Afleveringen

  • รู้ตัวอีกทีร้านฟาสต์ฟู้ดเจ้าดังใกล้บ้านที่เคยฝากท้องประจำก็ปิดตัวลงอย่างน่าใจหาย แต่ไม่ช้าร้านฟาสต์ฟู้ดเจ้าใหม่ก็เข้ามาเปิดแทนที่อย่างรวดเร็ว กลายเป็นวัฏจักรแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาจนชาชินในสายตาผู้บริโภคอย่างเราๆ 
    .
    อย่างไรก็ดี ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดอย่าง ‘เคเอฟซี’ กลับเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าจะสั่นคลอนแต่อย่างใด ปัจจุบันไก่ทอดสูตรผู้พันยังมีสาขาในประเทศไทยมากกว่า 1,060 สาขา กระจายตั้งแต่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปจนถึงทั่วภูมิภาคอื่นๆ ส่งผลให้เคเอฟซีเป็นแบรนด์ไก่ทอดอันดับ 1 ในไทยที่มีรายได้หลัก 3-4 พันล้านล้านบาทต่อปี
    .
    ถ้าจะขยายความยิ่งใหญ่ของเคเอฟซีมากกว่าแค่เรื่องตัวเลข คงต้องยกเรื่องของ ‘เมนู’ ที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะ ‘วิงค์แซ่บ’ รสแซ่บซี้ด ที่ดังไกลถึงขั้นกลายเป็นเมนูต้อนรับแขกเหรื่อจากต่างแดน เหมือนกรณีที่ iShow Speed ยูทูปเบอร์ชาวอเมริกันยกให้เคเอฟซีประเทศไทย เป็นเคเอฟซีที่ดีที่สุดในชีวิตที่เคยกิน 
    .
    ด้วยความป็อปปูล่าแบบฉุดไม่อยู่ รายการ bonappétit ธุรกิจรอบครัวตอนนี้ เลยขอชวนคุณผู้ฟังมาถอดกลยุทธ์ของเคเอฟซี จากความสำเร็จตลอด 4 ทศวรรษ ที่ไม่ดีมีดีแค่รสชาติ เพราะยังมีเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นไทย ช่องทางที่เข้าถึงง่ายกับทุกคน หรือแม้แต่เรื่องโซเชียลฯ สุดปั่นที่หลายคนคาดไม่ถึง 

  • เร็วๆ นี้ทางสภา กทม.เพิ่งประกาศไฟเขียวข้อบัญญัติ ‘ค่าเก็บขยะ’ ฉบับใหม่ โดยคิดค่าเก็บ 2 แบบคือ แยกขยะ คิดเดือนละ 20 บาท และเดือนละ 60 บาท สำหรับบ้านที่ไม่แยกขยะ
    .
    ในมหานครทั้งหลายทั่วโลก ปัญหาการจัดการของเสียในเมืองเป็นเรื่องยากมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากครัวเรือน การจัดการของเสียประเภทขยะมูลฝอยจากการใช้ชีวิตของประชาชนและธุรกิจต่างๆ ซึ่งของเสียเหล่านี้ไม่สามารถขนส่งไกลได้ เพราะอาจทำให้เกิดมลพิษ และคนอยากกำจัดให้ไวที่สุด จึงมักจะถูกจัดการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก อย่างทางกรุงเทพฯ เองก็ให้ประชาชนแยกขยะเป็นทั้งหมด 4 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และเขียนประเภทขยะบนถุง เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยก ซึ่งมาตรการนี้เป็นที่ถกเถียงกันว่าจะช่วยแก้ปัญหาขยะมูลฝอยใน กทม. ได้จริงหรือไม่
    .
    ขยะมีกี่ประเภท วงการธุรกิจจะช่วยทำให้เมืองกรีนขึ้นได้ยังไง รวมถึงเมืองที่ดีบริหารจัดการขยะยังไง และมีวิธีเก็บค่าธรรมเนียมขยะยังไงกันบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.31 ตอนนี้

