Afleveringen

  • เนื่องจากในอดีตที่ดินในกรุงเทพฯ มักถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเจ้าของที่ดินมักสร้างซอยเล็กๆ เพื่อแบ่งขายหรือปล่อยเช่าที่ดินให้คนเข้ามาอยู่อาศัย ซอยในกรุงเทพฯ จึงเป็นเหมือนพื้นที่ในการพบปะพูดคุย นัดเจอ หรือวิ่งเล่นของเด็กๆ ในชุมชน แต่เมื่อเมืองเจริญขึ้นและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซอกซอยเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นพื้นที่ทางพาณิชยกรรม เช่น ร้านค้า คาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทำให้ซอยมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายขึ้น ทั้งทางเดิน ทางรถ และพื้นที่ขายของ
    .
    ตรอกซอกซอยในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีซอยแคบและซอยตันเยอะ ลักษณะซอยแบบนี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจเมืองอย่างไร และคนเดิน คนขับรถ รวมถึงเจ้าของพื้นที่จะอยู่ร่วมกันยังไงเมื่อซอยถูกเปลี่ยนเป็นร้านค้า รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.30 ตอนนี้

  • ว่ากันว่าสังคมยุคนี้ต้องขับเคลื่อนด้วย ‘ข้อมูล’ ใครที่มี Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ละเอียดและแม่นยำ ก็จะนำมาวิเคราะห์การตลาด กำลังซื้อ เข้าใจลูกค้า ลดค่าใช้จ่าย และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้ ‘ข้อมูล‘ จึงเปรียบเสมือนหัวใจในการสร้างความได้เปรียบทั้งในเชิงธุรกิจ ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการต่างๆ ของเมือง
    .
    จาก Big Data สู่ Open Data ที่เริ่มเป็นที่พูดถึงกันในยุคนี้ หรือก็คือการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากที่เคยถูกจัดเก็บและใช้งานเฉพาะในองค์กรหรือภาครัฐได้ ข้อมูลเปิดเหล่านี้ช่วยสร้างความโปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน เพราะประชาชนมีชุดข้อมูลเดียวกัน จึงสามารถช่วยกันตรวจสอบหรือนำข้อมูลไปใช้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้ 
    .
    นอกจากนั้น ข้อมูลเปิดที่ว่านี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลมาสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันด้านการเดินทาง สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลเอง การเปิดข้อมูลเป็นสาธารณะยังทำให้นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษานำข้อมูลไปใช้ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาได้ 
    .
    ฐานข้อมูลขนาดใหญ่คืออะไร การมีข้อมูลที่เที่ยงตรงและแม่นยำดียังไง ทำไมทุกวันนี้เมืองชั้นนำถึงขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนำข้อมูลออกสู่สาธารณะ แล้วจะจัดการข้อมูลเปิดยังไงให้เอามาใช้ได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาทุกคนไปรู้จักโลกแห่งข้อมูลในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.29 ตอนนี้ 

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • หลังจากรัฐบาลประกาศแนวคิดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดนำร่อง 50 บาท/คัน เพื่อนำมาผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำให้ประเด็นนี้เรียกเสียงฮือฮาและกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่า การเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ที่ทำแล้วสามารถช่วยลดรถติดได้ในหัวเมืองใหญ่ๆ อย่าง ลอนดอน สต็อกโฮล์ม สิงคโปร์ เมื่อมานำมาทำในบ้านเราจะเหมาะสมหรือช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่?
    .
    ค่าธรรมเนียมรถติดเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ขับขี่ที่ต้องการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือแออัด โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่อย่างย่านใจกลางเมืองหรือย่านธุรกิจ เพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนในช่วงเวลาที่มีการจราจรคับคั่ง รวมถึงส่งเสริมให้ผู้คนใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากลยุทธ์นี้ช่วยลดปัญหารถติดได้จริงถึง 30% ช่วยลดมลภาวะทางอากาศและลดการเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงเมื่อเก็บเงินแล้วยังนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น รถบัส รถไฟฟ้า หรือถนนหนทางได้อีกด้วย 
    .
    ในต่างประเทศมีวิธีเก็บค่าธรรมเนียมรถติดยังไงและผลที่ได้กลับมาคืออะไร นอกจากวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดแล้ว ยังมีวิธีไหนอีกบ้างที่จะทำให้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายสามารถทำได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.28 ตอนนี้

