Afleveringen

  • เคยรู้สึกมั้ยว่าแค่ได้ยินชื่อเมือง ก็เหมือนเรารู้สึกบางอย่างขึ้นมาในใจ
    อย่างนิวยอร์กก็อาจนึกถึงผู้คนที่พลุกพล่าน เดินเร็ว แสงไฟจากตึกระฟ้า
    แต่เมื่อนึกถึงชนบทญี่ปุ่น ภาพของทุ่งนา ทางรถไฟ  และเสียงจักจั่นในฤดูร้อนกลับผุดขึ้นมา

    สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ภาพจำ แต่มันคือ sense of place หรือ “ความรู้สึกของสถานที่” ที่ก่อตัวขึ้นจากทั้งบรรยากาศ กิจกรรม ผู้คน วัฒนธรรม และประสบการณ์ส่วนตัวที่เรามีต่อพื้นที่นั้น 

    ยกตัวอย่างให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้นเช่นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่หลายคนน่าจะเดินทางจากกรุงเทพฯ กลับไปยังบ้านที่เติบโตมา ได้กลับไปใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงเก่าๆ ที่ไม่ได้เจอนานแล้ว สิ่งนี้คือการเปลี่ยน sense of place  จากเมืองที่รีบร้อนกลับสู่พื้นที่ที่ผูกพัน กลับไปเจอบรรยากาศ สถาปัตยกรรม กลิ่น เสียง แสงที่คุ้นเคยนั่นเอง

    sense of place คืออะไร ทำไมแต่ละเมืองถึงมี sense of place ที่แตกต่างกัน และ sense of place สำคัญกับเมืองยังไง  รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมเล่าให้ฟังแล้วใน Podcast Capital City EP.42 ตอนนี้

  • ถ้าภาพยนตร์รักแห่งสยาม (2007) นำเสนอสยามสแควร์ยุค 2000 ต้นๆ ที่มี center point เป็นแหล่งรวมตัว และมีร้านดีเจสยาม ซอย 4 เป็นร้านประจำที่ต้องแวะไปบ่อยๆ ซีรีส์วายแนวโรแมนติก GELBOY สถานะกั๊กใจ (2025) ก็นำเสนอสยามในมุมของเจนซี ตั้งแต่การไปทำเล็บเจลในซาลอน ไปคาเฟ่เก๋ๆ ตามไปให้กำลังใจศิลปินที่มาร่วมรายการที่ Flex 102.5 ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ ไปจนถึงการแรนดอมแดนซ์เพลง T-Pop ที่ลานหน้าตึกสยามสเคป

    ถ้าจะบอกว่าสยามสแควร์เป็นย่านวัยรุ่นที่ไม่มีวันตายก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะสยามเดินทางผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน แม้จะมีช่วงที่ซบเซาลงไปบ้าง แต่ก็ได้ปรับตัวจนกลับมาเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่น มีร้านค้า ร้านอาหารตามเทรนด์ใหม่ๆ มาเปิด และมีพื้นที่ให้มาแสดงดนตรีสดกัน เรียกว่าสร้างเสียงฮือฮามากๆ จนใครที่มีวงดนตรีก็คงอยากมาแสดงที่สยามสแควร์เป็นที่แรกๆ แน่นอน สยามสแควร์จึงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยความหลากหลายมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแฟชั่น ดนตรี ศิลปะ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ และเป็นเหมือนศูนย์กลางของการแสดงออกทางตัวตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

    สยามสแควร์เป็นมายังไง ทำไมถึงเป็นย่านของวัยรุ่นมาทุกยุคทุกสมัย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมเล่าให้ฟังแล้วใน Podcast Capital City EP.42 ตอนนี้

