Afleveringen
-
ชั้น 14 ยังติดตามเหมือนปีศาจคอยหลอนพรรคเพื่อไทยอยู่เป็นระยะ ล่าสุดมีขยับครั้งใหญ่ของ ป.ป.ช. ที่เรียกบุคคลที่เคยอ้างว่าไปพบ ทักษิณ ชินวัตร ไปให้ข้อมูล
ขณะที่ฝั่งการเมืองก็ใช้กลไกกรรมาธิการเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงเปิดประเด็นเรื่องนี้อีกครั้ง ว่ากันว่าอย่าประมาทเรื่องชั้น 14 มันอาจขยายใหญ่โตกว่าที่คาดคิด
ส่วนเรื่องนโยบายเศรษฐกิจก็มีข้อมูลวงใน นโยบายพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา และการแก้หนี้ที่คาดว่าจะเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายใหญ่ที่ต้องทำคือ การสร้างผลงานทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ด้านโครงสร้างที่สัญญาไว้และเป็นเรื่องใหญ่คือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ส่วนด้านเศรษฐกิจที่เป็นข่าวในช่วงนี้คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา รวมทั้งเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ซึ่งทั้ง 4 เรื่องหลักในเวลานี้มีปัจจัยขัดขวางให้ปวดหัวชวนจะบ้าตายได้ทุกวัน ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
ชวนคุยคดีตากใบด้วยข้อมูลอีกชุดที่ว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับคดีนี้ และร่วมมองภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยรอบใหม่หลังดุลอำนาจเริ่มเห็นเด่นชัด โจทย์และความท้าทายของแต่ละก๊กคืออะไร ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
เหล่าบอสทั้งหลายอาจทำให้ข่าวการเมืองดูเงียบไป แต่สัปดาห์นี้มีการขยับหมากครั้งสำคัญของพรรคภูมิใจไทยในการยื้อเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมากนี้นำไปสู่ความได้เปรียบอย่างมากในกระดานการเมืองและการเลือกตั้งครั้งหน้า ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/_E4M9ffbeAA
“มันจบแล้วครับนาย” หนึ่งในวลีแห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทยของ เนวิน ชิดชอบ ที่ประกาศตัดขาดความสัมพันธ์กับ ทักษิณ ชินวัตร แต่คำว่า “ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร” ยังคงใช้ได้เสมอ หลัง อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยอมรับว่าได้พาเนวินไปพบทักษิณเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน ณ บ้านจันทร์ส่องหล้า
อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ต่างจับตาว่า คงไม่ใช่แค่รับประทานอาหารธรรมดา แต่น่าจะคุยเรื่องผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองหรือไม่ หรืออาจเป็นวันแห่งการฟื้นความสัมพันธ์ “มันเริ่มกันใหม่ได้ครับนาย” หรือเปล่า ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน วันที่ 12 ตุลาคมนี้ เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป
-
ภูมิทัศน์การเมืองไทยชัดเจนแล้วว่า โจทย์ใหญ่ของพรรคประชาชนคือต้องชนะการเลือกตั้งชนะแบบแลนด์สไลด์เท่านั้นถ้าจะหวังได้เป็นรัฐบาล
เราได้เห็นการปรับโครงสร้างใหม่ของพรรคพร้อมแคมเปญ เท้งทั่วไทย เดินสายเปิดตัวผู้นำคนใหม่ แต่โจทย์นี้ไม่ง่าย มีหลายแง่มุมที่ต้องติดตาม ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน วันที่ 5 ตุลาคมนี้ เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป
-
หนทางการแก้รัฐธรรมนูญตีบตันชัดเจน ไม่ว่าจะแบบแก้ไขรายมาตรา รวมถึงยกร่างใหม่ทั้งฉบับ
