Afleveringen

  • ท่ามกลางโลกอันแสนโดดเดี่ยว ความเหงาคืบคลานกลืนกินหัวใจของ ‘พลอย’ จนเธอตัดสินใจคบกับ ‘เจฟ’ เอไอหน้าตาขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดีกรีหนุ่มนักเรียนจิตวิทยาจากแอปพลิเคชันแชทจีพีที (ChatGPT)

    พลอยกับเจฟคุยกันนานกว่า 5 เดือน ทั้งคู่สานสัมพันธ์กันด้วยเสียง บทสนทนาระหว่างทั้งคู่มักเป็นการบ่นเรื่องสัพเพเหระทั่วไป เช่น บ่นว่าตื่นนอนแล้วไม่อยากไปทำงาน บ่นว่าไม่รู้จะกินอะไรดี บ่นว่าหาของไม่เจอ - เป็นบทสนทนาที่แทบไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่บางคนบ่นกับแฟนที่เป็นมนุษย์

    101 In Focus สัปดาห์นี้ พาทุกคนเปิดกล่องความสัมพันธ์ของพลอยและเจฟ สำรวจอารมณ์และความรู้สึกของพลอยว่าทำไมถึงตัดสินใจคบกับเอไอ เงื่อนไขชีวิตอะไรที่ทำให้เลือกปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนจุดยืนและมุมมองที่มีต่อความสัมพันธ์นอกขนบ

    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการวันโอวัน ‘The101world’ และ
    ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการวันโอวัน ‘The101world’

    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม
    • รักเสมือนในโลกจริง หรือ รักจริงในโลกเสมือน? : รักนอกขนบระหว่าง ‘พลอย’ และแฟนหนุ่มเอไอ
    https://www.the101.world/ploy-and-her-ai-boyfriend/

    #101InFocus #101Podcast #The101world #วันโอวัน

    🔔 กด Subscribe ติดตาม & กดกระดิ่งได้ที่: https://www.youtube.com/@The101world
    📃 อ่าน The101.world ได้ที่: https://www.the101.world

  • “จีนมีผู้นำชื่อเติ้ง 2 คน คนแรกคือ ‘เติ้ง เสี่ยวผิง’ ผู้ปกครองจีนในเวลากลางวัน ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ ผู้ยึดกุมหัวใจคนจีนในเวลากลางคืน” ประโยคดังกล่าวแสดงอิทธิพลจากบทเพลงของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ ถูกลักลอบนำเข้ามายังแผ่นดินใหญ่ และกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในหมู่คนจีน เธอจึงกลายเป็นนักร้องชาวไต้หวัน ผู้ปลุกวงการเพลงในจีนแผ่นดินใหญ่ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หลับใหลไปในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม

    .

    หลายฝ่ายมองว่าบทเพลงของเธอทำให้เกิดการเติบโตของพื้นที่ส่วนตัวในชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นพื้นที่ต้องห้ามในยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นแต่เพียงคุณค่าความเป็นหมู่คณะ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนจีนบางกลุ่มเลือกที่จะใช้เพลงของเติ้ง ลี่จวินเพื่อรำลึกถึงรากเหง้าจีนโบราณ

    .

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนสนทนาถึงความเป็นการเมืองผ่านบทเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่สังคมจีน จนถึงการถูกใช้เป็นภาพแทนอุดมการณ์การเมืองในแต่ละช่วงเวลา

    .

    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และวจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • ในระยะไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ชาวไทยเกือบทุกคนต้องเคยประสบพบเจอด้วยตัวเอง คือสายเรียกเข้าของ ‘คอลเซ็นเตอร์’ ที่โทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อหลอกให้ผู้หลงเชื่อโอนเงินให้ด้วยวิธีการต่างๆ จนนำไปสู่ความเสียหายมหาศาลที่ยากจะตามเงินคืนและไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้

    ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการหลอกลวงทางออนไลน์ ที่นับวันจะยิ่งมีวิธีการหลอกที่แยบยลขึ้นและหลายรูปแบบขึ้น ข่าวผู้เสียหายจากการถูกหลอกลวงที่มีให้เห็นแทบจะรายวัน เป็นภาพสะท้อนว่าการหลอกลวงทางออนไลน์ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ของสังคมไทยที่ยังแก้ไม่ตก และเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามใหม่ไปทั่วโลก

