Afleveringen

  • เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้คงได้ฤกษ์เซฟตารางสีเสื้อมงคลแผนใหม่ เปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ให้ถูกโฉลกกับวันเกิด หาไอเทมแก้ชง เสริมดวงกันซะหน่อย–ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีความเชื่อเหล่านี้ยังอยู่คู่คนไทยมาช้านาน เพียงแต่เปลี่ยนหน้าตาของการมูให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนแต่ละเจนฯ ที่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น
    .
    ไม่แปลกใจหากจากข้อมูลพบว่ากว่า 75% หรือคิดเป็น 3 ใน 4 ของคนในประเทศไทยจะยอมจ่ายเพื่อการมู และหากมองภาพที่ใหญ่ขึ้นจะเห็นว่ามูลค่าตลาดสายมูทั่วโลกมีสูงถึง 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ด้วยตลาดที่ใหญ่ขนาดนี้ ถือเป็นโอกาสของคนทำธุรกิจที่จะหยิบความเชื่อมาใช้ทำการตลาดให้ปัง แต่ขึ้นชื่อว่าความเชื่อก็ควรทำอย่างระมัดระวังและปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตัวเองให้ได้
    .
    รายการ Business Summary EP.19 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาบาลานซ์ตรงกลางว่าแบรนด์ควรใช้มูเก็ตติ้งมาเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า และความเชื่อเหล่านี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างไร

  • สิ่งที่คนไทยลุ้นทุกปีพอๆ กับการลุ้นให้ถูกหวยคือ 'ปีนี้ค่าไฟจะแพงขึ้นอีกหรือไม่' เพราะจากการสำรวจตัวเลขการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่าแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 ที่มีการปรับค่า FT จนทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งสูงถึง 6.01 บาทต่อหน่วย ด้วยสาเหตุหลักจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น
    .
    บางคนหาทางออกด้วยการไปพึ่งพลังงานทางเลือก เช่น ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ แต่ก็เกิดคำถามต่อมาว่านี่คือทางออกที่ดีที่สุดหรือไม่ ในวันที่พลังงานทดแทนยังมีราคาที่สูงอยู่ แล้วจะมีวันที่คนไทยจะได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลงบ้างไหม
    .
    รายการ Business Summary EP.18 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อคลายข้อสงสัยว่าต้นทุนของเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นคืออะไรกันแน่ และยังมีเรื่องที่น่าตกใจว่าจริงๆ แล้วคนไทยก็ผลิตไฟใช้เองหรือขายไฟฟ้าเองได้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด

    #Capital #BusinessSummary #ค่าไฟ #ค่าไฟแพง #พลังงาน #พลังงานทดแทน #โซลาร์เซลล์

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • ‘รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี มีรายได้ไม่แน่นอน จำเป็นต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีัจะหาอะไรมาลดหย่อนได้บ้าง’ สารพัดคำถามชวนปวดหัวที่มักเกิดขึ้นในช่วงสิ้นปีซึ่งใกล้ถึงฤดูยื่นภาษี ทำให้บางคนไม่ได้ยื่นภาษีเพราะความไม่รู้ กับอีกส่วนหนึ่งก็สงสัยว่าเงินภาษีที่เสียไป สุดท้ายถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง
    .
    จึงไม่แปลกใจว่าทำไมในปี 2566 ที่ผ่านมา จากคนไทย 70 ล้านคน ถึงมีจำนวนแรงงานในระบบเพียง 19 ล้านคน และมีผู้ยื่นแบบภาษีเพียง 10.7 ล้านคน จนเหลือผู้ที่มีรายได้สุทธิที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีเพียง 4.2 ล้านคนเท่านั้น แล้วถ้าคนไทยไม่เสียภาษีแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองของเราบ้าง
    .
    รายการ Business Summary EP.17 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและ CEO iTAX เพื่อไขทุกข้อสงสัยเรื่องภาษี ตั้งแต่การเสียภาษีระดับบุคคล ไปจนถึงการใช้ภาษีระดับประเทศ