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • เสียงกระดิ่งดังมาแต่ไกลลิบ รถเข็นคันสีเขียวค่อยๆ เข็นเข้ามาในซอยโดยลุงคนเดิม เป็นสัญญาณให้เด็กน้อยเตรียมสตางค์มาอุดหนุนไอศครีมกะทิรสหวานนัว มีเครื่องเคียงทั้งถั่วลิสง ข้าวเหนียว ถั่วแดง ฯลฯ ให้เลือกตามอัธยาศัย เพิ่มความอิ่มอร่อย ดับร้อนช่วงบ่ายกันไป
    .
    ข้างต้นน่าจะเป็น nostalgia ของเด็กยุค 90s ที่มีต่อ ‘ไผ่ทองไอสครีม’ แบรนด์ไอศครีมสไตล์โฮมเมด ซึ่งก่อตั้งโดย ‘กิมเซ้ง แซ่ซี’ ลูกหลานชาวมังกรผู้อพยพเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาเป็นลูกจ้างในโรงงานไอศครีมแห่งหนึ่ง ก่อนจะตัดสินใจลาออกเพื่อออกมาเปิดร้านขายไอศครีมเป็นของตัวเอง โดยมีสูตรเด็ดเฉพาะตัวอย่าง ‘ไอศครีมรสกะทิ’ ที่ผลิตจากกะทิเข้มข้นหอมมันถูกปากผู้บริโภค จนรู้ตัวอีกทีก็อยู่คู่คนไทยมาได้กว่า 73 ปีเแล้ว
    .
    ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย และการเข้ามาของเพื่อนบ้านที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจลักษณะเดียวกัน ทว่ารสชาติของไผ่ทองไอสครีมยังคงคุณภาพเหมือนดั่งวันแรก เพิ่มเติมคือกลยุทธ์การขายที่ปรับให้เข้าถึงง่าย จากร้านขายตั้งตู้ สู่รถเข็น ตามด้วยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างตระเวนขายตามที่ต่างๆ ล่าสุดที่เปิดเป็น ‘ไผ่ทองสเตชั่น’ มีบริการจำหน่ายทั้งแบบบูธ เดลิเวอรี่ และ truck food เสิร์ฟความอร่อยแบบถึงที่ 
    .
    ถ้าให้เล่าเองทั้งหมดอาจไม่ครบถ้วนกระบวนความ รายการ bonappétit ธุรกิจรอบครัว EP.105 เลยชวน ‘รตา ชัยผาติกุล’ ทายาทรุ่นที่ 2 ของไผ่ทองไอสครีม มาเล่าถึงเส้นทางความอร่อยของแบรนด์ไอศครีมแบรนด์นี้ตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนถึงวันที่ต้องยกระดับแบรนด์ไปอีกขั้น ไปพร้อมกับการรักษามาตรฐานเพื่อความสุขของผู้บริโภค

    #capital #capitalread #bonappétit #Phaithong #ไผ่ทองไอสครีม

  • ในบรรดาค่ายหนังต่างประเทศ เชื่อว่า A24 น่าจะเป็นค่ายที่มีแฟนคลับไม่น้อย หรือแม้ไม่ใช่แฟนคลับค่าย แต่เชื่อว่าคุณอาจเคยดูหนังจาก A24 กันไปบ้าง ไม่ว่าจะ Past Lives (2023), Everything Everywhere All at Once(2022), Midsommar (2019), Lady Bird (2017) 
    .
    ด้วยแนวทางหนังที่แปลกแตกต่าง การตลาดที่เน้นกระจายทั่วโลกออนไลน์ ไปจนถึงการทำ merchandise ให้คนตามเก็บ ถึงขนาดที่ว่าหลายคนนิยามว่า A24 คือค่ายที่ปฏิวัติวงการฮอลลีวูด และถึงแม้จะเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2012 แต่ปี 2023 A24 ก็ได้เข้าชิงออสการ์ถึง 49 ครั้ง รายการ Biztory จึงขอพาไปล้วงลึกถึงความเป็น A24 ว่าทำยังไงถึงทำหนังให้อยู่ได้ everywhere