  • อายุ 30 แล้ว มีบ้านเป็นของตัวเองหรือยัง? ค่านิยมที่ปลูกฝังพวกเรามาอย่างยาวนานว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็ควรมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันหรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความมั่นคงบางอย่าง แต่ในวันที่เศรษฐกิจโลกถดถอยและค่าแรงยังไม่ขยับไปไหน การจะมีบ้านสักหลังในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวและราคาก็ดูจะเกินเอื้อมไปสักหน่อยกับมนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงานหาเช้ากินค่ำ
    .
    ที่อยู่อาศัยราคาแพงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพฯ แต่เป็นปัญหาที่มหานครทั่วโลกกำลังประสบพบเจอ คนจำนวนมากต้องย้ายออกไปอยู่ที่ไกลจากตัวเมืองเพื่อหาที่อยู่อาศัยในราคาถูกกว่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเดินทาง การเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น และเสียเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ  รวมถึงส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากคนงานต้องย้ายออกไปและไม่สามารถสนับสนุนธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ ได้นั่นเอง
    .
    ทำไมที่อยู่อาศัยถึงราคาแพง เก็บเงินกี่ปีถึงจะซื้อบ้านในกรุงเทพฯ ได้ แล้วรัฐจะช่วยให้คนมีที่อยู่อาศัยได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ‘ตายแล้วไปไหน?’ น่าจะเป็นคำถามนามธรรมที่ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ แต่ถ้ามองในโลกความเป็นจริง ในบางศาสนาหรือความเชื่อ ถึงจะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังต้องการที่อยู่อาศัยเหมือนกับคนเป็นอย่างเราๆ
    .
    พื้นที่ในเมืองมักถูกมองว่าเป็นที่สำหรับใช้ชีวิต ทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมต่างๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งโลกหลังความตายก็อยู่เคียงคู่กับเมืองมาเสมอแค่ไม่ได้มาในรูปแบบของบ้าน แต่มาในรูปแบบของสุสาน หรือสถานที่ฝังศพหรือเก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่จะทำยังไงเมื่อที่ดินในเมืองทุกวันนี้เริ่มขาดแคลน ทำให้คนเป็นก็เริ่มหาที่อยู่ยาก ส่วนคนตายก็หาสุสานยากเช่นกัน เมืองยุคใหม่หลายๆ เมืองจึงมีแนวคิดเปลี่ยนสุสานที่เคยเป็นแนวราบ กินพื้นที่เยอะ มาเป็นสุสานบนตึกสูงที่กินพื้นที่น้อยลง แถมยังเก็บได้เยอะขึ้น
    .
    สุสานจะปรับตัวให้เข้ากับเมืองได้ยังไง ทำไมนายทุนยุคใหม่ถึงอยากลงทุนในการทำสุสานมากกว่าสร้างที่อยู่ให้กับคนเป็น รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ที่จริงแล้ว หนังสือราคาแพงไม่ใช่เพราะว่าขายแพง แต่ต้นทุนการทำหนังสือสวนทางกับรายได้ในบ้านเราที่ยังไม่ขยับไปไหน การมีอยู่ของห้องสมุดสาธารณะทุกคนเข้ามาใช้งานได้ฟรี จึงสำคัญมาก เพราะนี่คือหนึ่งในที่ที่ทำให้ทุกคนยังเข้าถึงหนังสือดีๆ หนังสือที่ตรงกับความชอบ หรือหนังสือที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม

    ทุกวันนี้ห้องสมุดสาธารณะปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยมากขึ้น ทั้งมานั่งทำงานแบบเป็นกลุ่มได้ เอาข้าวน้ำขนมมานั่งกินได้ เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ เรียกว่าห้องสมุดเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนเมืองได้นำความรู้มาพัฒนาเมืองต่อไป เพราะการอ่านเป็นรากฐานสำคัญของทุกๆ เรื่องนั่นเอง

    ห้องสมุดมีความเป็นมายังไง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.25 ตอนนี้ 