  • ในหนึ่งวันคุณไถโซเชียลมีเดียไปกี่ชั่วโมง และท่ามกลางคอนเทนต์ที่ดูมีครีเอเตอร์สักกี่คนที่จดจำได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่คนไทยใช้โซเชียลมีเดียถึง 50 ล้านคน ส่วนหนึ่งในนั้นมีครีเอเตอร์อยู่ถึง 3 ล้านคน และมีแนวโน้มที่ครีเอเตอร์หน้าใหม่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังมีคนดูเท่าเดิม 
    .
    คำถามที่น่าสนใจคือครีเอเตอร์แต่ละคนจะสร้างตัวตนให้โดดเด่นและแตกต่างท่ามกลางวันที่ครีเอเตอร์ล้นจอได้อย่างไร? และหากขยายภาพใหญ่กว่านั้น การที่ประเทศไทยมีครีเอเตอร์มากมายขนาดนี้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยและทำให้ค่า GDP เติบโตได้หรือไม่?
    .
    รายการ Business Summary EP.16 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้จัดงาน iCreator Conference เพื่อคลายข้อสงสัยข้างต้น พร้อมพาไปส่องโอกาสและอนาคตของวงการครีเอเตอร์ไทย

  • ประเด็นที่ร้อนแรงและสั่นสะเทือนแวดวงธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม คงหนีไม่พ้นเรื่องของธุรกิจจีนที่เข้ามารุกหนักในไทย ไม่ว่าจะเป็น MIXUE ร้านไอศกรีมที่ตอนนี้มีสาขาในไทยกว่า 200 สาขา Zhengxin ร้านไก่ทอดที่ราคาเริ่มต้นแค่ 15 บาท Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ขึ้นชื่อเรื่องของถูก และอื่นๆ อีกมากมาย จนทำให้ผู้ประกอบการน้อยใหญ่ต่างหวั่นใจว่าตอนนี้ทุนจีนกำลังเข้ามากินรวบตลาดหรือไม่ แล้วธุรกิจไทยควรจะต้องปรับตัวอย่างไนให้อยู่รอดในวันที่สนามธุรกิจดุเดือดขึ้นทุกวัน
    .
    รายการ Business Summary EP.15 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และพลอย-วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม ขอพาไปไขคำตอบถึงที่มาว่าทำไมจีนกำลังจ้องจะตีตลาดในไทยและอาเซียน ไปจนถึงวิธีเอาตัวรอดของคนทำธุรกิจ และการแก้เกมจากภาครัฐในหลากหลายประเทศของอาเซียน ว่าทำอย่างไรถึงป้องกันไม่ให้สินค้าจีนหลั่งไหลเข้าประเทศมามากเกินไป พร้อมสนับสนุนให้ธุรกิจในประเทศยังอยู่รอดอย่างยั่งยืน

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ใช้แชทบอทในการถาม-ตอบเรื่องที่อยากรู้ หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องพวกหม้อหุงข้าว แอร์ ไดร์เป่าผม ก็ยังมี AI ไว้เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานและเป็นสีสันทางการตลาด

    แต่ท่ามกลางโอกาสอันดี ก็ยังมีความความท้าทายซ่อนอยู่ เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดการณ์ไว้ว่า เกือบ 40% ของการจ้างงานทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจาก AI ที่เข้ามาแทนที่คนในมิติใดมิติหนึ่ง แล้วในฐานะคนทำงานจะต้องอัปสกิล รีสกิลอย่างไร ถึงจะเอาตัวรอดในยุคที่ AI ครองเมืองได้

    รายการ Business Summary EP.14 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ซีอีโอ ViaLink เพื่อไขคำตอบถึงทางรอดและทางรุ่ง ท่ามกลางความเสี่ยงที่อาจจะโดน AI แย่งงานในอนาคต

  • ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกไม่อยากมีลูกและการมีลูกกลายเป็นกระแสรอง กลับกันการเลี้ยงสัตว์อย่างหมาแมวเป็นลูกกลับได้รับความนิยม และส่งผลให้ตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตและสร้างเม็ดเงินให้ภาคเศรษฐกิจมหาศาล โดยในปีนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ได้คาดการณ์มูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 2567 ไว้ว่าจะมีมูลค่าราว 7.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ถึง 12.4% 

    เมื่อผู้คนทั่วโลกหันมาเลี้ยงสัตว์เป็นลูกเช่นนี้ โอกาสของธุรกิจสัตว์เลี้ยงจะเติบโตไปในทิศทางไหนบ้าง ธุรกิจเพื่อเจ้าตูบและเจ้าเหมียวประเภทไหนที่จะมาช่วยสร้างเม็ดเงินและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นอกจากความน่ารักน่าชังของเจ้าสัตว์เลี้ยงแล้ว อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เลือกที่จะเลี้ยงสัตว์เป็นลูก รายการ Business Summary EP.13 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และพลอย–วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม รอไขคำตอบเรียบร้อยแล้ว 