  • ‘รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี มีรายได้ไม่แน่นอน จำเป็นต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีัจะหาอะไรมาลดหย่อนได้บ้าง’ สารพัดคำถามชวนปวดหัวที่มักเกิดขึ้นในช่วงสิ้นปีซึ่งใกล้ถึงฤดูยื่นภาษี ทำให้บางคนไม่ได้ยื่นภาษีเพราะความไม่รู้ กับอีกส่วนหนึ่งก็สงสัยว่าเงินภาษีที่เสียไป สุดท้ายถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง
    .
    จึงไม่แปลกใจว่าทำไมในปี 2566 ที่ผ่านมา จากคนไทย 70 ล้านคน ถึงมีจำนวนแรงงานในระบบเพียง 19 ล้านคน และมีผู้ยื่นแบบภาษีเพียง 10.7 ล้านคน จนเหลือผู้ที่มีรายได้สุทธิที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีเพียง 4.2 ล้านคนเท่านั้น แล้วถ้าคนไทยไม่เสียภาษีแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองของเราบ้าง
    .
    รายการ Business Summary EP.17 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและ CEO iTAX เพื่อไขทุกข้อสงสัยเรื่องภาษี ตั้งแต่การเสียภาษีระดับบุคคล ไปจนถึงการใช้ภาษีระดับประเทศ

  • เนื่องจากในอดีตที่ดินในกรุงเทพฯ มักถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเจ้าของที่ดินมักสร้างซอยเล็กๆ เพื่อแบ่งขายหรือปล่อยเช่าที่ดินให้คนเข้ามาอยู่อาศัย ซอยในกรุงเทพฯ จึงเป็นเหมือนพื้นที่ในการพบปะพูดคุย นัดเจอ หรือวิ่งเล่นของเด็กๆ ในชุมชน แต่เมื่อเมืองเจริญขึ้นและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซอกซอยเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นพื้นที่ทางพาณิชยกรรม เช่น ร้านค้า คาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทำให้ซอยมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายขึ้น ทั้งทางเดิน ทางรถ และพื้นที่ขายของ
    .
    ตรอกซอกซอยในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีซอยแคบและซอยตันเยอะ ลักษณะซอยแบบนี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจเมืองอย่างไร และคนเดิน คนขับรถ รวมถึงเจ้าของพื้นที่จะอยู่ร่วมกันยังไงเมื่อซอยถูกเปลี่ยนเป็นร้านค้า รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาไปไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.30 ตอนนี้

  • กลายเป็นมหากาพย์อิรุงตุงนังไม่ต่างจากไส้ในแซนด์วิช เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดประเด็นดราม่า ‘SUBWAY’ ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้บริโภคทั้งขาจรและขาประจำต่างพร้อมใจกันร้องเรียนคุณภาพอาหาร ตั้งแต่รสชาติขนมปังที่ไม่เหมือนเดิม สีจากกระดาษห่อเลอะติดอาหาร กระดาษห่อไม่มีโลโก้ SUBWAY หรือแม้แต่วัตถุดิบขาดแคลนผิดวิสัยร้านอาหารขวัญใจมหาชน 
    .
    ฝุ่นยังไม่ทันหายตลบทางเพจเฟซบุ๊ค SUBWAY Thailand ได้ออกมาชี้แจงถึงดราม่าดังกล่าวโดยระบุว่า จากการตรวจสอบตามข้อมูลที่ลูกค้าร้องเรียนเข้ามา พบว่าสาขาที่ใช้บริการคือสาขาที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้นจำนวน 105 สาขา ซึ่งผู้ที่ออกมาอ้างว่าตนคือผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ SUBWAY แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ก็คือบริษัท PTG Energy 
    .
    คำถามคือก่อนหน้านี้เกิดเรื่องราวอะไรขึ้น เดิมทีแฟรนไชส์ SUBWAY ใครเป็นคนนำเข้ามา ทำไมแบรนด์ระดับ Global ถึงเกิดปัญหาที่ไม่น่าเกิด ปัญหาควรจะถูกคลี่คลายไปในทิศทางใด และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองแฟรนไชส์ที่คนทำธุรกิจควรรู้มีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้ข้อชวนหาคำตอบแบบจัดเต็มได้ในรายการ Bon Appétit EP.104

