Afleveringen

  • EP49 China Internet Landscape and Digital Giants Part 44

    EP นี้จะเล่าเรื่อง Uber 优步 เริ่มบุกตลาดจีน และเข้ามาทำการแข่งขันกับ Didi Kuaidi จนสุดท้าย Uber จะสิ้นสุดอย่างไรในจีนเมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางการตลาด 市场考察 เหมือนกับหลายๆบริษัทที่จะเริ่มบุกตลาดใด ก็ต้องทำ market feasibility และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการพอดีในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 เปิดตัวสู่ตลาด อย่างเป็นทางการ โดยให้บริการในลักษณะรถบ้าน หรือ Private Carในจดหมายภายในที่เขียนถึงนักลงทุน Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2014 (หรือเกือบหนึ่งปีเต็มหลังการเข้าดำเนินงานที่จีนอย่างเต็มตัว) มีผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ Uber 1 ล้านเที่ยวต่อวันในจีน นั่นเป็นปริมาณการเดินทางต่อวันมากกว่าการใช้งานจากตลาดทั้งหมดทั่วโลกรวมกันเสียอีกนอกจาก การดำเนินงานในแต่ละวัน การจัดการกับกลการฉ้อโกงของคนขับรถ การต้องจัดการกับนโยบายท้องถิ่นใน Uber ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Didi Dache และ Kuaidi Dache สองเจ้าตลาดที่เอาง่ายๆว่า เป็นเสมือนมาเฟียสองค่ายใหญ่ Uber เติบโตอย่างไร รับมืออย่างไร และเรื่องราวจะจบแบบไหน รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 49
  • EP48 China Internet Landscape and Digital Giants Part 43

    EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ Didi Kuaidi ภายหลังการควบรวมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ว่าเป็นอย่างไร และรวมถึง การเข้ามาของ Uber ด้วยหมดช่วงความวุ่นวายของการแต่งงานแบบคลุมถุงชนแล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2015 Didi Kuaidi ก็เร่งแข่งขันกับสตาร์ทอัพรายอื่นๆอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น Yidao Yongche (易到用车) และ Uber (优步) ซึ่งก็มี Baidu เป็นนักลงทุนอีกด้วย โดยบริษัท DiDi ยังได้เพิ่ม feature เพื่อเสริมฟังก์ชันการเรียกแท็กซี่ขั้นพื้นฐานอื่นๆด้วย เช่น บริการรถพรีเมียมใหม่ ฟังก์ชั่นสำหรับผู้โดยสารที่มีความพิการ DiDi Express ซึ่งเป็นบริการเรียกรถส่วนตัว รุ่นราคาประหยัด Didi Bus เพิ่มขึ้นด้วย9 กันยายน 2015 DiDi Kuaidi (滴滴快的) รีแบรนด์เป็น DiDi Chuxing (滴滴出行) อย่างที่เราคุ้นชื่อกันในปัจจุบันเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มการขนส่งเคลื่อนที่แบบครบวงจรแบบครบวงจร และก็เปิดตัว logo ใหม่เอี่ยม จาก Logo เดิมที่เป็นรูปรถ Taxi เลย ก็เป็นอักษรตัว D สีส้ม ซึ่งเป็นสีเดิมของแบรนด์ แต่เปลี่ยนทิศทางการวางตัว D แบบคว่ำลงรายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 48
  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • EP47 China Internet Landscape and Digital Giants Part 42

    EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ การควบรวมกันระหว่าง Kuaidi Dache:KD (快的打车)and Didi Dache: DD (滴滴打车) และวิเคราะห์ถึงเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลังในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์สากล Kuaidi Dache (快的打车) ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache (滴滴打车) ที่หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุด หลายคนได้ตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมถึงเลือกที่จะควบรวมกันแทนที่จะแข่งกันต่อไป ก็มีหลายเสียงจากนักวิเคราะห์ในวงการออกมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลว่า อาทิ นักลงทุนรายใหญ่อย่าง Alibaba, Tencent เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจนี้ หรือ ทั้งคู่กำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านการแข่งขันที่รุนแรงเกินไป หรือเป็นเพราะ Tencent และ Alibabaบรรลุเป้าหมายหลักแล้ว คือการแนะนำให้รู้จักกับ WeChat Pay และ Alipay Wallet แก่ผู้ใช้งานอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ใช้งานเพื่อการชำระเงินก็เพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย ผลิตภัณฑ์APPเรียกแท็กซี่จึงเป็นผลพลอยได้เท่านั้น ดังนั้นหากการแข่งขันด้านการชำระเงินค่อยๆ เปลี่ยนทิศทางไป บทบาทของซอฟต์แวร์เรียกแท็กซี่ก็จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเช่นเดียวกันค่ะรายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 47
  • EP46 China Internet Landscape and Digital Giants Part 41

    Didi มีชื่อเดิมว่า Didi Dache 嘀嘀打车โดยคำว่า 嘀嘀แปลว่า Beep BeepDiDi Taxi เป็น application เรียกรถที่พัฒนาโดยบริษัท Xiaoju Technology Co Ltd. ในกรุงปักกิ่ง โดยนาย Cheng Wei 程维Chéng wéi แอปพลิเคชั่น DiDi Taxi ออกสู่ตลาดในเดือน กันยายน 2012 Didi และ Kuaidi ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน Tencent Holdings Ltd และ Alibaba Group Holding Ltd ตามลำดับ ทั้งสองต่างติดอยู่ในสงครามราคา สงครามเงินอุดหนุน การเผาเงินที่แข่งขันกันอย่างดุเดือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากแต่ละฝ่ายพยายามที่จะเจาะตลาดจีนขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ ไม่ดีต่อนักลงทุนสักฝ่ายสำหรับทั้งสองบริษัท เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดจากข้อมูลล่าสุดในปีนั้น DiDi กินส่วนแบ่งประมาณ 55% ของตลาดจีน ส่วน Kuaidi ควบคุมส่วนที่เหลืออีกเกือบ 45% รายอื่นๆรวมกันก็แทบไม่ถึง 1%และสุดท้ายก็มาถึงเวลาที่สำคัญที่สุดในวงการ Ride-Hailing ของจีนคือ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ตรงกับวันวาเลนไทน์ Kuaidi Dache ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุดรายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 46
  • EP45 China Internet Landscape and Digital Giants Part 40

    เมื่อพูดถึงบริษัทเรียกรถหรือ ride-hailing หลาย ๆ คนคงได้ยินชื่อหรือรู้จัก Didi 滴滴 หรือชื่อเต็มๆว่า 滴滴出行 Didi Chuxing บริษัทเทคโนโลยีเรียกรถที่ใหญ่อันหนึ่งในจีนชื่อเดิมของ Didi Cuxing 滴滴出行คือ 嘀嘀打车 Didi Dache ที่ภายหลังได้รวมตัวกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง快的打车Kuaidi Dache จนสุดท้ายก็ได้กลายเป็น 滴滴出行ต้องบอกว่า เรื่องราวของ Didi ก่อนจะมีวันนี้ได้ไม่ธรรมดาเพราะต้องผ่านการต่อสู้ฟาดฟันทั้งกับบริษัทคู่แข่งสัญชาติต่างชาติอย่าง Uber และคู่แข่งจากสัญชาติเดียวกัน จนนำมาสู่การควบรวม ถือเป็น case study ที่สนุกมาก ดังนั้น EP นี้ จะเริ่มเล่าเรื่องจาก 快的打车 Kuaidi Dache (KD) รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 45
  • EP44 China Internet Landscape and Digital Giants Part 39