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ไม่เพียงทำให้ประชาชนตื่นกลัว แต่ยังส่งผลให้เมืองถูกฟรีซ หลายคนหาทางกลับบ้านไม่ได้ บางส่วนต้องเดินกลับบ้าน หรือบางคนก็เลือกนอนค้างคืนในสวนสาธารณะ เนื่องจากการเดินทางในกรุงเทพฯ เป็นอัมพาต
    .
    ที่สำคัญ เรายังได้เห็นว่านอกจากโครงสร้างอาคารที่ต้องแข็งแรงแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว โครงสร้างพื้นฐานอย่างสวนสาธารณะ ทางเท้า ทางจักรยาน พื้นที่โล่ง พื้นที่กึ่งสาธารณะก็ควรเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่พร้อมรองรับผู้คนยามเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินด้วย
    .
    ประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าเจอแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดนั้นเอาตัวรอดยังไง และเมืองควรออกแบบเมืองยังไงให้พร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมเล่าให้ฟังแล้วใน Podcast Capital City EP.41 ตอนนี้

  • ถนนที่สร้างยาวนานกว่าพีระมิดแห่งกีซา และถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยจนคร่าชีวิตผู้คนมานักต่อนัก ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงถนนพระราม 2 เส้นทางหลักที่เชื่อมกรุงเทพมหานครกับภาคใต้ของประเทศไทยที่ตั้งใจให้เดินทางไปภาคใต้โดยไม่ต้องขับผ่านตัวเมืองนครปฐมและราชบุรี เหมือนถนนเพชรเกษม ซึ่งทำให้เดินทางใกล้ขึ้นและเร็วขึ้นถึง 40 กม. และไม่ต้องเจอกับปัญหารถติด

    ฟังดูแล้วการสร้างถนนพระราม 2 เป็นโอกาสของเมืองในแง่ทำให้คนเดินทางง่ายขึ้น ไวขึ้น และขนส่งสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถนนพระราม 2 กลับประสบปัญหาอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จากข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2561-2567 พบว่าเกิดอุบัติเหตุรวม 2,242 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 132 ราย และบาดเจ็บ 1,305 ราย โดยสาเหตุของอุบัติเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนที่ยืดเยื้อ ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ‘ถนนพระราม 2 จะสร้างเสร็จกี่โมง’

    รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาเข้าใจหลักการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศชั้นนำทำ และเปิดทามไลน์ถนนพระราม 2 ตรงไหนที่สร้างเสร็จไปแล้ว ตรงไหนที่กำลังจะขยายต่อจนทำให้สร้างไม่เสร็จต่อไปเรื่อยๆ แล้วถ้าสร้างเสร็จคนเมืองจะได้ประโยชน์อะไรจากถนนเส้นนี้บ้างใน Podcast Capital City EP.40 ตอนนี้

  • แก้วน้ำรีไซเคิล จานรีไซเคิล เฟอร์นิเจอร์รีไซเคิล –คำว่า ‘รีไซเคิล’ น่าจะเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจเข้าใจแค่การแยกขยะหรือการนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ แต่จริง ๆ กระบวนการรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน ลดของเสีย และนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่แทนที่จะใช้แล้วทิ้ง 
    ในปี 2025 คาดว่าจะมีขยะกว่า 2,220 ล้านตัน อย่างในฮ่องกงเองก็ได้ตั้งเป้าว่าจะให้เจ้าของธุรกิจเก็บขยะพลาสติกของตัวเองกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล หรืออย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวียก็ได้มีการนำขยะมูลฝอยมารีไซเคิลเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในประเทศ จะเห็นว่าแต่ละเมืองนั้นมีการจัดการกับปัญหาขยะแตกต่างกัน ซึ่งก็เป็นโอกาสให้เกิดธุรกิจรีไซเคิลตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งมีทั้งมุมที่ดีต่อโลกและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ด้วยเช่นกัน
    เนื่องในวันรีไซเคิลโลก (Global Recycling Day) ที่ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนทุกคนมาฟังโอกาสของธุรกิจรีไซเคิลในยุคนี้ และชวนหาคำตอบว่าคนทั่วไปจะช่วยโลกรีไซเคิลได้ยังไงบ้างไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.39 ตอนนี้