  • งานศิลปะ โดยเฉพาะกระแสของอาร์ตทอย กลายเป็นกระแสหลักอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความนิยมของลาบูบู้และน้องมอลลี่ ที่ราคาพุ่งกระฉูดไม่หยุดหย่อน หรือจะการรอคิวซื้อสินค้าของ Pop Mart ตลอดจนยอดขายของบริษัท Pop Mart ที่เติบโตกว่า 4 พันล้านหยวนในปีที่ผ่านมา
    .
    ความเฟื่องฟูของงานศิลปะไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะนอกจากคาแร็กเตอร์น่ารักของ Pop Mart ที่ผ่านมาได้มีตุ๊กตา ฟิกเกอร์ และคาแร็กเตอร์อีกหลายตัวที่เป็นที่นิยม ทั้งเจ้าหมี BE@RBRICK ตุ๊กตาบลายธ์ หรือจะกล่องสุ่มกาชาปองของญี่ปุ่น
    .
    แม้จะไม่ใช่ภาพใหม่ของวงการศิลปะ แต่กลับน่าสนใจอย่างมากว่าทำไมจู่ๆ คาแร็กเตอร์ของ Pop Mart ถึงได้รับความนิยม
    .
    กลยุทธ์การขายที่เป็นกล่องสุ่มและการผลิตสินค้าอย่างตัวซีเครตออกมาเพียงไม่กี่ชิ้นให้ผลลัพธ์เชิงบวกกับธุรกิจจริงหรือไหม่ วิธีการของ Pop Mart สร้างอุปสงค์และอุปทานให้กับวงการธุรกิจอาร์ตทอยยังไง และทำไมผู้คนจึงต้องการสะสมของเล่นประเภทนี้กันมากขนาดนี้ ตามไปหาคำตอบในรายการ Business Summary EP.12 ได้เลย

  • เทศกาลสงกรานต์เวียนมาพร้อมวันหยุดยาวอีกหน สงกรานต์นับเป็นเทศกาลสำคัญที่ผู้คนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาและไปท่องเที่ยว แน่นอนว่าตามมาด้วยความต้องการใช้ขนส่งสาธารณะที่มากขึ้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการรถสาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นได้ส่งผลให้ราคาตั๋วเดินทางทั้งรถทัวร์ รถไฟ ไปจนถึงเครื่องบินมีราคาแพงกว่าห้วงเวลาปกติ
    .
    บ้านก็อยากกลับแต่ค่าเดินทางกลับแพงแสนแพง ทำไมช่วงหยุดยาวทีไรค่ารถและค่าตั๋วเครื่องบินถึงราคาพุ่ง รายการ Business Summary EP.11 ตอนนี้ มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และ วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม จะมาเล่าถึงเหตุผลเบื้องหลังราคาตั๋วเดินทางที่แพงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว การกำหนดเพดานราคาตั๋วโดยสารของภาครัฐ ไปจนถึงผลเชิงบวกของเทศกาลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • จากที่โลกเคยอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์เต็มตัว เศรษฐกิจการค้า การผลิตทุกประเทศทั่วโลกเชื่อมถึงกันหมด แต่จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปีส่งผลให้ยุคโลกาภิวัตน์กำลังจะสิ้นสุดลง และกำลังเปลี่ยนให้ภูมิทัศน์เศรฐกิจ การค้า การลงทุนของโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
    .
    ทิศทางขั้วอำนาจในอนาคตระหว่างสหรัฐ-จีน จะดำเนินไปแบบไหน ไทยควรอยู่จุดไหน และภาคธุรกิจควรรับมืออย่างไร รายการ Business Summary ชวนหาคำตอบกับดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ที่จะมาพูดคุยถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคโลกาภิวัตน์ การสู้กันระหว่างสงครามเศรษฐกิจ สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ฯลฯ และท่าทีที่ควรเป็นของไทยในสมรภูมิโลก

  • ความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งตอนก่อนและหลังเลือกตั้ง ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดหุ้นไทยแกว่งขึ้นลงเป็นว่าเล่น นักลงทุนมากมายจับตาดูสถานการณ์หุ้นและการเมืองที่กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างจดจ่อ 
    .
    ภายใต้ความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นและปัญหาเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร ภาษีหุ้นที่มีแผนจะปรับขึ้นในอนาคตจะพาเศรษฐกิจเดินไปทิศทางไหน และตลาดหลักทรัพย์จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่ ดร. ภากร ปีตธวัชชัย ให้คำตอบของคำถามเหล่านี้ไว้ใน รายการ Business Summary ตอนล่าสุดนี้แล้ว