  • ว่ากันว่าสังคมยุคนี้ต้องขับเคลื่อนด้วย ‘ข้อมูล’ ใครที่มี Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ละเอียดและแม่นยำ ก็จะนำมาวิเคราะห์การตลาด กำลังซื้อ เข้าใจลูกค้า ลดค่าใช้จ่าย และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้ ‘ข้อมูล‘ จึงเปรียบเสมือนหัวใจในการสร้างความได้เปรียบทั้งในเชิงธุรกิจ ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการต่างๆ ของเมือง
    .
    จาก Big Data สู่ Open Data ที่เริ่มเป็นที่พูดถึงกันในยุคนี้ หรือก็คือการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากที่เคยถูกจัดเก็บและใช้งานเฉพาะในองค์กรหรือภาครัฐได้ ข้อมูลเปิดเหล่านี้ช่วยสร้างความโปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน เพราะประชาชนมีชุดข้อมูลเดียวกัน จึงสามารถช่วยกันตรวจสอบหรือนำข้อมูลไปใช้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้ 
    .
    นอกจากนั้น ข้อมูลเปิดที่ว่านี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลมาสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันด้านการเดินทาง สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลเอง การเปิดข้อมูลเป็นสาธารณะยังทำให้นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษานำข้อมูลไปใช้ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาได้ 
    .
    ฐานข้อมูลขนาดใหญ่คืออะไร การมีข้อมูลที่เที่ยงตรงและแม่นยำดียังไง ทำไมทุกวันนี้เมืองชั้นนำถึงขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนำข้อมูลออกสู่สาธารณะ แล้วจะจัดการข้อมูลเปิดยังไงให้เอามาใช้ได้จริง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมพาทุกคนไปรู้จักโลกแห่งข้อมูลในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.29 ตอนนี้ 

  • “และผู้ที่จะได้เป็นมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ของประเทศไทยในปีนี้ก็คือ ซันจิ และ เอตะ !” 
    .
    สิ้นเสียงการตัดสินจาก 1 ใน 4 คณะกรรมการอย่าง เชฟป้อม-หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล จึงเป็นอันรู้ผลว่า ‘ซันจิ-กรรณปกร อภิบุญอำไพ’ และ ‘เอตะ-เอกตระการ เชี่ยวพัทธยากร’ สองหนุ่มน้อยวัย 11 ปี คือผู้ที่คว้าแชมป์มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 และเป็นแชมป์ร่วมครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ของรายการดังกล่าว 
    .
    สำหรับผู้ที่ติดตามรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 น่าจะทราบดีอยู่แล้ว ว่าฝีมือการทำอาหารของเชฟเด็กทั้งสองคนนี้เกินอายุไปไกล ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวหรือหวานก็ตีโจทย์ได้แตก และนำเสนอผลงานออกมาได้ประทับใจคณะกรรมการทุกอาทิตย์ ผนวกกับคาแรกเตอร์สดใส มุ่งมั่น ที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ทำเอาพ่อยกแม่ที่เฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ต่างพากันโดนตกเข้าด้อมไปตามๆ กัน
    .
    ถึงการแข่งขันจะจบลงแล้ว แต่หลายคนน่าจะอยากรู้จัก ซันจิ และ เอตะ มากกว่านี้ รายการ Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว EP.103 เลยขออาสาพาไปทำความรู้จักกับทั้งสอง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเข้าครัว เมนูที่ถนัดที่สุด วันที่ตัดสินใจสมัครลงแข่งขันมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ฯ ความฝันในอนาคตที่ยังยืนอยู่บนเส้นทางสายอาหาร และทั้งคู่มากลายเป็นเพื่อนซี้กันตอนไหน
    .
    บอกเลยว่าการันตีความน่ารัก จนต้องเผลออมยิ้มตลอดทั้งรายการ