  • เมืองไม่ใช่แค่สถานที่ที่เราอาศัยอยู่ แต่เป็นพื้นที่ที่กำหนดคุณภาพชีวิตของเรา ตั้งแต่การเดินทางในแต่ละวัน พื้นที่พักผ่อน ไปจนถึงโอกาสในการพบปะและใช้ชีวิตร่วมกับผู้คน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปัญหาจราจร ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
    .
    ในปี 2025 นี้ เมืองต่างๆ ทั่วโลกจึงกำลังพัฒนาเมืองให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น ทั้งเรื่องการเดินทาง สิ่งแวดล้อม และพื้นที่สาธารณะ เพราะเมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่คนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือถ้าพูดให้เห็นภาพมากขึ้นคือ ต่อให้ทั้งวันนั้นทำงานมาเหนื่อยแค่ไหน แต่เมื่อเปิดประตูออกจากออฟฟิศมาแล้ว สภาพแวดล้อมในเมืองไม่ได้ทำให้เราเหนื่อยไปกว่าเดิมนั่นเอง
    .
    ทุกวันนี้เมืองยุคใหม่ให้ความสำคัญกับอะไร เทรนด์การออกแบบเมืองในปีนี้มีอะไรบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาฟังไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.38 ตอนนี้

  • รายการ Capital City กลับมาอีกครั้ง หลังจากพักเบรกไปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2024 ที่ผ่านมา ขอเท้าความไปก่อนว่าเมื่อปีที่แล้วเราพาทุกคนไปรู้จักกับภาพใหญ่ของคำว่าเมืองที่ดีคืออะไร เมืองผูกโยงกับคุณภาพชีวิตของคนเรายังไง ไปจนถึงพาไปรู้จักหน่วยที่อยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างพื้นที่สาธารณะที่ถ้าออกแบบให้ดี คนเมืองก็จะมีที่ให้นั่งพักผ่อน มีพื้นที่ให้พบปะสังสรรค์ และการทำกิจกรรมต่างๆ
    .
    พื้นที่สาธารณะไม่ได้อาศัยแค่การออกแบบให้ดีตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องออกแบบให้สวยงามน่าใช้งานด้วย หรือถ้าทุกคนยังนึกไม่ออกว่าคืออะไรให้ลองนึกถึงงาน Bangkok Design Week 2025 ที่ผ่านมาที่เป็นการนำงานศิลปะหรืองานออกแบบมาบวกกับพื้นที่เมือง เพื่อเล่าเรื่องย่าน เติมชีวิตชีวาให้กับชุมชน สร้างบทสนทนา และเสนอไอเดียความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
    .
    กลับมาในตอนแรกของซีซัน 2 นี้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาฟังว่าศิลปะจะช่วยสร้างเมืองได้ยังไง และการมีเมืองที่สนับสนุนศิลปะจะสร้างเม็ดเงินได้ยังไงไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.37 ตอนนี้