  • Taxonymy คืออะไร, แบงก์ชาติจะทำอะไรกับ Taxonomy, ดอกเบี้ยนโนบายที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 จะส่งผลอย่างไร, แผลเป็นทางเศรษฐกิจในช่วงโควิดที่ผ่านมาเริ่มดีขึ้นแล้วหรือไม่, ความท้าทายและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยต่อไปนี้จะเป็นยังไง 
    .
    รายการ 'Business Summary' จึงเชิญ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มาพูดคุยกันในประเด็นทั้งหลายที่ว่าไว้ข้างต้น ตามไปรับชมพร้อมกันตอนนี้ 

  • ไม่นานมานี้โลกการเงินเผชิญกับสถานการณ์แบงก์ล้มอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ Silicon Valley Bank, Signature Bank มาจนถึง First Republic ในสหรัฐฯ ซึ่งการล้มละลายของธนาคารทั่วโลกอาจส่งผลต่อการเงินโลกในอนาคตข้างหน้า รายการ Business Summary จึงได้เชิญ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร มาพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่สถานการณ์การเงินโลกในปัจจุบัน แบงก์ล้มในต่างประเทศ การกระโดดเข้ามาลงเล่นในสนามธนาคารของบริษัท Apple ไปจนถึงภาคการเงินไทยกับการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

  • ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิทั่วโลกที่ชะลอตัว ประเทศไทยบ้านเราเองก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากปีนี้ค่าจีดีพีของประเทศจะลดต่ำลงไม่เป็นไปตามคาดหวัง การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ยากจะคาดเดายังสร้างความน่ากังวลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอีกด้วย
    .
    ในสถานการณ์โลกที่มีความไม่แน่นอน ประเทศไทยจะทำอย่างไรเพื่อให้สามารถก้าวผ่านปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตไปได้ รายการ Business Summary EP.6 ชวน อาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มาพูดคุยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและสถานะทางการคลังของประเทศ ไปจนถึงอนาคตข้างหน้าของเศรษฐกิจไทยต่อไป

  • ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยบ้านเราเองก็ประสบกับปัญหาดังกล่าว ยิ่งในโลกที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงทั้งจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม ไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้น ผู้ที่จะเติบโตหรือมีชีวิตอยู่รอดได้ย่อมเป็นผู้ที่มีทรัพยากรที่มากกว่า แต่หากมองอย่างอุดมคติว่าสังคมที่ดีคือการที่ทุกชีวิตต้องเท่าเทียม คนที่มีมากกว่าหรือคนที่ชนะอาจจะต้องโน้มตัวลงมาประคับประครองให้คนที่สู้ไม่ไหวสามารถอยู่รอดไปด้วยกันได้
    .
    ในฐานะที่ ‘บัณฑูร ล่ำซำ’ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย เคยเป็นทั้งนายธนาคารผู้มากประสบการณ์ เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าธนาคารกสิกรใหม่จนเป็นหนึ่งในธนาคารที่โดดเด่น เป็นคนที่เข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำในบริบทของประเทศไทย ตลอดจนมองเห็นทางแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการทำให้ทุกชีวิตเท่าเทียม และเกิดเป็นโครงการน่านแซนด์บอกซ์ที่จะช่วยการพลิกฟื้นผืนป่าน่านและเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้มนุษย์ทุกคนและป่าสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน
    .
    โลก สิ่งแวดล้อม มนุษย์ ความไม่เท่าเทียม ไปจนถึงทางออกของปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เรากำลังเผชิญ ในทัศนะของ ‘บัณฑูร ล่ำซำ’ เป็นอย่างไร โครงการน่านแซนด์บอกซ์ที่เขาทุ่มทั้งแรงทุน แรงกาย และแรงใจเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางสังคมจะส่งผลมากน้อยแค่ไหน ตามไปพูดคุยกับเขาพร้อมกันในรายการ Business Summary EP.5 ตอนนี้

  • ช่วงนี้คำศัพท์ยอดฮิตที่เรามักได้ยินในแวดวงธุรกิจก็คือคำว่า ความยั่งยืน, ธุรกิจที่ยั่งยืน, ESG ฯลฯ โดยเฉพาะ ESG ที่ช่วงหลังหลายธุรกิจเริ่มใช้คำนี้มาเป็นแนวคิดหลักในการทำธุรกิจ เพื่อให้เห็นว่าธุรกิจนั้นให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรโลก
    .
    ESG คืออะไร, ทำไมสังคมต้องให้ตระหนักกับเรื่องสิ่งแวดล้อม, หากธุรกิจและองค์กรไม่ทำ ESG โลกและสังคมจะยังอยู่อย่างยั่งยืนได้ไหม แล้ว ESG ในไทยยั่งยืนจริง หรือแค่เทรนด์โลกสวย รายการ Business Summary EP.4 ชวนอาจารย์เอก–อนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน มาพูดคุยถึงประเด็นทั้งหมดที่ว่าไว้ 
    .
    ตามไปรับชมและขบคิดพร้อมกันในรายการ Business Summary ตอนนี้