    Bytedance (字节跳动) ก่อตั้งขึ้นโดยนาย Zhang Yiming 张一鸣 ในเดือนมีนาคมปี 2012 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายแรก ๆ ในยุคนั้น ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสานเข้ากับ Mobile Internet Zhang Yiming เริ่มศึกษาด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์(microelectronics) ในปี 2001 ก่อนที่จะเปลี่ยนสาขาวิชาเอกเป็นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสำเร็จการศึกษาในปี 2005 จากมหาวิทยาลัย Nankai 南开大学 เมืองเทียนจิน หลังจากจบการศึกษา Zhang Yiming ก็ได้เริ่มงานในสตาร์ทอัพชื่อว่า 酷讯(Kuxun) ที่แห่งนี้ได้ช่วยให้เขาได้เรียนรู้ทักษะอันมีค่าซึ่งได้สร้างรากฐานให้กับบริษัทของเขาเองในอนาคตวิสัยทัศน์ของเขาที่มีต่อบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในจีนเช่นเดียวกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เขาวางแผนที่จะขยายบริษัทไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นค่านักกับวิสัยทัศน์นี้ แม้จะมีความพยายามหลายครั้ง แต่เขาล้มเหลวในการหาทุนจนกระทั่ง SIG เห็นศักยภาพของโครงการและเริ่มลงทุนใน series A ช่วงเดือน July 2012 ด้วยเงินลงทุนจำนวน $1mระบบการกระจายข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent distribution of content) ให้"ผู้ใช้นับล้าน" เพื่อตอบสนองความต้องการในการอ่านของยุค Mobile Internet ที่เน้นอ่านแบบผิวเผิน users มักจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนอ่าน และการอ่านมีหน้าที่เพียงแค่เป็นการฆ่าเวลา ดังนั้น feature จะเป็นแบบ "ข้อมูลหาคน" มากกว่า คนเข้าหาข้อมูล ปี 2014 , 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง Toutiao ผู้ใช้งานแบบรายวัน (DAUs) มีสูงกว่า 13 million users แล้ว รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 44
  • EP43 China Internet Landscape and Digital Giants Part 38

    Kuaishou (HKD: 1024) ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin เพราะปัจจุบันมี Monthly Active Users ทั่วโลกรวม 769 ล้านบัญชี และคิดเป็น Daily Active Users หรือผู้ใช้งานบัญชีรายวัน 305 ล้านบัญชี แต่ละคนเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเล่นประมาณ 86 นาทีที่สำคัญความฮอตฮิตไม่ได้มีแค่ในจีนแต่ Kuaishou ยังขึ้นอันดับ 1 ในรายชื่อดาวน์โหลดสูงสุดของ Google Play และ Apple App Store ใน 8 ประเทศในปี 2020 และก็ได้ IPO ไปเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2021 โดยระดมทุนไปได้ 41.28 billion HK dollars ($5.32 billion)จนถึง มิถุนายน 2022 Kuaishou Technology ก็มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market cap) อยู่ที่ 45,040 ล้าน USDKuaishou ก่อตั้งในเดือน มีนาคม ปี 2011 ร่วมก่อตั้งโดย นาย Cheng Yixiao (程一笑) และ นาย Su Hua (宿华) ช่วงแรกของ Kuaishou ไม่ได้มีหน้าตาเป็น short-video platform อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนะคะชื่อเดิมของ Kuaishou เรียกว่า "GIF Kuaishou" เป็นแอพพลิเคชั่นเครื่องมือ (Tool工具) สำหรับสร้างและแบ่งปันภาพ GIF (Graphic Interchange Forma) แต่ตุลาคม 2013 บริษัทก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงขึ้นมาจนกลายมาเป็น Short-video platform ที่ให้users อัพโหลดวิดีโอหรือคลิปสั้นๆ แชร์สู่สังคมออนไลน์ ถือว่าเป็น pioneer ในอุตสาหกรรมวิดีโอสั้นในจีน มาก่อน Douyin (Tiktok) เลยก็ว่าได้สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ Kuaishou ใช้ Gini-Coefficient ในการควบคุมระบบนิเวศน์ในสังคมออนไลน์ของ Kuaishou เพื่อหลีกเลี่ยงช่องว่างที่มากเกินไประหว่างContent creator คนรวยกับคนจนรายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 43
  • EP42 China Internet Landscape and Digital Giants Part 37