  • พื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคนคืออะไร? หลายๆ คนอาจนึกถึงสวนสาธารณะ แต่จริงๆ แล้ว พื้นที่สาธารณะมีหลายประเภท อย่างทางเท้าที่เราใช้เดินกัน ลานว่างหน้าห้างสรรพสินค้า พื้นที่ในศาสนสถาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานีขนส่งสาธารณะ พื้นที่ทางธรรมชาติ และพื้นที่เรียนรู้ ยิ่งถ้าออกแบบสภาพแวดล้อมในสถานที่เหล่านี้ให้ดีด้วยแล้ว คนก็จะมีพื้นที่ทางเลือกให้ไปนั่งพัก นั่งเล่น นั่งคุย และออกกำลังกายอีกเพียบ
    .
    หลังเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 เรื่องพื้นที่สาธารณะก็เป็นประเด็นที่คนหันมาสนใจมากขึ้น ทำให้คำว่าพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่สีเขียวถูกตีความใหม่ ซึ่งนักออกแบบ สถาปนิก หน่วยงานต่างๆ เริ่มมองหาโอกาสหรือความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์ผู้คนมากขึ้น อย่างการหยิบพื้นที่ใต้ทางด่วนมาทำเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ หยิบพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้งานในเมืองมาออกแบบเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมหรือจัดอีเวนต์ต่างๆ  หรือใช้ลานจอดรถมาออกเป็นสนามกีฬา เพื่อให้คนไม่ต้องเดินทางไกลไปสวนสาธารณะใหญ่ๆ แต่เดินจากบ้านไม่เกิน 15 นาทีก็เข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายหรือพักผ่อนหย่อนใจได้
    .
    ก่อนจะมาเจอกันใหม่ในปีหน้า ตอนสุดท้ายของปีแบบนี้เราอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าพื้นที่สาธารณะคืออะไร มีกี่ประเภท พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่สุขภาพดีในบ้านเรามีกี่ที่ พื้นที่สาธารณะทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นได้ยังไง และสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจเท่าไหร่รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.36 ตอนนี้

  • เดินห้างแล้วได้ยินเสียงเพลง Jingle bell, jingle bell, jingle bell rock อากาศเย็นๆ ต้นสนยักษ์ประดับไฟระยิบระยับ และช่วงเวลาแห่งการนับหนึ่งเริ่มต้นใหม่ อยากตั้งใจใช้ชีวิตให้ดีในปีหน้า หรือนี่จะเป็นความมหัศจรรย์ของงานเทศกาลและบรรยากาศสิ้นปี?
    .
    เวลาพูดถึงเทศกาล หลายคนอาจนึกถึงเทศกาลดังอย่างฮาโลวีนที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและแฟนตาซี หรือคริสต์มาสที่อบอวลไปด้วยช่วงเวลาความสุขและความอบอุ่นของครอบครัว แต่ทุกวัฒนธรรมทั่วโลกต่างมีเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งสะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณีของผู้คนในแต่ละพื้นที่ อย่างในบ้านเราก็มีเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง เทศกาลบุญบั้งไฟ หรือเทศกาลไหลเรือไฟ เทศกาลเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เป็นโอกาสให้เราได้เฉลิมฉลอง แต่ยังเป็นสะพานที่เชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกันผ่านกิจกรรมและช่วยสร้างรายได้มหาศาลให้กับเมือง
    .
    คำว่า Festival Economy คืออะไร ทำไมงานเทศกาลถึงสร้างสีสันให้กับเมือง และเทศกาลสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.35 ตอนนี้

  • เผลอแป๊ปเดียวก็เข้าสู่เดือนธันวาคมแล้ว ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นลง ประกอบกับมีลมพัดเย็นๆ มาให้ได้สวมเสื้อแขนยาวออกจากบ้านกันบ้าง แต่พอขยับเข้ามาช่วงสิ้นปีทีไร ปัญหาฝุ่น PM2.5 ก็มาเยือนเมื่อนั้น เรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบที่มาพร้อมหน้าหนาวเลยก็ว่าได้
    .
    เมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และมีการจราจรด้วยรถยนต์คับคั่งมักจะเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของพวกเราทุกคน เนื่องจาก PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ส่วนทางสุขภาพใจก็อาจทำให้เกิดความวิตักกังวลหรือเครียดได้ และเมืองที่อากาศไม่ดีก็ทำให้เศรษฐกิจไม่ดีตามไปด้วยเช่นกัน อย่างในประเทศไทยที่สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจเพราะฝุ่น PM2.5 ไปถึงหมื่นกว่าล้านเลยทีเดียว
    .
    เมื่อปัญหาฝุ่น PM2.5 เกิดขึ้น รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีหน้าที่ในการแก้ไข ป้องกัน และออกแบบเมืองให้ทุกคนได้อยู่ในอากาศที่บริสุทธิ์ อยากออกจากบ้านมาทำกิจกรรมต่างๆ เพราะการได้ใช้ชีวิตอยู่ในอากาศที่ดีคือสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน 
    .
    ฝุ่น PM 2.5 ในเมืองเกิดจากสาเหตุอะไร ฝุ่นส่งผลกระทบยังไงต่อเศรษฐกิจ และเมืองปักกิ่งที่เผชิญกับปัญหาฝุ่นมานานหลายปี ทำยังไงให้กลายเป็นเมืองอากาศดี รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.34 ตอนนี้