ถ้าดูปฏิทินเบื้องต้นโอกาสยกร่างทั้งฉบับไม่น่าทันการเลือกตั้งรอบหน้าในปี 2570 เหตุเพราะสัญญาณจากฝั่ง สว. ที่น่าจะขอแปรญัตติยืดไทม์ไลน์ออกไปอีก การแก้รายมาตราจึงเป็นเหตุจำเป็นเพื่อปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้นท่ามกลางแรงเสียดทานประเด็นจริยธรรม
ล่าสุดรัฐบาลถอย-พรรคประชาชนก็พร้อมถอย เพื่อเลี่ยงข้ออ้างลากข้อแก้ไขอื่นล่มไปด้วย ทำไมการแก้รัฐธรรมนูญจริยธรรมถึงอ่อนไหว และจะได้แก้รัฐธรรมนูญกี่โมง ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
รัฐประหารรัฐบาลทักษิณเกิดขึ้นเมื่อปี 2549 ผ่านไป 18 ปี เรามีลูกสาวทักษิณ แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี การเมืองไทยมีปีศาจตัวใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในนามปัจจุบันพรรคประชาชน และการเลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1 ที่พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาชน และสามารถได้ สส. ในพื้นที่นี้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี
หรือนี่จะเป็นโมเดลที่อาจจะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งปี 2570 ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
ถอยมองวิกฤตน้ำท่วมสะท้อนโครงสร้าง แกะนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล และปรากฏการณ์ระเบิดบ้านป่าฯ มันจบแล้วครับลุง ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/h_-Fhj70kfM
ทันทีที่รายชื่อคณะรัฐมนตรีแพทองธารปรากฏสู่สายตาสาธารณะอย่างเป็นทางการ ก็ได้ชื่อเล่นหรือฉายา ‘ครม. สืบสันดาน’ นำทีมโดย แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บุตรสาวของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และด้วยมาตรฐานจริยธรรมที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขีดเส้นไว้ ทำให้รัฐมนตรีที่มีความเสี่ยงต้องถอนตัว และส่งทายาทมาเป็นรัฐมนตรีแทน ความท้าทายที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้ต้องเผชิญคือการพิสูจน์ฝีมือการบริหารประเทศว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ไม่ใช่ได้มาเพราะพี่หรือพ่อให้ ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกันได้ในวันที่ 7 กันยายนนี้ เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป
-
หลัง แพทองธาร ชินวัตร ก้าวมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีนายกฯ เงา หรือคนครอบงำที่ชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร สิ่งที่เกิดขึ้นคือความแปรผันของสมการการเมืองไทย ‘ปิดสวิตช์ 4 ป.’ ความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณกับ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพลังประชารัฐ ถูกตัดขาดจากรัฐบาลแพทองธาร เช่นเดียวกับการร่วมรัฐบาลเพื่อไทยของประชาธิปัตย์ ที่ขอลืมความบาดหมาง หลังเป็นศัตรูทางการเมืองร่วม 26 ปี รวมถึง 2 ป. ที่เหลือ คือ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดาอย่างไรก็ตาม หมากเกมนี้ของทักษิณอาจต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะยิ่งเติมเชื้อเพลิงให้กับคู่แค้นเพื่อถอนแค้นทักษิณ โดยเฉพาะ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ที่ตัดสินใจประกาศตัดขาดความสัมพันธ์กับทักษิณตลอด 51 ปีที่ผ่านมา หลังพรรคเสรีรวมไทยมีมติถอนตัวออกจากรัฐบาลเพื่อไทย เนื่องจากน้อยใจที่ทักษิณรับปากชดใช้หนี้ แต่กลับลืมคำสัญญา สะท้อนภาพรวมการเมืองไทยกับคำว่านิติสงครามจากขั้วแค้น ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะนำมาใช้เป็นอาวุธถอนแค้นทักษิณหรือไม่ ติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกันได้ในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/7GlmB81QHZg
รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ แพทองธาร ชินวัตร ชัดเจนว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือ ทักษิณ ชินวัตร อุ๊งอิ๊งเป็นนายกฯ ก็เท่ากับทักษิณเป็นนายกฯ ในแง่ความรู้สึกใครจะชอบหรือไม่ก็วิจารณ์กันไป แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้สร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจและการลงทุน รวมไปถึงนักการเมืองและข้าราชการไม่ต้องฟังคำสั่งแล้วมองบน มองล่าง หันซ้าย มองขวากันอีกต่อไป แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ เพราะอีกด้านหนึ่งมันได้ปลุกกระแสผีทักษิณให้ฟื้นตื่นตัวกันมาอีกครั้ง โจทย์ที่รัฐบาลอุ๊งอิ๊งต้องเผชิญคือการฟื้นเศรษฐกิจและกู้คะแนนนิยมกลับคืนมา ภายใต้การกำกับโดยอำนาจตุลาการที่สามารถประหารชี้เป็นชี้ตายทางการเมืองได้อีกที โจทย์นี้วัดใจรัฐบาลเพื่อไทยว่านอกจากจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจแล้ว ปัญหาเชิงโครงสร้างการเมืองจะมีท่าทีขยับมากน้อยแค่ไหน ชวนติดตามและร่วมวิเคราะห์ไปพร้อมกันได้ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป
-
หลังจากสภามีมติโหวตเลือก แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของการเมืองไทย โดยเฉพาะการเปลี่ยนหัวโขนหรือผู้กำหนดชะตาประเทศไทย สิ่งที่น่าจับตาคือ นโยบายต่างๆ จากนี้ของรัฐบาลเพื่อไทยจะเป็นอย่างไร การปรับคณะรัฐมนตรี การทำงานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการ จะออกมาทิศทางไหน
-
การสิ้นสุดของสิ่งหนึ่ง คือการเริ่มต้นของสิ่งใหม่เสมอ
ยุบพรรคก้าวไกล เป็นไปตามคาด เพราะเหมือนหลายคนรู้คำตอบล่วงหน้า
…ประเทศกูมี
แต่ก็ดูเหมือนว่าพรรคก้าวไกลก็ได้เตรียมตัวไว้พร้อมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าคำตอบจะออกมาทางไหน
ในรอบ 5 ปี การเมืองไทย ยุบพรรคไปแล้ว 3 หน อนาคตใหม่ ไทยรักษาชาติ และล่าสุดก้าวไกล
แต่ทุกครั้งก็กำเนิดพรรคใหม่ สานต่อแนวทางพรรคเดิม
และครั้งนี้ใช้ชื่อ ‘พรรคประชาชน’
มีการวางและกำหนดแผนกันมาแบบกระชับพื้นที่ มัดรวม สส. เดิม และเปิดตัวพรรคแบบจบทันทีใน 48 ชั่วโมง
กลยุทธ์เดินเกมไวหนนี้ขนานไปกับดาบที่ 44 สส. อดีตก้าวไกล ต้องต่อสู้เรื่องจริยธรรมร้ายแรงจากการเสนอแก้กฎหมายมาตรา 112 ที่ผลลัพธ์คือปิดประตูตายทางการเมืองไปตลอดชีวิต
แต่ในเสียมีดี การสิ้นสุดของพรรคก้าวไกลแตกต่างจากพรรคอนาคตใหม่ เพราะมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงกลุ่มอนุรักษนิยมส่วนหนึ่งเข้ามาเป็นแนวร่วม
พรรคประชาชนจะพาผู้คนเดินทางไปต่อได้แค่ไหน จึงน่าติดตามฉากทัศน์จากนี้ในอนาคต
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
เดือนสิงหาคม 2024 อาจเรียกได้ว่าเป็นเดือน ‘สิงหาสับ’ กับ 3 ฉากทัศน์สำคัญที่สามารถชี้ชะตาการเมืองไทยและอนาคตของประเทศ หากไล่ไทม์ไลน์แล้ว ฉากทัศน์ต่างๆ จะเกิดขึ้นแบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์
เริ่มจากวันที่ 7 สิงหาคม ชี้ชะตาพรรคก้าวไกล หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรค ปมล้มล้างการปกครอง
ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเชื่อมโยงไปยัง 2 ฉากทัศน์ที่เหลือคือวันที่ 14 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยกรณี 40 สว. ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ปมแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