  • สถานการณ์โควิด-19 ทำให้บางแบรนด์หายจากไป แต่อีกหลายแบรนด์ก็เฟื่องฟูอย่างมากในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ตอบโจทย์เรื่องความสบายในบ้านได้ดี และ Birkenstock รองเท้าสัญชาติเยอรมันที่มีอายุยาวนานกว่า 250 ปีก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ฉกฉวยโอกาสนั้นไว้ได้
    .
    ในช่วงโควิด-19 แบรนด์มียอดขายเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งยังมีการปล่อยสินค้าหลายคอลเลกชั่นที่ทำเอาแฟนๆ ต้องคอยตามเก็บ หรือแม้ใครไม่ใช่แฟน ก็เริ่มอยากได้อยากมีเป็นของตนเอง แต่หกาย้อนกลับไปยังขวบปีแรกของแบรนด์ Birkenstock ต้องผ่านการปรับตัวและต่อสู้หลายช่วง เพราะดีไซน์ที่ไม่โดนใจคน แม้จะใส่สบายมากแค่ไหน แถมยังมีภาพลักษณ์ที่แม้หลายคนอยากจะใส่ก็ต้องแอบใส่แค่ในห้องนอน
    .
    การทำธุรกิจแบบ Birkenstock เป็นอย่างไร การปรับตัวของแบรนด์ให้เท่าเทันยุคสมัยแต่ยังคงรากเหง้าของตนเองนั้นเป็นแบบไหน พอดแคสต์เล่าเรื่องธุรกิจอย่าง Biztory ตอนนี้จะเล่าให้ฟัง

  • หลังจากรัฐบาลประกาศแนวคิดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดนำร่อง 50 บาท/คัน เพื่อนำมาผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำให้ประเด็นนี้เรียกเสียงฮือฮาและกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่า การเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ที่ทำแล้วสามารถช่วยลดรถติดได้ในหัวเมืองใหญ่ๆ อย่าง ลอนดอน สต็อกโฮล์ม สิงคโปร์ เมื่อมานำมาทำในบ้านเราจะเหมาะสมหรือช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่?
    .
    ค่าธรรมเนียมรถติดเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ขับขี่ที่ต้องการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือแออัด โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่อย่างย่านใจกลางเมืองหรือย่านธุรกิจ เพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนในช่วงเวลาที่มีการจราจรคับคั่ง รวมถึงส่งเสริมให้ผู้คนใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากลยุทธ์นี้ช่วยลดปัญหารถติดได้จริงถึง 30% ช่วยลดมลภาวะทางอากาศและลดการเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงเมื่อเก็บเงินแล้วยังนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น รถบัส รถไฟฟ้า หรือถนนหนทางได้อีกด้วย 
    .
    ในต่างประเทศมีวิธีเก็บค่าธรรมเนียมรถติดยังไงและผลที่ได้กลับมาคืออะไร นอกจากวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดแล้ว ยังมีวิธีไหนอีกบ้างที่จะทำให้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายสามารถทำได้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.28 ตอนนี้