  • ทาสเดียวที่ฉันยอมเป็นคือทาสหมา ทาสแมว เพราะตั้งแต่ได้เห็นหน้าน้องครั้งแรก เจ้าสี่ขาสุดน่ารักน่าเอ็นดูนี้ก็ได้มายึดพื้นที่ในหัวใจไปแล้วเรียบร้อย ไม่พ้นแม้กระทั่งคนในบ้านที่อาจจะบ่นว่าจะเลี้ยงทำไม แต่ตัดภาพไปกลับรักหมาแมวยิ่งกว่าลูกจริงๆ อย่างเราเสียอีก
    .
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีความรู้สึกเดียวกันนี้ เพราะในปัจจุบัน คนเราเลี้ยงสัตว์เหมือนลูกหลานอีกคนหนึ่ง ทั้งในด้านการให้ความรัก การดูแลสุขภาพ อาหารที่ให้ รวมถึงการสร้างความสุขร่วมกันในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เอามานั่งกินข้าวด้วย พาไปเที่ยว ไปจนถึงพามานอน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันคนเริ่มมีลูกน้อยลง หรือเลือกที่จะไม่มีลูกกันมากขึ้น แต่หันมาให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงแทน เพราะการเลี้ยงสัตว์ช่วยเติมเต็มความสุข ลดความเครียด คลายความเหงา และดูเหมือนจะทำให้ความเหนื่อยที่เจอมาทั้งวันหายไป เพียงแค่ได้มอง สัมผัส กอด หรือเล่นด้วยกัน
    .
    เมื่อคนยุคใหม่หันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เมืองก็ต้องปรับตัวและมีพื้นที่สาธารณะที่รองรับทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัจจุบันก็มีสวนสาธารณะหรือทางเท้าที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้น โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จุดให้น้ำ หรือโซนสำหรับสัตว์เลี้ยงวิ่งเล่น ส่วนในภาคธุรกิจเองก็เริ่มมีร้านอาหาร คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร และห้างสรรพสินค้าที่ปรับตัวเองให้เป็น Pet-friendly มากขึ้นเช่นกัน 
    .
    ทำไมคนถึงนิยมเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น การเลี้ยงสัตว์มีข้อดี-ข้อเสียยังไง และจะออกแบบเมืองหรือพื้นที่ยังไงให้รองรับได้ทั้งคนและสัตว์ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.33 ตอนนี้

  • ช่วงนี้ถ้าทุกคนเปิดหน้าฟีดโซเชียล มีเดียของตัวเองก็น่าจะเจอกับคอนเทนต์ที่พูดถึงเจนฯ Z (ผู้ที่เกิด ค.ศ. 1997-2012) กันอยู่บ่อยๆ ทั้งในแง่การทำงาน มุมมองต่อการใช้ชีวิต หรือคอนเทนต์ที่พาไปสำรวจพฤติกรรมกันแบบเจาะลึก เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและปรับตัวกับเจนฯ Z ที่กำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในยุคนี้
    .
    ปัญหาเรื่องความต่างระหว่างเจนฯ ที่ทำให้คนแต่ละช่วงอายุไม่ลงรอยกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัย เพราะคนแต่ละกลุ่มเติบโตมากับบริบทสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีส่วนในการหล่อหลอมความคิดและพฤติกรรมของแต่ละเจนฯ เมืองเองก็ต้องปรับตัวให้เหมาะกับคนทุกช่วงอายุเช่นกัน ทั้งในแง่การออกแบบพื้นที่ให้ยืดหยุ่น การออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ออกแบบบริการให้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น ไปจนถึงเป็นพื้นที่สบายใจที่ทำให้คนแต่ละรุ่นอยากออกมาเจอกัน
    .
    ทำไมคนที่เกิดในยุคนี้ถึงคิดแบบนี้ ความต่างของอายุมีผลต่อวิธีคิดและการใช้ชีวิตยังไง เมืองที่ดีจะออกแบบให้คนหลากหลายวัยอยู่ร่วมกันได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.32 ตอนนี้