  • เราคุ้นเคยกับชั่วโมงการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดกลมๆ แล้ว เราทำงานราวๆ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่แนวคิดทำงาน 4 วัน คืออาจปรับลดชั่วโมงการทำงานได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทหรือองค์กร เช่น จากเดิมทำงาน 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง อาจปรับเป็น 4 วัน วันละ 8 ชั่วโมง แต่ลดชั่วโมงการทำงานลงเป็น 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก เพราะช่วยให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หรือถ้าเดิมทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน อาจปรับเป็นทำงานวันละ 6-7 ชั่วโมง ใน 4 วัน เพื่อให้ชั่วโมงการทำงานลดลงตามเป้าหมาย เช่น ลดเหลือ 28 หรือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

    ทำไมการทำงานแค่ 4 วัน ถึงเป็นกระแสที่กำลังมาแรง ทำไมหลายประเทศเริ่มให้คนทำงานแค่ 4 วัน แล้วทำไมบางประเทศถึงได้งาน แต่บางประเทศถึงไม่ค่อยเวิร์ก รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.24 ตอนนี้ 

  • Paris 2024 Olympics ที่ผ่านมา เป็นการจัดมหกรรมกีฬาที่สร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลก ทั้งในแง่วิธีคิดและการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดนั่นก็คือการนำแลนด์มาร์กสำคัญทางประวัติศาสตร์มาออกแบบให้เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง และหมู่บ้านนักกีฬาไร้เครื่องปรับอากาศ
    .
    สิ่งนี้เองแสดงให้เห็นว่าประเทศเจ้าภาพต้องเตรียมความพร้อมในเชิงสถานที่เอาไว้ เพื่อต้อนรับเหล่านักกีฬาและผู้เข้าชมที่จะหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่คำถามสำคัญต่อมาคือ ‘หลังโอลิมปิก พื้นที่เหล่านี้เอาไปทำอะไรต่อให้เมืองได้บ้าง?’ บางประเทศเจ้าภาพก็ใช้สนามกีฬาสำหรับจัดการแข่งขันกีฬาประเภทอื่นๆ ต่อ บางประเทศก็เปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะ และพื้นที่ส่วนกลางของเมืองที่เปิดให้ทุกคนได้มาใช้เวลาดีๆ ด้วยกัน
    .
    ประเทศเจ้าภาพครั้งที่ผ่านๆ มา เปลี่ยนสนามกีฬาหลังมหกรรมกีฬาโอลิมปิกให้เป็นพื้นที่สาธารณะอะไรบ้าง และทำไมบางที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นแลนมาร์ก แต่บางที่ถูกทิ้งร้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาทัวร์และไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.23 ตอนนี้

  • ยอดขายข้าวขาหมูขึ้นเป็น 2 เท่า ในเวลา 1 สัปดาห์, ได้ลงนิตยสาร Time และ National Geopgraphic, ค่ายหนังสัญชาติอเมริกัน A24 เอาไปทำมีม, ส่วน CNN สำนักข่าวระดับโลกก็ลงพาดหัวข่าว – ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงน้อง ‘หมูเด้ง’ ฮิปโปแคระ แห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียวที่ตอนนี้กำลังไวรัลไปทั่วบ้านทั่วเมืองและทั่วโลก

    แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาพูดถึงน้องหมูเด้งแบบลงลึกเรื่องสายพันธุ์ แต่จะพาทุกคนมาดูการออกแบบเมืองในมิติของสวนสัตว์กันบ้าง เพราะสวนสัตว์ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของเมืองที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มาเห็นและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ประเภทต่างๆ ส่วนครอบครัวก็ได้มาใช้เวลาดีๆ ร่วมกัน และในทางหนึ่งคนทั่วไปอย่างเราที่ไปสวนสัตว์ก็ได้ความเพลิดเพลินกลับบ้านเหมือนได้พักผ่อนหย่อนใจ

    ชวนมาฟังว่าทำไมน้องหมูเด้งถึงเป็นไวรัลไปทั่วบ้านทั่วเมือง ความเป็นมาของสวนสัตว์แห่งแรก สวนสัตว์ในเมืองมีกี่ประเภท และการมีสวนสัตว์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมืองแค่ไหน รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.22 ตอนนี้ 