  • โอเด้งร้อนๆ โดนัทครีมสดเนื้อเนียน เมลอนปังกรอบนอกนุ่มใน และนานาสารพัดของทอดเสียบไม้ เหล่านี้เป็นเพียงเมนูยอดฮิตส่วนหนึ่งของ ‘LAWSON’ แบรนด์ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง ที่ถูกยกให้เป็นเพื่อนพึ่งพายามหิวของนักเดินทาง  
    .
    ด้วยเมนูสุดครีเอทไม่ว่าจะประเภทหวานหรือคาว ไหนจะเมนูสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่รังสรรค์จากวัตถุดิบชั้นดีซึ่งวางขายในช่วงเทศกาล ไปจนถึงสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไปที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นั่นทำให้ LAWSON ครองตลาดร้านสะดวกซื้อในประเทศท่องเที่ยวสำคัญๆ อย่างญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันมีเปิดให้บริการมากกว่า 14,000 สาขา  
    .
    ขณะที่ในประเทศไทยความนิยมในแบรนด์ร้านสะดวกซื้อดังกล่าวก็ไม่น้อยหน้า หลายต่อหลายครั้งบนโลกโซเชียลฯ มักมีการโพสต์แชร์เมนูเด็ดของ LAWSON ไปจนถึงกระทู้ชวนถกว่า LAWSON สาขาไหนที่มีของกินให้เลือกหลากหลายมากที่สุด 
    .
    อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่กระแสไวรัลชั่วครั้งชั่วคราว เพราะหากมองกันที่ภาพรวม LAWSON ถือเป็นร้านสะดวกซื้อในไทยเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ยืนระยะได้อย่างยาวนาน และมีสาขาเปิดรวมกันมากถึง 198 แห่ง ดังนั้นคำถามสำคัญคือกลยุทธ์ใดที่ทำให้ LAWSON ครองใจผู้บริโภคได้อยู่หมัด หาคำตอบได้จาก Bon Appétit ซีซั่น 2 EP.2

  • อายุ 30 แล้ว มีบ้านเป็นของตัวเองหรือยัง? ค่านิยมที่ปลูกฝังพวกเรามาอย่างยาวนานว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็ควรมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันหรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความมั่นคงบางอย่าง แต่ในวันที่เศรษฐกิจโลกถดถอยและค่าแรงยังไม่ขยับไปไหน การจะมีบ้านสักหลังในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวและราคาก็ดูจะเกินเอื้อมไปสักหน่อยกับมนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงานหาเช้ากินค่ำ
    .
    ที่อยู่อาศัยราคาแพงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพฯ แต่เป็นปัญหาที่มหานครทั่วโลกกำลังประสบพบเจอ คนจำนวนมากต้องย้ายออกไปอยู่ที่ไกลจากตัวเมืองเพื่อหาที่อยู่อาศัยในราคาถูกกว่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเดินทาง การเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น และเสียเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากคนงานต้องย้ายออกไปและไม่สามารถสนับสนุนธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ ได้นั่นเอง
    .
    ทำไมที่อยู่อาศัยถึงราคาแพง เก็บเงินกี่ปีถึงจะซื้อบ้านในกรุงเทพฯ ได้ แล้วรัฐจะช่วยให้คนมีที่อยู่อาศัยได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ห่างหายกันไปให้พอคิดถึง วันนี้รายการ ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ กลับมาพบกับแฟนๆ และมิตรรักนักชิมอีกครั้ง พร้อมเรื่องราวสนุกๆ และหลากเทคนิคการบริหารธุรกิจอาหารที่คัดสรรโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ Host ของเราเหมือนเช่นเคย
    .
    ซีซั่นที่ 2 นี้ ประเดิมด้วยรสชาติแซ่บซี้ดจัดจ้านกับ ‘เผ็ดเผ็ด’ ร้านอาหารอีสาน ที่แต่ละเมนู ‘เผ็ด’ และ ‘เด็ด’ สมชื่อ ไม่ว่าจะส้มตำปูปลาร้าที่น้ำปลาร้าหมักเองกับมือ ตำหลวงพระบางรสนัวใส่พริกจัดเต็ม แหนมย่างรสเด็ดที่ไปแล้วไม่กินถือว่าผิด ไปจนถึงอาหารอีสานอีกกว่าร้อยเมนูที่ผ่านการครีเอทรสชาติ และคัดสรรวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน 
    .
    ‘Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว’ ซีซั่นนี้ มณีเนตรจึงขอประเดิมด้วยการพาไปคุยถึงการครีเอทรสชาติของเผ็ดเผ็ด และค้นเคล็ดก้นครกที่ทำให้ร้านอาหารอีสานสไตล์โฮมเมดร้านนี้เติบโตแบบก้าวกระโดด จนตอนนี้มีร้านเปิดทำการถึง 8 สาขา  