  • เร็วๆ นี้ทางสภา กทม.เพิ่งประกาศไฟเขียวข้อบัญญัติ ‘ค่าเก็บขยะ’ ฉบับใหม่ โดยคิดค่าเก็บ 2 แบบคือ แยกขยะ คิดเดือนละ 20 บาท และเดือนละ 60 บาท สำหรับบ้านที่ไม่แยกขยะ
    .
    ในมหานครทั้งหลายทั่วโลก ปัญหาการจัดการของเสียในเมืองเป็นเรื่องยากมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากครัวเรือน การจัดการของเสียประเภทขยะมูลฝอยจากการใช้ชีวิตของประชาชนและธุรกิจต่างๆ ซึ่งของเสียเหล่านี้ไม่สามารถขนส่งไกลได้ เพราะอาจทำให้เกิดมลพิษ และคนอยากกำจัดให้ไวที่สุด จึงมักจะถูกจัดการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก อย่างทางกรุงเทพฯ เองก็ให้ประชาชนแยกขยะเป็นทั้งหมด 4 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และเขียนประเภทขยะบนถุง เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยก ซึ่งมาตรการนี้เป็นที่ถกเถียงกันว่าจะช่วยแก้ปัญหาขยะมูลฝอยใน กทม. ได้จริงหรือไม่
    .
    ขยะมีกี่ประเภท วงการธุรกิจจะช่วยทำให้เมืองกรีนขึ้นได้ยังไง รวมถึงเมืองที่ดีบริหารจัดการขยะยังไง และมีวิธีเก็บค่าธรรมเนียมขยะยังไงกันบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.31 ตอนนี้

  • เนื่องจากในอดีตที่ดินในกรุงเทพฯ มักถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเจ้าของที่ดินมักสร้างซอยเล็กๆ เพื่อแบ่งขายหรือปล่อยเช่าที่ดินให้คนเข้ามาอยู่อาศัย ซอยในกรุงเทพฯ จึงเป็นเหมือนพื้นที่ในการพบปะพูดคุย นัดเจอ หรือวิ่งเล่นของเด็กๆ ในชุมชน แต่เมื่อเมืองเจริญขึ้นและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซอกซอยเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นพื้นที่ทางพาณิชยกรรม เช่น ร้านค้า คาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทำให้ซอยมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายขึ้น ทั้งทางเดิน ทางรถ และพื้นที่ขายของ
    .
    ตรอกซอกซอยในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีซอยแคบและซอยตันเยอะ ลักษณะซอยแบบนี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจเมืองอย่างไร และคนเดิน คนขับรถ รวมถึงเจ้าของพื้นที่จะอยู่ร่วมกันยังไงเมื่อซอยถูกเปลี่ยนเป็นร้านค้า รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.30 ตอนนี้