  • อาจพูดได้ว่า AI เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลกและมีอิทธิพลกับชีวิตมนุษย์มหาศาล ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่โต อย่างเช่นการที่โลกโซเชียลมีเดียที่คอนเทนต์มากมายมักได้รับการจัดการโดยระบบอัลกอริทึม, การค้นหาข้อมูลจาก Google Search, การสร้างงานศิลปะจาก Midjourney และล่าสุด ChatGPT ที่ AI สามารถตอบคำถามทุกอย่างที่ถามไปได้ก็สร้างความตื่นตัวให้หลายวงการ
    ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT คืออะไร, เจ้าแชตบอตเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมยังไง, บริษัทเทคโนโลยีที่แข่งกันพัฒนาอัลกอริทึมและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหรือไม่, สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนโลกจริงหรือ กับอีกหลายๆ คำถามที่หลายคนน่าจะสงสัยไม่ต่างกัน
    Business Summary ตอนล่าสุดนี้เลยจะพาไปพูดคุยเพื่อหาคำตอบต่างๆ กับ ‘ณัฐ เหลืองนฤมิตชัย’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและเทคโนโลยี และผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับ ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์น้องใหม่ที่อาจจะกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าโลกเทคโนโลยี

  • เครดิตบูโรคืออะไร, ยกเลิกแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโรได้จริงไหม ในวันที่มาตรการเยียวยาหนี้หมดลงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไทยจะน่าเป็นห่วงมากแค่ไหน เรามักได้ยินคำถามเหล่านี้วนไปมาอยู่เสมอ 
    .
    และก็คงไม่มีใครตอบคำถามเรื่องหนี้เหล่านี้ได้ดีไปกว่า 'สุรพล โอภาสเสถียร ' ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ผู้ที่คลุกคลีอยู่กับเรื่องหนี้และวงการการเงินมาอย่างยาวนานที่จะมาอธิบายเรื่องเครดิตบูโรอย่างเข้าใจง่าย ว่าเครดิตบูโรที่หลายคนมองว่าเป็นผู้ร้ายแท้จริงแล้วบทบาทของพวกเขาคืออะไร เป็นผู้ตัดสินใจให้ธนาคารปล่อยกู้ได้หรือไม่ ตอนนี้คนไทยเป็นหนี้กันมากแค่ไหน และเสนอแนะแนวทางเพื่อตั้งรับกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในอนาคต 

  • ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจกระทบคนทั่วไปอย่างเรามากน้อยแค่ไหน, การกระจายรายได้ของไทยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค, ระบบทุนนิยมในไทยเป็นอย่างไร แล้วตอนนี้ไทยอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก
    รายการ 'Business Summary' จึงประเดิมตอนแรกด้วยการชวนผู้ที่เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในวงการเศรษฐกิจและธนาคารของไทยอย่าง 'บรรยง พงษ์พานิช' ประธานกรรมการบริหารกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร มาพูดคุยกันในประเด็นทั้งหลายที่ว่าไว้ข้างต้น

  • ปีที่ผ่านมาหรือสถานการณ์ปัจจุบัน มีหลายเหตุการณ์ที่มองเผินๆ เหมือนเป็นเรื่องแสนไกลตัว ไล่เรียงตั้งแต่สงครามรัสเซียยูเครน, เทรนด์ความยั่งยืน ESG, วิกฤตอาหารโลก หรือเรื่องเศรษฐกิจมหภาคทั้งหลาย แต่หากเรามองอย่างลึกลง เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เชื่อมโยงกับชีวิตของเราทั้งสิ้น
    อาจกล่าวได้ว่าในโลกที่เราต่างเชื่อมโยงถึงกัน ไม่มีสิ่งใดไกลตัวอีกต่อไป การที่สงครามรัสเซียยูเครนยืดเยื้อก็อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันที่เราต้องจ่าย วิกฤตอาหารโลกก็อาจส่งผลต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในวันอนาคตอันใกล้
    นี่เองเป็นที่มาของรายการ ‘Business Summary’ รายการใหม่ล่าสุดจาก Capital ที่จะมาสรุปเรื่องธุรกิจอย่างเข้าใจง่ายและทำให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ดำเนินรายการโดย มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล ออกอากาศวันจันทร์สัปดาห์เว้นสัปดาห์ทาง YouTube, Spotify และ Apple Podcast ของ Capital