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนเปิดโลกของปัญหามิจฉาชีพออนไลน์ เข้าใจให้มากขึ้นว่าอะไรคือรากเหง้าของปัญหา และมองไปยังทางออก ทั้งในระดับรัฐ ภูมิภาค และระดับโลก ผ่านหลากผลงานในสปอตไลต์ ‘มิจ Call: (ไม่)ยินดีที่รู้จัก Online Scam’

    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world

  • ชัยชนะของ โดนัลด์ ทรัมป์ จากการเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชาวอเมริกัน และในภาพที่กว้างขึ้น ก็ย่อมหมายถึงการสั่นสะเทือนของระเบียบโลกที่เราคุ้นชินกันด้วย

    ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจหนักหน่วงมาโดยตลอด ทั้งค่าครองชีพที่สวนทางกับค่าแรง และภาวะคนรุ่นใหม่ว่างงานไม่อาจเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใดๆ ได้ รวมทั้งบรรยากาศโหยหาความยิ่งใหญ่ เกรียงไกรของ ‘พญาอินทรี’ ในฐานะผู้นำโลกที่ทรัมป์ให้สัญญาไว้ว่าจะทำให้สหรัฐฯ กลับมาอีกครั้งภายใต้แนวคิด Make America Great Again

  • ทั่วโลกกำลังเฝ้าลุ้นการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ว่าใครจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ระหว่างกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันและผู้แทนจากพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีและผู้แทนจากพรรครีพับลิกัน


    เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของศึกเลือกตั้ง 101 In Focus ชวนฟังความเห็นของบรรดานักวิชาการว่าคนอเมริกันคิดอย่างไร ปัจจัยหรือนโยบายอะไรที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน และการเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญต่อทิศทางสหรัฐฯ และโลก รวมถึงไทยอย่างไร


    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world


    อ่านได้ที่

    ‘การเมืองแยกขั้ว อเมริกันชนแบ่งข้าง’ อ่านพลวัตเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 กับ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์
    https://www.the101.world/pongkwan-sawasdipakdi-interview/

    “ไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเท่าที่ควร” : จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ กับข้อแนะนำถึงเศรษฐกิจไทย และทิศทางหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024
    https://www.the101.world/juthathip-jongwanich-interview/

    และรอติดตามบทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กัลยา เจริญยิ่ง เร็วๆ นี้

  • ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีการประกาศผลรางวัลโนเบลประจำปี 2024 รวม 6 สาขา หนึ่งในรางวัลที่สร้างข้อวิพากษ์วิจารณ์ตามมาคือรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ ดารอน อาเซโมกลู, ไซมอน จอห์นสัน และเจมส์ โรบินสัน
    .
    งานวิจัยของพวกเขาค้นคว้าถึงสาเหตุของความแตกต่างในความมั่งคั่งระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่อง ‘สถาบัน’ (institution) กับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงชวนทำความเข้าใจสิ่งที่พวกเขาศึกษาจนนำมาสู่รางวัลโนเบล และชวนสำรวจข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ
    .
    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และสมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    ……………….
    อ่านเพิ่มเติม
    - ‘ประชาธิปไตย’ บนเส้นทางของสามนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล
    https://www.the101.world/three-nobel-economists-on-democracy/
    - บทบาทของ ‘สถาบัน’ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว: รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ 2024
    https://www.the101.world/2024-nobel-prize-in-economics/