    บริษัท Xiaomi ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2010 ที่กรุงปักกิ่ง โดยนาย Lei Jun (雷军 Léi Jūn) ในขณะที่เขามีอายุ 40 ปี พร้อมกับผู้ร่วมก่อตั้งอีก 6 รายที่มาด้วยประสบการณ์และคุณวุฒิก่อน Lei Jun ก่อตั้ง Xiaomi นั้น ในปี 1992 Lei Jun ร่วมงานกับ Kingsoft ในฐานะวิศวกรบริษัท เมื่ออายุ 22 ปี และก้าวกระโดดมาเป็น CEO ของบริษัทในปี 1998 ด้วยวัยเพียง 28 ปี เท่านั้น วันที่ 6 เมษายน 2010 กลุ่มผู้ก่อตั้งได้เริ่มสร้างตำนานการผลิตโทรศัพท์ในประวัติศาสตร์จีน พวกเขาซึ่งกำลังทาน 小米粥 โจ๊กข้าวฟ่าง ด้วยกันที่ตึกหยินกู่ จงกวนชุน และประวัติศาสตร์ก็บันทึงเรื่องราวการก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการและก็นำชื่อ Xiaomi มาตั้งเป็นชื่อบริษัทอีกด้วยXiaomi แปลตรงตัวก็คือ Millet ข้าวฟ่าง แต่เหนือกว่านั้นคือ Lei Jun ต้องการเชื่อมโยงกับหลักการของศาสนาพุทธที่ว่า "ข้าวเมล็ดเดียวยิ่งใหญ่เท่าภูเขา" สื่อว่า Xiaomi ต้องการทำงานจากสิ่งเล็กน้อย แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการดิ้นรนเพื่อความสมบูรณ์แบบ ชื่อ MI ยังบ่งบอกถึงความตั้งใจในการเป็นบริษัท internet เพราะ "mi" (米) เป็นตัวย่อสำหรับ Mobile Internet และ Mission Impossible ซึ่งหมายถึงอุปสรรคที่พบในการเริ่มต้นบริษัทบริการด้านอินเตอร์เน็ตเป็นภาคส่วนที่Xiaomi ให้ความสนใจ และยังย้ำว่า Xiaomi เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีสมาร์ทโฟนและฮาร์ดแวร์อัจฉริยะเชื่อมต่อกันด้วยแพลตฟอร์ม IoT เป็นแกนหลัก หลายคนอาจจะแย้งว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจาก smartphone และ gadgets จะเป็นบริษัท internet ได้อย่างไร แต่Xiaomiก็โต้กลับว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GP) สำหรับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ ในปี 2019 อยู่ที่ 7.2% และ 11.2% ตามลำดับเท่านั้น ในขณะเดียวกัน บริการอินเทอร์เน็ตมีอัตรากำไร 64.7%รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 42
  • EP41 China Internet Landscape and Digital Giants Part 36

    · แพลตฟอร์ม Bilibili นี้ก่อตั้งโดยนาย Xu Yi( 徐逸 Xú Yì สู อี้) ผู้เป็นแฟนการ์ตูนแอนิเมชันตัวยงโดยเฉพาะ Hatsune Miku ฮัตสึเนะ มิกุ (การ์ตูนนักร้องหญิงในโปรแกรมสังเคราะห์เสียงร้องเพลงชื่อดังใน Vocaloid 2)· ในสมัยนั้นมี platform วิดีโอที่เป็น bullet comment ที่รายแรกของจีนที่เป็นแหล่งรวมของการ์ตูนแอนิเมชั่นต่างๆ ชื่อว่า Acfun (ที่เป็นชื่อย่อของ Anime, Comics and Fun) 爱稀饭网Ài xīfàn wǎng หรือสมาชิกจะเรียกกันว่า A 站 ( A Site หรือ สถานที A) ที่ก่อตั้งมาในปี 2006 แต่ด้วยความที่ AcFun มีปัญหาทางเทคนิค เซอร์เวอร์ล่มอยู่บ่อยครั้ง นาย Xu Yi ซึ่งเป็น user ตัวยงอยู่แล้ว ก็รู้สึกหงุดหงิดใจมากเลยตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอ bullet comment ที่ดีกว่า A-Site ด้วยตัวเองเสียเลย โดยตั้งชื่อว่า mikufans ในวันที่ 26 มิถุนายน 2009 ในขณะที่นาย Xu มีเพียงอายุแค่ 20 ปีเท่านั้น! · แพลตฟอร์มก็พัฒนาและวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกันยายน 2011 นาย Xu Yi ก็สร้าง Startup ใช้ชื่อว่า Hangzhou Huandian Technology 杭州幻电科技有限公司 ขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่มีฟีเจอร์เป็น bullet comment อันเป็นเอกลักษณ์นี้อย่างจริงจัง· รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ ใน EP 41