  • ทุกวันที่ 22 กันยายนของทุกปี คือวัน World Car-Free Day หรือวันปลอดรถโลก เป็นวันที่ทั่วโลกพยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แล้วหันมาใช้พาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน และการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
    .
    การมีอยู่ของวันปลอดรถโลกช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน การจัด World Car-Free Day ไม่ใช่การต่อต้านไม่ให้ใช้รถยนต์ แต่เป็นการทำให้เมืองต่างๆ เห็นโอกาสของการได้ทดลองปรับสภาพการจราจรและพื้นที่สาธารณะให้เป็นมิตรกับคนเดินถนนและนักปั่นจักรยานมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนลองเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางและเห็นข้อดีของการใช้ชีวิตที่พึ่งพารถยนต์น้อยลงอีกด้วย
    .
    ในหลายๆ เมืองมีกิจกรรมพิเศษในวันนี้ เช่น ปิดถนนสายหลักให้กับการเดินและปั่นจักรยาน พื้นที่สาธารณะที่เคยเป็นของรถยนต์จะถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงดนตรีสด การเล่นกีฬา หรือนำมาจัดถนนคนเดิน หรือบางเมืองก็ให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในวันนี้ด้วย
    .
    วันไร้รถยนต์มีที่มายังไง การลดใช้รถยนต์แล้วลองเปลี่ยนมาเดินเท้าหรือปั่นจักรยานแทนดีต่อเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.21 ตอนนี้ 

  • ไอศครีม ไก่ทอด ทิชชู่ อุปกรณ์ไอที ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต มองไปทางไหนก็เห็นสินค้าจากแดนมังกรอยู่รอบตัวเต็มไปหมด เรียกว่าจีนเริ่มคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ จนผู้ประกอบการบ้านเราอยู่ยากเข้าไปทุกที
    .
    จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ (Factory of the World) ด้วยแรงงานจำนวนมาก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซัพพลายเชนที่ครอบคลุม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ทำให้จีนมีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจโลกในฐานะผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังตลาดทั่วโลกในราคาที่ได้เปรียบคู่แข่ง
    .
    ทุนจีนเข้ามาในไทยส่งผลกระทบยังไงบ้าง แล้ว SME ไทยจะสู้สินค้าจากจีนยังไงดีในวันที่ตั้งกำแพงภาษีอาจไม่เพียงพอ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.20 ตอนนี้ 

  • ทำไมถึงควรเดินทางด้วยจักรยาน และการปั่นจักรยานดีต่อเรา ธุรกิจ และเศรษฐกิจเมืองยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.19 ตอนนี้

  • อร่อย อยู่ตามริมถนนหรือทางเท้า เปิดดึก ซื้อง่ายขายเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็นำพาสัตว์พาหะอย่างหนูหรือแมลงสาบ รวมถึงกีดขวางทางเท้า 
    .
    นี่คือข้อดี-ข้อเสียเมื่อนึกถึงร้านหาบเร่แผงลอยที่เป็นเหมือนสิ่งหล่อเลี้ยงปากท้องคนทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เมืองดูไม่สวยงามหรืออาจสร้างปัญหาให้กับเมืองได้
    .
    หาบเร่แผงลอยอยู่คู่กับเมืองมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เป็นแผงลอยขายกันง่ายๆ หน้าบ้าน จนมาถึงหาบเร่เอามาขายในเมือง แต่เมื่อเข้ามาแล้วต้องมีการจัดระเบียบและออกแบบให้ร้านค้าอยู่ร่วมกับเมืองและคนได้อย่างถูกกฎหมายด้วย
    .
    ที่มาที่ไปของหาบเร่แผงลอยคืออะไร ต่างประเทศจัดระเบียบหรือผ่อนผันร้านหาบเร่แผงลอยยังไง แล้วร้านค้าริมถนนนี้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.18 ตอนนี้

  • ‘น่ารักมั้ยไม่รู้ แต่รอให้รักอยู่นะรู้ไหม ดูแลแบบไม่พัก เพราะหวังได้รักไม่ใช่ผลักไส’ ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะได้ยินเพลงนี้กันมาบ้าง เสียงใสๆ ดูเข้าถึงง่ายนี้เป็นผลงานของ Butterbear หรือน้องหมีเนยประจำร้านขนม Butterbear Cafe