  • สายบิวตี้โดยเฉพาะสายฝอ น่าจะรู้จัก Sephora นี่คือร้านมัลติแบรนด์ความงามสัญชาติฝรั่งเศส ที่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าก่อตั้งมานานกว่า 50 ปี แถมผู้บุกเบิกยังไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นชายหนุ่มนาม Dominique Mandonnaud ที่เห็นช่องว่างทางธุรกิจ
    .
    จุดเด่นที่ทำให้ Sephora ยืนหนึ่งในวงการคือการเป็นร้านมัลติแบรนด์ความงามที่ไม่ได้เน้นขายของอย่างเดียว แต่เน้นการสร้างประสบการณ์ และการออกแบบโปรแกรมสมาชิกซึ่งแม้จะไม่มีโปรลงปังถี่ๆ แบบเจ้าอื่น แต่กลับทำให้ลูกค้ากลายมาเป็น loyalty customer ได้
    .
    เคล็ดลับที่ Sephora ใช้บริหารจัดการแบรนด์คืออะไร Biztory ตอนนี้จะพาไปเปิดโต๊ะเครื่องแป้ง เปิด How to สร้างธุรกิจของแบรนด์สัญชาติฝรั่งเศสแบรนด์นี้กัน  

  • ในหนึ่งวันคุณไถโซเชียลมีเดียไปกี่ชั่วโมง และท่ามกลางคอนเทนต์ที่ดูมีครีเอเตอร์สักกี่คนที่จดจำได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่คนไทยใช้โซเชียลมีเดียถึง 50 ล้านคน ส่วนหนึ่งในนั้นมีครีเอเตอร์อยู่ถึง 3 ล้านคน และมีแนวโน้มที่ครีเอเตอร์หน้าใหม่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังมีคนดูเท่าเดิม 
    .
    คำถามที่น่าสนใจคือครีเอเตอร์แต่ละคนจะสร้างตัวตนให้โดดเด่นและแตกต่างท่ามกลางวันที่ครีเอเตอร์ล้นจอได้อย่างไร? และหากขยายภาพใหญ่กว่านั้น การที่ประเทศไทยมีครีเอเตอร์มากมายขนาดนี้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยและทำให้ค่า GDP เติบโตได้หรือไม่?
    .
    รายการ Business Summary EP.16 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล พาไปพูดคุยกับ ขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้จัดงาน iCreator Conference เพื่อคลายข้อสงสัยข้างต้น พร้อมพาไปส่องโอกาสและอนาคตของวงการครีเอเตอร์ไทย

  • ‘ตายแล้วไปไหน?’ น่าจะเป็นคำถามนามธรรมที่ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ แต่ถ้ามองในโลกความเป็นจริง ในบางศาสนาหรือความเชื่อ ถึงจะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังต้องการที่อยู่อาศัยเหมือนกับคนเป็นอย่างเราๆ
    .
    พื้นที่ในเมืองมักถูกมองว่าเป็นที่สำหรับใช้ชีวิต ทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมต่างๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งโลกหลังความตายก็อยู่เคียงคู่กับเมืองมาเสมอแค่ไม่ได้มาในรูปแบบของบ้าน แต่มาในรูปแบบของสุสาน หรือสถานที่ฝังศพหรือเก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่จะทำยังไงเมื่อที่ดินในเมืองทุกวันนี้เริ่มขาดแคลน ทำให้คนเป็นก็เริ่มหาที่อยู่ยาก ส่วนคนตายก็หาสุสานยากเช่นกัน เมืองยุคใหม่หลายๆ เมืองจึงมีแนวคิดเปลี่ยนสุสานที่เคยเป็นแนวราบ กินพื้นที่เยอะ มาเป็นสุสานบนตึกสูงที่กินพื้นที่น้อยลง แถมยังเก็บได้เยอะขึ้น
    .
    สุสานจะปรับตัวให้เข้ากับเมืองได้ยังไง ทำไมนายทุนยุคใหม่ถึงอยากลงทุนในการทำสุสานมากกว่าสร้างที่อยู่ให้กับคนเป็น รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.26 ตอนนี้ 