  • ว่ากันว่าสังคมยุคนี้ต้องขับเคลื่อนด้วย ‘ข้อมูล’ ใครที่มี Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ละเอียดและแม่นยำ ก็จะนำมาวิเคราะห์การตลาด กำลังซื้อ เข้าใจลูกค้า ลดค่าใช้จ่าย และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้ ‘ข้อมูล‘ จึงเปรียบเสมือนหัวใจในการสร้างความได้เปรียบทั้งในเชิงธุรกิจ ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการต่างๆ ของเมือง
    .
    จาก Big Data สู่ Open Data ที่เริ่มเป็นที่พูดถึงกันในยุคนี้ หรือก็คือการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากที่เคยถูกจัดเก็บและใช้งานเฉพาะในองค์กรหรือภาครัฐได้ ข้อมูลเปิดเหล่านี้ช่วยสร้างความโปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน เพราะประชาชนมีชุดข้อมูลเดียวกัน จึงสามารถช่วยกันตรวจสอบหรือนำข้อมูลไปใช้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้ 
    .
    นอกจากนั้น ข้อมูลเปิดที่ว่านี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลมาสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันด้านการเดินทาง สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลเอง การเปิดข้อมูลเป็นสาธารณะยังทำให้นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษานำข้อมูลไปใช้ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาได้ 
    .
    ฐานข้อมูลขนาดใหญ่คืออะไร การมีข้อมูลที่เที่ยงตรงและแม่นยำดียังไง ทำไมทุกวันนี้เมืองชั้นนำถึงขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนำข้อมูลออกสู่สาธารณะ แล้วจะจัดการข้อมูลเปิดยังไงให้เอามาใช้ได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาทุกคนไปรู้จักโลกแห่งข้อมูลในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.29 ตอนนี้ 

  • หลังจากรัฐบาลประกาศแนวคิดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดนำร่อง 50 บาท/คัน เพื่อนำมาผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำให้ประเด็นนี้เรียกเสียงฮือฮาและกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่า การเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ที่ทำแล้วสามารถช่วยลดรถติดได้ในหัวเมืองใหญ่ๆ อย่าง ลอนดอน สต็อกโฮล์ม สิงคโปร์ เมื่อมานำมาทำในบ้านเราจะเหมาะสมหรือช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่?
    .
    ค่าธรรมเนียมรถติดเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ขับขี่ที่ต้องการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือแออัด โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่อย่างย่านใจกลางเมืองหรือย่านธุรกิจ เพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนในช่วงเวลาที่มีการจราจรคับคั่ง รวมถึงส่งเสริมให้ผู้คนใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากลยุทธ์นี้ช่วยลดปัญหารถติดได้จริงถึง 30% ช่วยลดมลภาวะทางอากาศและลดการเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงเมื่อเก็บเงินแล้วยังนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น รถบัส รถไฟฟ้า หรือถนนหนทางได้อีกด้วย 
    .
    ในต่างประเทศมีวิธีเก็บค่าธรรมเนียมรถติดยังไงและผลที่ได้กลับมาคืออะไร นอกจากวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดแล้ว ยังมีวิธีไหนอีกบ้างที่จะทำให้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายสามารถทำได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.28 ตอนนี้