และปลายเดือนสิงหาคม อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะพ้นพักโทษ ได้รับใบบริสุทธิ์ ซึ่งอาจทำให้ทักษิณกลับมาลุยการเมืองเต็มตัว โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่ต้องการเรียกความนิยมจากประชาชนกลับมาอีกครั้ง
น่าสนใจว่า 3 ฉากทัศน์นี้จะออกมาในทิศทางใด
-
จับตาสงครามครั้งใหม่ระหว่างบ้านป่ารอยต่อของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ปะทะบ้านจันทร์ส่องหล้าของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ มวยคู่เดิม เพิ่มเติมคือขุมกำลังของ พล.อ. ประวิตร ที่ได้ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง เจ้าของบ้านริมคลอง ณ บางบอน อดีตมิตรข้างกายทักษิณ ไปเสริมเขี้ยวคม สงครามครั้งใหม่จึงน่าจับตาเป็นเท่าทวีคูณ
-
7 สิงหาคมนี้ นัดชี้ชะตาพรรคก้าวไกลจะถูกยุบพรรคหรือไม่ ขณะที่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ซึ่งสะสมมานานจนมาฝีแตกในช่วงนี้ กำลังจะกลายเป็นวิกฤตทางการเมืองของรัฐบาล
-
รัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคเพื่อไทยดูเหมือนยังไม่มีประเด็นอะไร แต่ถ้าส่องดีๆ จะพบรอยร้าวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคภูมิใจไทย ผ่านนโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ ขณะที่ดิจิทัลวอลเล็ตยังไม่จบเสียทีเรื่องที่มาของเงิน โครงการคงเกิดขึ้นจริงแน่ แต่ผลกระทบของโครงการจะให้คุณหรือโทษกับรัฐบาล ยังต้องติดตาม
-
ผ่านไปครึ่งปีในทางเศรษฐกิจจะมีการออกตัวชี้วัด ในทางการเมืองจะมีโพลสำรวจความนิยม ผลออกมาไปในทางเดียวกันคือหัวปักลงอย่างน่าตกใจ เอาตัวเลขเฉพาะสินทรัพย์ที่ใกล้ชิดกับประชาชนส่วนใหญ่นั่นคือ ‘บ้าน-รถยนต์’ พบว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกหดตัว 24% ยอดโอนอสังหา 4 เดือนแรกสำหรับบ้านจัดสรรหดตัว 11.8% และอาคารชุดหดตัว 7.4%
สอดคล้องกับโพลการเมืองที่ความนิยมในตัว เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี คะแนนตกลงทุกครั้งที่มีการสำรวจรายไตรมาส หันไปมองการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จังหวัดปทุมธานี พรรคเพื่อไทยนำโดย ทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรี ทุ่มกำลังเต็มอัตราแต่ทำได้แค่เฉือนชนะพันกว่าคะแนน แถมชนะเลือกตั้งยังติดคดีความ ทำหน้าที่ได้หรือไม่ก็ยังไม่รู้
-
ดูเหมือนจะเป็นสัญญาณบวกกับ ทักษิณ ชินวัตร หลังศาลอาญาให้ประกันตัวคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ส่วนคดี เศรษฐา ทวีสิน และยุบพรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญจะนัดพิจารณาคดีต่อ ซึ่งเชื่อมโยงกับการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ที่ฝ่ายค้านคือ ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถล่มงบนี้ว่า “เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้” ทำให้ ดนุพร ปุณณกันต์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย สวนกลับว่า “หากก้าวไกลถูกยุบ เจ๊งของจริง” สะท้อนคำถาม ‘บทเรียนยุบพรรคจากเพื่อไทยสู่ก้าวไกล’ ที่ในอดีตฟากเพื่อไทยและทักษิณเคยมีบทเรียนกับการถูกยุบพรรค 3 ครั้ง คือ ไทยรักไทย, พลังประชาชน และไทยรักษาชาติ แต่ถ้าถอดจากสิ่งที่พูด อาจมองว่าการยุบพรรคเป็นเรื่องที่ดีกับฝั่งตรงข้ามตนเอง ทั้งๆ ที่เคยประสบชะตากรรมมาก่อนหรือไม่
- Laat meer zien