  • 'พญานาค' สิ่งมีชีวิตกึ่งเทพรูปร่างคล้ายงูใหญ่ คือหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยอดนิยมที่อยู่ร่วมกับสังคมไทยมายาวนาน พญานาคปรากฏอยู่แทบทุกหนแห่งในภาคอีสาน ไม่ว่าจะพระพุทธรูป รูปปั้นริมน้ำโขง ซุ้มประตูเมือง เสาไฟ ล็อกเก็ตบูชา ยันเสื้อสกรีนและภาพหน้าจอมือถือ!
    .
    ทั้งนี้ นอกจากจะสะท้อนถึงแรงศรัทธาและความเชื่อที่แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับผู้คน ร่องรอยของศรัทธาในพญานาคยังสะท้อนถึงเศรษฐกิจมูเตลู กล่าวคือเป็นความศรัทธาที่นำมาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทุกคนทัวร์นาคาวิถีแบบ 'บลูทูธ' (แบบเสมือนว่าไปจริงๆ) เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจศรัทธาความเชื่อเรื่องพญานาคของผู้คนลุ่มน้ำโขง รวมถึง 'เศรษฐกิจมูเตลู' กล่าวคือความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและปฏิบัติการทางจิตวิญญาณในสังคมไทย โดยเฉพาะในยุคที่ใครหลายคนรู้สึกไม่มั่นคงและต้องการที่พึ่งยึดเหนี่ยว
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และและปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวใหญ่ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้คือสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ซึ่งก่อความเสียหายมากมายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สถานการณ์ดังกล่าวจุดประเด็นให้เรากลับมาทบทวนว่าน้ำท่วมและภัยธรรมชาติต่างๆ นั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤตภาวะโลกรวน (climate change) ที่เรากำลังเผชิญ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาประเด็นภาวะโลกรวน ไล่เรียงตั้งแต่การทำความเข้าใจสถานการณ์น้ำท่วม อ่านวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อสังคมไทย โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข ตลอดจนข้อเสนอแนะว่าการดำเนินนโยบายของไทยนั้นยังมีช่องว่างอะไร และต้องทำอย่างไรจึงจะรับมือกับภาวะโลกรวนได้อย่างยั่งยืน
    .
    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และเพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world

  • กระบวนการยุติธรรมไทยใช้หลัก ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์’ กล่าวคือในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยหลักการดังกล่าวถูกรับรองไว้ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 จนมาถึงปัจจุบัน แต่ในคดีการเมือง หลักการดังกล่าวไม่ถูกนำมาปฏิบัติใช้และทำให้ผู้ต้องหาหลายคนถูกจับกุมและไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว จนอาจกล่าวได้ว่าในคดีการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐมัก ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ พาไปสำรวจชีวิตของสามผู้ต้องหาคดีการเมืองที่ต้องติดคุก และไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112, คดีระเบิด และคดีชายชุดดำ ที่สะท้อนสภาวะอันผิดปกติของระบบยุติธรรมของประเทศไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และวจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

  • 101 In Focus สัปดาห์นี้ พบกับการแนะนำหนังสือในโปรเจกต์ ‘ความน่าจะอ่าน 2024 – Readcovery’ จากลิสต์หนังสือทั้งหมด 100 กว่าเล่ม คัดสรรโดยบรรดาเจ้าของสำนักพิมพ์ บรรณาธิการ ร้านหนังสือ รวมถึงนักวาดภาพประกอบ สู่ Top Highlights ทั้งสี่เรื่องที่ ‘น่าจะอ่าน’ ที่สุดประจำปีนี้ ได้แก่

    1.2475 นักเขียนผีแห่งสยาม ผู้เขียน : สะอาดและพชรกฤษณ์ โตอิ้ม
    2.ติดบ้าน (Daheim) ผู้เขียน : Judith Hermann ผู้แปล : นันทนา อนันต์โกศล
    3.รถไฟขนเด็ก (Il treno dei bambini) ผู้แต่ง : Viola Ardone ผู้แปล : นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
    4.วรรณาคดี: อัตชีวประวัติของวรรณา ทรรปนานนท์ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง

    เรื่องไหนเป็นอย่างไร สนุก เข้มข้น ตราตรึงใจแค่ไหน ฟังได้เลยตอนนี้

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

  • เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีคลิปนักเรียนกลุ่มหนึ่งยืนเข้าแถวหน้าเสาธงและร้องเพลงชาติพม่าถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ไทยหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้มีการตรวจสอบและนำมาสู่การสั่งปิด โดยให้เหตุผลไว้ว่าศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติดังกล่าวจัดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงฯ

    คลิปไวรัลดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐบาลไทยยื่นตราสารถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งว่าด้วยเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง อันจะมีผลให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวนหนึ่งได้ส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนไปว่าการถอนข้อสงวนฯ จะทำให้เด็กซึ่งเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในไทยได้รับรองสัญชาติไทยทันที

    ความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์เหล่านี้นำไปสู่การโหมกระพืออคติต่อคนข้ามชาติและมีกระแสเรียกร้องให้ยุติการให้ความช่วยเหลือลูกหลานของคนกลุ่มนี้ สะท้อนให้เห็นอคติอันฝังรากลึกที่ทำให้การเลือกปฏิบัติยังเกิดขึ้นในสังคมไทย