    น้องหมีเนยคือหนึ่งในวิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนจดจำสินค้าและบริการได้ อย่างเมืองเองก็มีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนเห็นแล้วรู้ว่าคือที่ไหนเช่นกัน นั่นก็คือการสร้างมาสคอต (mascot) หรือสิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เมือง องค์กร หรือทีมกีฬาขึ้นมา โดยมาสคอตมักจะถูกออกแบบมาให้มีลักษณะน่ารัก จดจำง่าย และสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ยกตัวอย่างมาสคอตที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี เช่น คุมะมง หมีดำแห่งจังหวัดคุมาโมโตะ หรืออย่างปาปา-ทูทู้ มาสคอตปลาทูแม่กลองต่างดาว ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

    การมีมาสคอตที่สื่อสารตัวตนของเมืองนั้นดียังไง และมาสคอตช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยังไงบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.17 ตอนนี้

  • ผู้คน ต้นไม้ คาเฟ่ ป้าย ประตูหน้าต่าง และน้องแมวที่เจอระหว่างทาง เราเชื่อว่าเมืองยังมีแง่มุมสนุกๆ อีกเยอะ แค่เราออกเดินสำรวจ แต่บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าการออกไปเดินในเมืองแลกมาด้วยอากาศร้อนเพราะไม่มีร่มไม้ข้างทาง และอันตรายต่างๆ จากทางเท้าที่เป็นหลุม เป็นบ่อ จะดีแค่ไหนถ้าพื้นที่สาธารณะอย่างทางเท้าที่เราใช้เดินอยู่ทุกวัน ทำให้เราเดินสนุกได้เหมือนเวลาไปต่างประเทศ

    การเดินเป็นวิธีการเดินทางที่ง่าย ดีต่อสุขภาพ และประหยัดที่สุด นอกจากประโยชน์ต่อตัวเองแล้ว การเดินยังมีประโยชน์กับเมืองด้วย ทั้งทำให้เมืองคึกคักมีชีวิตชีวา และส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองในระยะยาว เพราะทุกครั้งที่เราเดินเท่ากับเพิ่มโอกาสในการอุดหนุนธุรกิจหรือร้านค้าของคนตัวเล็กตัวน้อยไปในตัว

    ความรู้สึกที่ทำให้คนอยากเดิน เริ่มต้นจากการมีทางเท้าที่ดีและปลอดภัย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ขออาสาพาทุกคนมาดูกันว่าทางเท้าที่ออกแบบดีหน้าตาเป็นแบบไหน และเมืองที่เดินสะดวกช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจได้ยังไง ในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.16 ตอนนี้

  • ช่วงที่ผ่านมานี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะได้ยินข่าวปลาหมอคางดำบุกสร้างความเดือดร้อนให้เหล่าเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ด้วยเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่ปรับตัวได้เร็ว อยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด และแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วจนทำให้สัตว์ในท้องถิ่นสูญพันธุ์ได้ 

    เอเลี่ยนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาก่อน แต่เข้ามาจากถิ่นอื่น แล้วเกิดการปรับตัวและขยายพันธุ์จนอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เช่น ผักตบชวา เป็นต้น แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าปลานิลและยางพาราเองก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เช่นเดียวกัน หมายความว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในบ้านเรา

    คำถามสำคัญจึงคือเอเลี่ยนสปีชีส์นั้นมีแต่ข้อเสียอย่างเดียวหรือเปล่า มีชนิดพันธุ์ที่เข้ามาแล้วทำให้เศรษฐกิจดีบ้างไหม แล้วถ้าเข้ามาแล้วไม่ดี เมืองควรจัดการยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.15 ตอนนี้

  • นอกจากสิงคโปร์จะการออกแบบเมืองทางกายภาพ เช่น การสร้างสวนสาธารณะให้คนออกมาพักผ่อนหย่อนใจ การออกแบบทางเท้าให้คนเดินสะดวก อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและคุณภาพชีวิตของคนในเมืองดีขึ้น คือเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะเมืองที่สร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอยากพัฒนาตัวเอง และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานได้นั้นย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีตามไปด้วย

    แน่นอนว่าสิงคโปร์ไม่ได้มีแต่ข้อดี และยังมีอีกหลายปัญหาให้ต้องเร่งแก้ไข สิ่งที่น่าสนใจคือสิงคโปร์ออกแบบนโยบายยังไง และลงทุนกับอะไรบ้างถึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีที่สุดในโลกจนทิ้งห่างเพื่อนบ้านได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.14 ตอนนี้

  • สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่หลายคนน่าจะตั้งตารอมานาน ด้วยเป็นสัปดาห์ที่มหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่อย่าง Paris 2024 Olympics กำลังจะเปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้ว 
    .
    สิ่งที่โดดเด่นมากๆ ของโอลิมปิกครั้งนี้คือ ปารีสพยายามชูว่าเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยนำพื้นที่สาธารณะที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญทางประวัติศาสตร์มาออกแบบให้เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการแทรกสนามกีฬาลงไปในพื้นที่สาธารณะ เปลี่ยนจากการดูกีฬาในโดมมาเป็นการดูกีฬาแบบที่มีเมืองปารีสเป็นฉากหลัง เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในเมืองที่มีอยู่แล้วได้อย่างคุ้มค่า เพราะไม่ต้องสร้างใหม่ และหลังจากจบงานเมืองก็ได้ใช้ประโยชน์ต่อ 
    .
    Paris 2024 Olympics รอบนี้จะมีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง เป็นมหกรรมกีฬาที่รักษ์โลกที่สุดจริงหรือไม่ ทำไมถึงมีบางเสียงคัดค้านหรือไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบและพาทัวร์ปารีสไปด้วยกันในรายการ Podcast Capital City EP.13 ตอนนี้

  • รอรถเมล์นานจนร้องไห้ก็เคยมาแล้ว จะนั่งรถไฟฟ้าก็ราคาแพงแถมคนเยอะ แต่ถ้าจะให้นั่งรถแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซค์ก็จ่ายไม่ไหว และยิ่งแล้วใหญ่ถ้าต้องซื้อรถยนต์ที่พ่วงมากับค่าเติมน้ำมัน 
    .
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะเจอปัญหาเดียวกันคือค่าเดินทางในกรุงเทพฯ ราคาแพงจนทำให้รู้สึกเศร้าปนท้อแท้ใจทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน เพราะบางครั้งต้องเดินทางหลายต่อกว่าจะถึงที่หมาย และต้องเผื่อเวลาเดินทางนานกว่าปกติ ซึ่งแลกมากับการต้องเสียทั้งเงินและเวลา 
    .
    กลับกัน ในประเทศชั้นนำทั่วโลกนั้นมีวิธีออกแบบและบริหารจัดการค่าเดินทางให้ถูกได้ เพราะเห็นว่าทุกค่าเดินทางและค่าโดยสารที่คนเมืองจ่ายไป เพื่อเดินทางไปทำงาน เดินทางไปร้านค้า หรือเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและทำให้ธุรกิจเติบโต
    .
    ค่าเดินของคนกรุงเทพฯ สัมพันธ์กับค่าแรงขั้นต่ำแค่ไหน ทำไมกรุงเทพฯ ถึงค่าเดินทางแพง แล้วจะออกแบบเมืองยังไงให้ค่าเดินทางถูกลง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.12 ตอนนี้

  • เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว เชื่อว่าถ้าฝนตกหลังเลิกงานเมื่อไหร่ ทุกคนน่าจะพบเจอกับความยากลำบากทันที ไม่ว่าจะรถติด รถเมล์มาช้ากว่าเดิม ผู้โดยสารในรถไฟฟ้าแน่นขนัด และที่สำคัญคือปัญหาน้ำท่วมและภัยธรรมชาติต่างๆ 
    .
    ตามปกติแล้วเมืองควรออกแบบให้ผู้คนใช้ชีวิต ดำเนินธุรกิจและใช้บริการสาธารณะ รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งปี เมืองยังต้องถูกออกแบบเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์น้ำท่วมจากฝนตก หรือน้ำทะเลหนุนด้วย ที่ผ่านมา เมืองหลวงหรือราชธานีเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอด จึงมีวิธีการอยู่ร่วมกับน้ำซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยเมืองที่เราอยู่ย่อมขยายใหญ่ขึ้นตามยุคสมัยและความซิวิไลซ์ ทางน้ำผ่านที่เคยออกแบบไว้จึงอาจลดลง  
    .
    การออกแบบเมืองเพื่อรับมือกับน้ำท่วมที่ว่านี้คืออะไร ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีวิธีการป้องกันน้ำท่วมยังไงบ้าง และจะออกแบบเมืองยังไงให้ป้องกันน้ำท่วมได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการ Podcast Capital City EP.11 ตอนนี้