  • ที่จริงแล้ว หนังสือราคาแพงไม่ใช่เพราะว่าขายแพง แต่ต้นทุนการทำหนังสือสวนทางกับรายได้ในบ้านเราที่ยังไม่ขยับไปไหน การมีอยู่ของห้องสมุดสาธารณะทุกคนเข้ามาใช้งานได้ฟรี จึงสำคัญมาก เพราะนี่คือหนึ่งในที่ที่ทำให้ทุกคนยังเข้าถึงหนังสือดีๆ หนังสือที่ตรงกับความชอบ หรือหนังสือที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม

    ทุกวันนี้ห้องสมุดสาธารณะปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยมากขึ้น ทั้งมานั่งทำงานแบบเป็นกลุ่มได้ เอาข้าวน้ำขนมมานั่งกินได้ เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ เรียกว่าห้องสมุดเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนเมืองได้นำความรู้มาพัฒนาเมืองต่อไป เพราะการอ่านเป็นรากฐานสำคัญของทุกๆ เรื่องนั่นเอง

    ห้องสมุดมีความเป็นมายังไง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.25 ตอนนี้ 

  • ไม่มีช้อปหรูหรา ไม่จ้างนักกีฬาชื่อดัง แต่สินค้าดีจนคนตามหากันเพื่อให้ได้มาครอบครอง ทั้งยังได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘Lamborghini แห่งวงการวิ่งเทรล’ 

    แบรนด์ที่เรากำลังพูดถึง คือ Norda แบรนด์รองเท้าวิ่งเทรลจากแคนาดาที่ก่อตั้งโดยดีไซน์เนอร์ที่หลงรักการวิ่งเทรลเป็นชีวิตจิตใจ Norda แก้เพนพอยต์เรื่องดีไซน์และประสิทธิภาพการใช้งานได้แทบทุกข้อ และแม้ความต้องการจะสูงมากแค่ไหน แต่ Norda ก็ยังพอใจในการเป็นแบรนด์โลอลเล็กๆ 

    เบื้องหลัง Norda แบรนด์ที่เกิดจากแพสชั่นของคนรักการวิ่งจะเป็นยังไง รายการพอดแคสต์ Biztory ตอนนี้จะพาไปลงลึกกัน

  • เราคุ้นเคยกับชั่วโมงการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดกลมๆ แล้ว เราทำงานราวๆ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่แนวคิดทำงาน 4 วัน คืออาจปรับลดชั่วโมงการทำงานได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทหรือองค์กร เช่น จากเดิมทำงาน 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง อาจปรับเป็น 4 วัน วันละ 8 ชั่วโมง แต่ลดชั่วโมงการทำงานลงเป็น 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก เพราะช่วยให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หรือถ้าเดิมทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน อาจปรับเป็นทำงานวันละ 6-7 ชั่วโมง ใน 4 วัน เพื่อให้ชั่วโมงการทำงานลดลงตามเป้าหมาย เช่น ลดเหลือ 28 หรือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

    ทำไมการทำงานแค่ 4 วัน ถึงเป็นกระแสที่กำลังมาแรง ทำไมหลายประเทศเริ่มให้คนทำงานแค่ 4 วัน แล้วทำไมบางประเทศถึงได้งาน แต่บางประเทศถึงไม่ค่อยเวิร์ก รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.24 ตอนนี้