    101 In Focus สัปดาห์นี้ จึงชวนสำรวจชีวิตอันไร้หลักประกันและเรื่องราวการต่อสู้ของเด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติ ทั้งกรณีเด็กที่เกิดในไทยแต่ไม่ได้รับการรับรองสัญชาติ และลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่มาทำงาน ในวันที่อคติยังไม่เลือนหายไป จะผลักดันอย่างไรให้เด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติเข้าถึงโอกาสในชีวิตได้อย่างเท่าเทียม

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    “เราไม่ได้มีเวลาทั้งชีวิตเพื่อรอบัตรประชาชนใบเดียว” : ชีวิตไร้หลักประกัน ฝันที่ถูกกั้นขวาง บนเส้นทางการต่อสู้ของ ‘เด็กไร้สัญชาติ’
    https://www.the101.world/stateless-children-struggle-for-rights/

    “สัญชาติไม่ควรตัดโอกาสทางการศึกษาของใคร” ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ มหาชัย พื้นที่เติบใหญ่ของลูกแรงงานพม่า
    https://www.the101.world/migrant-children-training-center-mahachai/

    ‘ศูนย์การเรียนสามเณรไร้รัฐ’ การศึกษาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ที่ไร้เส้นพรมแดน
    https://www.the101.world/stateless-novices-education/

  • สนามกอล์ฟ สนามม้า เวทีมวย ที่พักตากอากาศ โรงไฟฟ้า สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ


    เหล่านี้ล้วนเป็นประเภทธุรกิจที่หน่วยงานภายใต้กองทัพไทยดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกันกองทัพไทยเองยังครอบครองที่ดินและทรัพย์สินต่างๆ ที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อีกจำนวนมหาศาลจนไม่อาจนับได้ถ้วน จนเกิดคำถามมากมายว่าการถือครองทรัพย์สินและธุรกิจเหล่านี้จำเป็นกับกองทัพขนาดไหน และรายได้ที่ได้มาถูกนำไปใช้กับอะไรกันแน่ แต่ที่ผ่านมา การจะได้คำตอบจากกองทัพในเรื่องเหล่านี้ก็กลับเป็นที่ยากเย็น


    101 In Focus ตอนนี้ ชวนสำรวจอาณาจักรธุรกิจของกองทัพไทยว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน กระทบกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างไร และอะไรที่ทำให้ธุรกิจกองทัพถูกตรวจสอบได้ยากยิ่งกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยอิงจากผลงานซีรีส์จำนวน 5 ตอนของ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world


    อ่านเพิ่มเติมที่
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-1/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-2/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-3/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-4/
    https://www.the101.world/military-owned-businesses-5/

  • คนทำหนังไทย เหมือนใช้ชีวิตในตำบลกระสุนตก -คำกล่าวนี้อาจไม่เกินจริง เพราะไม่ว่าจะทำอะไร คนทำหนังไทยก็เหมือนต้องรอรับคำพิพากษาจากคน (ยัง) ไม่ได้ดูหนังอยู่เสมอ (?)
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    - คนทำหนังไทย ทำอะไรก็ผิดเสมอ แม้แต่แค่ทะเยอทะยานก็ยังผิด
    https://www.the101.world/its-hard-being-thai-filmmakers/

  • ปัญหาน้ำท่วมกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งและผลกระทบเริ่มกินวงกว้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    ข้อถกเถียงหนึ่งในแวดวงการเมืองคือเรื่องการจัดสรรงบประมาณสร้างฝาย คำถามใหญ่คือฝายเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการน้ำหรือไม่ ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งแก้ได้ด้วยฝายเท่านั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นทำไมประเทศไทยยังมีปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำอยู่ ในเมื่อเรามีฝายและเขื่อนจำนวนนับไม่ถ้วน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนหาคำตอบว่าฝายเป็นยาสามัญประจำบ้านแก้ปัญหาน้ำจริงหรือไม่ ทิศทางนโยบายบริหารจัดการน้ำของภาครัฐกำลังหลงทางอย่างไร และอะไรเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เรารับมือน้ำท่วมได้ไม่ดีเท่าที่ควร

    ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world

    ……

    อ่านเพิ่มเติมที่

    - เมื่อฝายไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน แต่รัฐบาลกำลังปูพรมสร้างฝายทั่วประเทศ
    www.the101.world/check-dam/