  • อายุ 30 แล้ว มีบ้านเป็นของตัวเองหรือยัง? ค่านิยมที่ปลูกฝังพวกเรามาอย่างยาวนานว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็ควรมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันหรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความมั่นคงบางอย่าง แต่ในวันที่เศรษฐกิจโลกถดถอยและค่าแรงยังไม่ขยับไปไหน การจะมีบ้านสักหลังในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวและราคาก็ดูจะเกินเอื้อมไปสักหน่อยกับมนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงานหาเช้ากินค่ำ
    .
    ที่อยู่อาศัยราคาแพงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพฯ แต่เป็นปัญหาที่มหานครทั่วโลกกำลังประสบพบเจอ คนจำนวนมากต้องย้ายออกไปอยู่ที่ไกลจากตัวเมืองเพื่อหาที่อยู่อาศัยในราคาถูกกว่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเดินทาง การเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น และเสียเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ  รวมถึงส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากคนงานต้องย้ายออกไปและไม่สามารถสนับสนุนธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ ได้นั่นเอง
    .
    ทำไมที่อยู่อาศัยถึงราคาแพง เก็บเงินกี่ปีถึงจะซื้อบ้านในกรุงเทพฯ ได้ แล้วรัฐจะช่วยให้คนมีที่อยู่อาศัยได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ‘ตายแล้วไปไหน?’ น่าจะเป็นคำถามนามธรรมที่ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ แต่ถ้ามองในโลกความเป็นจริง ในบางศาสนาหรือความเชื่อ ถึงจะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังต้องการที่อยู่อาศัยเหมือนกับคนเป็นอย่างเราๆ
    .
    พื้นที่ในเมืองมักถูกมองว่าเป็นที่สำหรับใช้ชีวิต ทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมต่างๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งโลกหลังความตายก็อยู่เคียงคู่กับเมืองมาเสมอแค่ไม่ได้มาในรูปแบบของบ้าน แต่มาในรูปแบบของสุสาน หรือสถานที่ฝังศพหรือเก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่จะทำยังไงเมื่อที่ดินในเมืองทุกวันนี้เริ่มขาดแคลน ทำให้คนเป็นก็เริ่มหาที่อยู่ยาก ส่วนคนตายก็หาสุสานยากเช่นกัน เมืองยุคใหม่หลายๆ เมืองจึงมีแนวคิดเปลี่ยนสุสานที่เคยเป็นแนวราบ กินพื้นที่เยอะ มาเป็นสุสานบนตึกสูงที่กินพื้นที่น้อยลง แถมยังเก็บได้เยอะขึ้น
    .
    สุสานจะปรับตัวให้เข้ากับเมืองได้ยังไง ทำไมนายทุนยุคใหม่ถึงอยากลงทุนในการทำสุสานมากกว่าสร้างที่อยู่ให้กับคนเป็น รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ที่จริงแล้ว หนังสือราคาแพงไม่ใช่เพราะว่าขายแพง แต่ต้นทุนการทำหนังสือสวนทางกับรายได้ในบ้านเราที่ยังไม่ขยับไปไหน การมีอยู่ของห้องสมุดสาธารณะทุกคนเข้ามาใช้งานได้ฟรี จึงสำคัญมาก เพราะนี่คือหนึ่งในที่ที่ทำให้ทุกคนยังเข้าถึงหนังสือดีๆ หนังสือที่ตรงกับความชอบ หรือหนังสือที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม

    ทุกวันนี้ห้องสมุดสาธารณะปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยมากขึ้น ทั้งมานั่งทำงานแบบเป็นกลุ่มได้ เอาข้าวน้ำขนมมานั่งกินได้ เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ เรียกว่าห้องสมุดเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนเมืองได้นำความรู้มาพัฒนาเมืองต่อไป เพราะการอ่านเป็นรากฐานสำคัญของทุกๆ เรื่องนั่นเอง

    ห้องสมุดมีความเป็นมายังไง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.25 ตอนนี้ 

  • เราคุ้นเคยกับชั่วโมงการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดกลมๆ แล้ว เราทำงานราวๆ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่แนวคิดทำงาน 4 วัน คืออาจปรับลดชั่วโมงการทำงานได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทหรือองค์กร เช่น จากเดิมทำงาน 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง อาจปรับเป็น 4 วัน วันละ 8 ชั่วโมง แต่ลดชั่วโมงการทำงานลงเป็น 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก เพราะช่วยให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หรือถ้าเดิมทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน อาจปรับเป็นทำงานวันละ 6-7 ชั่วโมง ใน 4 วัน เพื่อให้ชั่วโมงการทำงานลดลงตามเป้าหมาย เช่น ลดเหลือ 28 หรือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

    ทำไมการทำงานแค่ 4 วัน ถึงเป็นกระแสที่กำลังมาแรง ทำไมหลายประเทศเริ่มให้คนทำงานแค่ 4 วัน แล้วทำไมบางประเทศถึงได้งาน แต่บางประเทศถึงไม่ค่อยเวิร์ก รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.24 ตอนนี้