Afleveringen

  • ‘ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ’ อาจเป็นคำกล่าวปลอบใจที่ดีที่สุด ณ เวลานี้ หลังบ้านเราเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ไปไม่นาน ท่ามกลางความสูญเสียมีประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันมากขึ้น นั่นคือเรื่องของ ‘อาคารและบ้านเรือน’ ที่ต่อไปนี้ไม่เพียงแต่ต้องคำนึงเรื่องความสวยงาม แต่ต้องมั่นคงและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย

    ความจริงแล้วเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อปี 1871 ‘ชิคาโก’ มหานครใหญ่แห่งประเทศสหรัฐฯ ได้ประสบกับวิกฤตมหาอัคคีภัยครั้งใหญ่ จนภายหลังเหล่าบรรดาวิศวกรหัวกะทิและกลุ่มสถาปนิกชื่อดัง ตัดสินใจรวมตัวกันเปลี่ยนโฉมเมืองชิคาโกเสียใหม่ ให้พัฒนาก้าวกระโดดสู่เมืองที่อุดมไปด้วยตึกระฟ้าอันมั่นคงและสวยงามในคราเดียวกัน ผ่านเทคนิคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ‘skeleton construction’ หรือที่เรียกว่าสั้นๆ ว่า ‘chicago skull’ (ชิคาโกสกูล)

    เบื้องหลังการกำเนิดของเมืองชั้นนำอย่างชิคาโก ที่มีภาพตึกระฟ้าอันทันสมัยและสถาปัตกรรมอันสวยงามนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น เราขอชวนมาติดตามฟังไปพร้อมกันได้ในรายการพอร์ดแคสต์ทรัพย์คัลเจอร์ EP.5

  • หน่วยกู้ชีพ, อินฟลูเอนเซอร์ หรือเพื่อนรักสี่ขาจอมพลัง เหล่านี้คือภาพจำของผู้คนที่มีต่อ ‘โกลเด้นรีทรีฟเวอร์’ สุนัขพันธุ์นิยม ที่มีคาแรคเตอร์น่ารักน่ากอด เฉลียวฉลาด และยังคงไว้ลายสัญชาติญาณความปราดเปรียวจากอดีต จึงไม่แปลกใจที่มันจะกลายเป็นขวัญใจของบรรดาทาส หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยเลี้ยงสุนัขก็ตาม

    แต่ก่อนจะได้รับความนิยมเฉกเช่นทุกวันนี้ แท้จริงแล้วประวัติความเป็นมาของเจ้าสุนัขขนสีทองก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่ถูกเพาะเลี้ยงสายพันธุ์โดยขุนนางแห่งสกอตแลนด์ ก่อนจะกลายเป็นลูกมือในกิจกรรมล่าสัตว์ สู่แผ่นดินสหรัฐฯ ในฐานะสุนัขอารักขาและสุนัขประจำทำเนียบข้างกายประธานาธิบดี กลายเป็นดาวดังบนจอเงิน และแน่นอนว่าเป็นสมาชิกที่ทุกบ้านใฝ่ฝันอยากจะมี

    อะไรทำให้สุนัขสายพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ได้รับความนิยมถึงเพียงนี้ และพวกมันมีความสัมพันธ์ต่อหน้าประวัติศาสตร์ในแง่ไหนอีกบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราขอชวนไขคำตอบผ่านหน้าประวัติศาสตร์สุดนุ่มฟูได้ในพอร์ดแคสต์รายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.4

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • ปลายเดือนนี้แล้วที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเวียนกลับมาอีกครั้ง ท่ามกลางกองหนังสือมากมายที่มีให้เลือกช็อป หรือโอกาสที่จะได้พบปะนักเขียนในดวงใจ บรรดาหนอนหนังสือรู้หรือไม่ว่าจุดกำเนิดงานหนังสือสุดครึกครื้นนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีที่แล้ว หรือก็คือช่วงศตวรรษที่ 12 โดยมีหมุดหมายสำคัญคือ ‘แฟรงค์เฟิร์ต’ ประเทศเยอรมนี

    คร่าวๆ ถึงสาเหตุที่ทำให้แฟรงค์เฟิร์ตเป็นจุดกำเนิดงานหนังสือ นั่นคือการที่เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งจัด ‘งานแฟร์’ (fair festival) จำหน่ายสินค้าหลากประเภทซึ่งรวมไปถึงหนังสือเขียนมือ ขณะเดียวกันยังเป็นเมืองที่ ‘โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก’ ชายผู้คิดค้นเทคโนโลยีการพิมพ์ ลงหลักปักฐานโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง

    ทว่าทำไมต้องเกี่ยวข้องกับกูเตนเบิร์ก งานหนังสือที่แฟรงค์เฟิร์ตเฟื่องฟูเพราะปัจจัยใดบ้าง และงานหนังสือเผยแพร่ไปทั่วโลกได้อย่างไร เราขอชวนทุกท่านหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในรายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.3 

  • ใครที่เคยแวะเวียนไปยังเมืองโอซาก้า ฟุกุโอกะ หรือโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น น่าจะเคยผ่านตากับสตรีทฟู้ดในลักษณะรถเข็นที่ตั้งอยู่เรียงราย ประดับประดาด้วยโคมไฟ ป้ายผ้า เก้าอี้ตัวน้อย พร้อมกับเสิร์ฟเมนูจานด่วน ราคาย่อมเยา อาทิ ทาโกะยากิ โอเด้ง ราเม็ง เกี๊ยวซ่า ไปจนถึงขนมเก่าแก่อย่างดังโงะ ซึ่งร้านในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า ‘ยะไต’ (Yatai)
    .
    วัฒนธรรมอาหารประเภทยะไต ก่อตัวขึ้นนับตั้งแต่สมัยเอโดะ หรือนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในยุคสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นยังปกครองด้วยระบบโชกุน โดยยะไตเองเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการปรับแผนผังกรุงเอโดะตามคำสั่งของรัฐบาล หลังต้องเผชิญกับอัคคีภัยครั้งใหญ่ ซึ่งพื้นที่ที่ไว้ใช้หลบภัยยามเกิดเพลิงไหม้ กลับกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของร้านยะไต ที่พ่อค้าแม่ขายต่างเปิดร้านเพื่อบรรเทาความหิวให้แก่คนระดับรากหญ้า
    .
    รายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.2 ขอชวนคุณผู้ฟังมาทำความรู้จักกับยะไต วัฒนธรรมฟาสต์ฟู้ดจากญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 400 ปี ว่าเป็นมาอย่างไร ทำไมวัฒนธรรมการกินนี้ถึงเกิดขึ้นภายหลังอัคคีภัยของกรุงเอโดะ และเหตุใดจึงยังได้รับความนิยมในหมู่คนรากหญ้าจวบจนปัจจุบัน เตรียมกระเพาะให้พร้อมแล้วมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

  • ใครที่เคยไปร้านซูชิคงคุ้นเคยกับการเสิร์ฟอาหารผ่านสายพานที่เคลื่อนไปมาอย่างลื่นไหล แต่รู้หรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของการเสิร์ฟแบบนี้เกิดขึ้นจากปัญหาของร้านซูชิสายพานร้านเล็กๆ แห่งแรกในโอซาก้า ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1950 
    .
    เบื้องหลังสายพานนี้ ชิไรชิ (Yoshiaki Shiraishi) หรือผู้คิดค้นสายพานร้านซูชิ นั้นได้แรงบันดาลใจจากการลำเลียงเบียร์ในโรงเบียร์และการเล่นไพ่ ทำให้เขาได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับสายพานซูชิ ถ้าเราสังเกตบริเวณมุมของสายพานเราก็จะเห็นการคลี่ออกของสายพานที่มีลักษณะเดียวกับเวลาที่เราคลี่ไพ่ในมือ
    .
    ทรัพย์คัลเจอร์ในอีพีแรก เลยขอพาทุกคนย้อนเวลากลับไปสู่ปี 1950 กับเรื่องราวของซูชิสายพาน กับกระบวนการทดลองเพื่อหาความเร็วที่เหมาะสมของสายพาน ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซูชิแต่ละจาน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามฟังได้พร้อมๆ กัน

    ดำเนินรายการโดย ว่าน–วณัฐย์ พุฒนาค

  • เตรียมพบกับพอดแคสต์ ‘ทรัพย์คัลเจอร์ คัลเจอร์บันดาลทรัพย์ ประวัติศาสตร์บันดาลใจ’ พอดแคสต์ที่จะพาทุกคนลงลึกไปยังช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์ ค้นหาจุดเปลี่ยนของยุคสมัยใหม่ที่ถูกอาจถูกมองข้ามไป รวมไปถึงวัฒนธรรมบางอย่างที่ก่อกำเนิดจากจุดเล็กๆ แต่กลับสร้างแรงกระเพื่อมในระดับเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่า
    .
    ดำเนินรายการโดย ว่าน–วณัฐย์ พุฒนาค นักเขียนที่เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
    .
    ติดตามได้ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์