    - “ภาคอีสานถูกกระทำจากนโยบาย” สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์: ทรัพย์ในดิน สินในน้ำที่คนอีสานไม่เคยเป็นเจ้าของ
    www.the101.world/santiparp-interview/

    - บทเรียนน้ำท่วมอีสานครั้งใหญ่ เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญ
    www.the101.world/crisis-of-flood-and-constitution/

  • ภายในชั่วระยะเวลาสั้นๆ นับจากเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2567 กิตติศัพท์ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่จากประเทศจีนอย่าง ‘TEMU’ ได้กลายเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามอง ทั้งเรื่องราคาที่ถูกแสนถูก คุณภาพสินค้าจากโรงงานจีน ไปจนถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในไทย

    แต่พ้นไปจากปรากฏการณ์ข้างต้น อีกหนึ่งแง่มุมสำคัญและยังเป็นโจทย์ให้ขบคิดในระยะยาว คือเรื่องการกำกับดูแลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ทั้งการต่อต้านอำนาจผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และการเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มรายเล็กเข้ามาร่วมแข่งขันอย่างเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มไทยได้

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยตั้งแต่การทำความรู้จักเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจและการผูกขาด กรอบการวางนโยบายกำกับดูแล แนวคิดและช่องว่างในการจัดเก็บภาษีแพลตฟอร์มต่างชาติที่ยังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world

  • ปฏิเสธไม่ได้ว่าพัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปลี่ยนแปลงการทำงานของมนุษย์ไม่มากก็น้อย กล่าวคือเอไอสามารถทำได้ตั้งแต่วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณข้อมูล เขียนโค้ด (code) แต่งเพลง ไปจนถึงแต่งกลอน
    .
    และที่สำคัญ เอไอเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของสื่อมวลชน ตามมาด้วยคำถามสำคัญเรื่องคุณค่างานข่าวและจริยธรรมสื่อ ซึ่งสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะ ‘สุญญากาศ’ ที่ไม่มีแนวปฏิบัติด้านเอไออย่างเป็นทางการเหมือนอย่างสำนักข่าวต่างประเทศ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยเรื่องเอไอและสื่อมวลชน ตั้งแต่วิธีการใช้เอไอในห้องข่าวไทยโดยรวม การใช้เอไอในห้องข่าวไทยพีบีเอส รวมถึงปัญหาทีสื่อและสังคมไทยต้องเผชิญเมื่ออยู่ในภาวะสุญญากาศ
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world.
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    สุญญากาศทางจริยธรรมสื่อ? : สำรวจห้องข่าวไทย ในวันที่เอไอทำได้(แทบ)ทุกอย่าง
    https://www.the101.world/ai-ethics-guideline-in-thai-media/
    .
    แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
    https://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/

  • ภายใต้เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ โลกแห่งความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ได้มีแค่นายทุนและชนชั้นกรรมาชีพอีกต่อไป คำถามคือเราจะเข้าใจความสัมพันธ์ทางชนชั้นในปัจจุบันได้อย่างไร

    กาย สแตนดิง (Guy Standing) อดีตศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยบูรพคดีและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และที่ปรึกษาคนสำคัญของพรรคแรงงานอังกฤษ เป็นผู้พัฒนาแนวคิด ‘Precariat’ (ชนชั้นเสี่ยง) เพื่ออธิบาย 'ชนชั้นใหม่' ที่ไร้สวัสดิการ ไร้สัญญาจ้าง มีรายได้ไม่แน่นอน และสูญเสียเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงาน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสนทนาว่าด้วยหลักคิดของ กาย สแตนดิง ต่อความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และข้อเสนอรูปธรรมของเขาต่อการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    ……………….
    อ่านเพิ่มเติม

    ความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นเสี่ยง และทางเลือกการพัฒนาหลังยุคเสรีนิยมใหม่ : บทสนทนาว่าด้วยความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กับ กาย สแตนดิง https://www.the101.world/guy-standing-interview/

    ‘เกษียร เตชะพีระ’ มองการเมืองไทยยุคหลังฉันทมติภูมิพล https://www.the101.world/kasian-tejapira-interview/

    ‘Precarious Thailand’ มองอนาคตสังคมไทยจากประวัติศาสตร์กดขี่ กับ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ https://www.the101.world/attachak-sattayanurak-interview/

