็นระบบนั้นคือการโยนิโสมนสิการ หมายถึงการทำในใจ โดยแยกกายเห็นโดยความเป็นธาตุ เป็นปฏิกูล เกิดปัญญา สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมลดลง ความยึดถือทั้งหลายลดลง ปล่อยวาง เจริญก้าวหน้าในธรรมะของพระพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- Laat meer zien