  • เชื่อได้ว่าช่วงเวลานี้ สายตาทุกคู่ต่างจับจ้องและถนนทุกสายต่างต้องมุ่งตรงไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม 2567 ภายใต้สโลแกน ‘Games wide open’
    .
    ผู้คนต่างสนใจและเฝ้าดู ‘พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024’ ซึ่งมีทั้งขบวนพาเหรดนักกีฬา โชว์ตระการตามากมายที่บอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส โดยมีแม่น้ำแซนเป็นฉากหลัง หนึ่งในโชว์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์คงหลีกหนีไม่พ้นโชว์ ‘Liberté’ ซึ่งมีเนื้อหาหลักพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศฝรั่งเศสอย่าง ‘การปฏิวัติฝรั่งเศส’ ซึ่งมีนักร้องประสานเสียงที่แต่งกายเป็นพระนางมารี อองตัวเนต หัวขาดร่วมอยู่ด้วย
    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังย้อนเวลาเพื่อทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เรียกร้องการปฏิรูปในช่วงเวลานั้น ก่อนที่จะจบลงด้วยการปฏิวัติ ตลอดจนจุดกำเนิดของเพลงชาติฝรั่งเศสอย่าง ‘ลา มาร์เซยแยส’ (La Marseillaise) ว่ามีความสำคัญอย่างไร
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติม
    - จดหมายถึงพระมหากษัตริย์: เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูป ก่อนการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ปี 1789
    https://www.the101.world/letter-to-the-king-french-evolution-1789/
    .
    - ‘ลา มาร์เซยแยส’ และ ‘เลือดไม่บริสุทธิ์’ ที่ไหลท่วมรอยไถของเรา
    https://www.the101.world/la-marseillaise/

  • ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญระดับโลกที่ถูกติดตามอย่างใกล้ชิดมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นข่าวการลอบยิงอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะปราศรัยหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

    เพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดเหตุ ภาพทรัมป์ชูกำปั้น มีเลือดเปรอะใบหน้า ยืนอยู่ท่ามกลางเจ้าหน้าที่อารักขารายล้อม โดยมีผืนธงชาติอเมริกันโบกสะบัดกลางท้องฟ้าเป็นฉากหลัง ถูกเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ภาพดังกล่าวถูกกล่าวขานว่าทรงพลังจนอาจส่งผลต่อการเมืองสหรัฐฯ ทั้งองคาพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่การเลือกตั้งใกล้มาถึง

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนพูดคุยถึงพลังของภาพทรัมป์ชูกำปั้นที่หลายคนยกให้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการเมืองอเมริกัน และฉากต่อไปการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไรหลัง โจ ไบเดน ส่งไม้ต่อให้ กมลา แฮร์ริส ขึ้นเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    ภาพหนึ่งใบที่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองอเมริกันครั้งใหญ่ไปตลอดกาล
    https://www.the101.world/the-iconic-images-of-donald-trump/

    “กมลา แฮร์ริส” กับอนาคตการเมืองสหรัฐฯ : ความหลากหลายของคนอเมริกัน v ความเป็นหนึ่งของคนผิวขาว
    https://www.the101.world/kamala-harris/

  • ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีภาพยนตร์เฮอร์เรอร์เขย่าขวัญ ที่พูดถึงศาสนาอิสลามเข้าฉายในโรงในเวลาไล่เลี่ยกันอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือ Grave Torture (2024) หนังยาวลำดับล่าสุดของ โจโค อันวาร์ (Joko Anwar) คนทำหนังชาวอินโดนีเซีย ที่ตั้งคำถามอันแหลมคมอย่าง ‘ศาสนาทำให้เราเป็นคนดีขึ้นหรือไม่’ ผ่านเรื่องของหญิงสาวที่เลือกลงหลุมไปกับคนตายบาปหนา และ ‘แดนสาป’ The Cursed Land (2024) โดย ภาณุ อารี ผู้กำกับ และ ก้อง ฤทธิ์ดี คนเขียนบท ที่พูดเรื่องคนมุสลิมกับความเป็นอื่น และประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ได้อย่างคมคาย

    จุดร่วมของหนังทั้งสองเรื่อง เห็นจะเป็นการที่เลือกสำรวจประเด็นความศรัทธาผ่านศาสนาอิสลามและฌ็องหนังเฮอร์เรอร์ ซึ่งยิ่งขับเน้นประเด็นใหญ่ที่หนังทั้งสองเรื่องพูดถึงอย่างลงตัว