  • EP40 China Internet Landscape and Digital Giants Part 35

    • 12 มีนาคม 2012 เป็นเวลาที่สำคัญสำหรับวงการแพลตฟอร์มวิดีโอ เมื่ออดีตคู่ปรับ Youku และ Tudou ได้บรรลุข้อตกลงในการควบรวมกิจการ โดยมีชื่อนิติบุคคลใหม่นี้มีชื่อว่า Youku Tudou Inc. และการควบรวมนี้ก็ได้สร้างเว็บไซต์แพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเลยในยุคนั้นไปโดยปริยาย

    • เมื่อสองกลายเป็นหนึ่ง ในปี 2014 YouKu Tudou มี Active users มากกว่า 500 ล้านบัญชี และมีการรับชมในแต่ละวันมากกว่า 800 ล้าน views

    • ไตรมาสที่3 ปี 2014 Youku Tudou เป็นเจ้าตลาด ครอง Market Share ไปได้ถึง 22.82% แซง iQiyi ที่ครองอันดับสองคือ 19.07% และ Sohu TV 11.87% Tencent TV 10.67%

    • อันดับหนึ่งกับอันดับสองสูสีกันอย่างมาก ดังนั้นการครองตลาดของ Youku Tudou ในจีนเริ่มที่จะสั่นคลอนโดยการท้าทายจาก iQiyi ของ Baidu โดยเห็นชัดมากยิ่งขึ้นปีต่อมา

    • พฤษภาคม 2014 อาลีบาบาและกองทุน Yunfeng (云峰) เข้าซื้อหุ้นสามัญคลาส A (Class A ordinary shares) ของ Youku Tudou จำนวน 721 ล้านหุ้นเป็นมูลค่า 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน Youku Tudou โดยอาลีบาบาถือหุ้น 16.5% (ลงไปประมาณ 1,100 ล้าน USD)และกองทุนหยุนเฟิงถือหุ้น 2% (ลงไป 132 ล้าน USD) รวมทั้งสิ้น 18.5%

    • 6 พฤศจิกายน 2015 อาลีบาบากรุ๊ปได้เข้าซื้อกิจการ Youku Tudou Group ทั้งหมด และกลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของอาลีบาบาในที่สุด

    • ในท้ายที่สุดอุตสาหกรรม online video media and entertainment จีนในยุคนี้ก็เห็นความชัดเจนมากขึ้นว่าถูกขับเคลื่อนจากสามค่ายยักษ์ใหญ่อย่างTencent, Alibaba, Baidu นั่นเอง

    • รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 40

  • EP39 China Internet Landscape and Digital Giants Part 34

    นาย Zhou Hong Yi 周鸿祎 ก่อตั้งตั้งบริษัท Qihoo 360พัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ antivirus และ antimalwareในปี 2005 ด้วยเหตุผลที่ตลาดนี้ยังเป็นตลาดน่านน้ำสีครามอย่างแท้จริง เพราะเป็นธุรกิจที่ประเทศจีนต้องการมากๆๆ ในยุคนั้นแต่ไม่มีผู้ตอบสนองหรือให้บริการหรือน้อยมากๆเลยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอินเตอร์เน็ตที่บุกเบิกเยอะกว่าในด้าน social media, eCommerce หรือ search engine เป็นต้นในต้นปี 2011 มีผู้ใช้งานเคลื่อนไหวถึง 339 ล้านบัญชี คิดเป็น 85.8% ของ Internet Users ในประเทศจีน (จากข้อมูลของ iResearch) ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ 360Safeguard หรือ security อื่นๆที่พัฒนาโดย Qihoo การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในแง่จำนวนผู้ใช้นี้บ่งชี้ถึงความสำคัญและจำเป็นของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อีกทั้งQihooได้เปรียบเพราะเป็นเจ้าแรกๆ ที่ลุยตลาดนี้ เพราะค้นพบpain point และมองไปไกลถึง internet security มีความสำคัญยิ่งยวดต่อผลประโยชน์ของประเทศเพราะการที่เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในโลกออนไลน์อันเป็นพื้นฐานของการใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบรอบด้านอีกทั้ง ใช้งานฟรีค่ะ ไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ผู้ใช้งานเล่นอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยหายห่วง จึงส่งผลให้มี userbase ที่ใหญ่และยึดถือใช้แบรนด์นี้มาตลอด ซึ่งหลังจากนั้นก็ monetiseหรือทำรายได้ผ่านวิธีการอื่นๆ เช่น online advertisingและบริการเสริม (Internet value-added services) แทนจนถึงเดือนสิงหาคม 2012, Qihoo 360 ที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็น antivirus software เจ้าใหญ่ในจีนก็กระโดดเข้ามาในวงการ Search Engine จนกระทั่งจากรายงานส่วนแบ่งการตลาดของ China Internet Watch ในเดือนสิงหาคมปี 2014 พบว่า Qihoo เริ่มสั่นสะเทือนบัลลังก์ของ Baidu มีส่วนแบ่งการตลาดเมื่อนับจากยอด Unique Visitors เป็นอันดับสองในจีน อยู่ที่28.24%รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 39
  • EP38 China Internet Landscape and Digital Giants Part 33

    จากสถิติพบว่าในช่วง 3ปี ระหว่างปี 2013 ถึง 2015 Meituan มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจหลายแขนง มากกว่าสิบประเภท ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ การรับประทานอาหารนอกบ้าน การจัดเลี้ยง โรงแรม ตั๋วสถานที่ท่องเที่ยว ครอบครัว งานแต่งงาน และอีคอมเมิร์ซ และช่วงที่ธุรกิจ O2O เติบโตอย่างคาดไม่ถึง แม้แต่การให้บริการแบบ door-to-door เช่น ทำเล็บ ทำความสะอาด บริการช่างเปิดประตู ล้างและดูแลรถยนต์ ก็ถูกจัดหมวดหมู่ไว้ในนี้คู่แข่งก็ขยายตัวเช่นกัน Alibaba ก็วางแผนที่จะชุบชีวิต Koubei.com ด้วยเงิน 6 พันล้านหยวน และไป่ตู้ประกาศว่าจะใช้เงิน 2 หมื่นล้านหยวน ในอีก 3 ปีข้างหน้าเพื่อท้าทายตำแหน่งทางการตลาดของ Meituanภายในกลางปี 2015 Meituan ก็ประกาศอีกครั้งว่า ปริมาณธุรกรรม ในครึ่งปีแรกของ 2015 อยู่ที่ 47,000ล้านหยวน ซึ่งเกินยอดปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของปี 2014 (ทั้งปี 2014 อยู่ที่ 45,000 ล้านหยวน)Meituan ต้นปี 2015 ได้ระดมทุนไป 700 mill USD Valuation บริษัทตอนนั้นอยู่ที่ 7,000 ล้าน USD ส่วนDianping เองก็ระดมทุนไป 850 ล้าน USD มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 4,050 ล้าน USD ซึ่งตอนนั้น Dianping มีMAU อยู่ที่ 190 ล้านบัญชี Meituan ก็มีประมาณ 200 ล้านบัญชี สองบริษัทก็ยังคงเป็นผู้เล่นหลักในตลาดนี้ แต่สำคัญคือ จำนวนเงินทุนที่ถูกเผาไปมากเหลือเกิน อีกทั้งมีผลประโยชน์ทับซ้อนของนักลงทุนหลักอีกด้วย สุดท้ายข่าวที่ทุกคนรอคอยคือการ Merge กันระหว่าง Meituan กับ Dianping เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2015 Meituan-Dianping ประกาศการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการ กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับบริการด้านไลฟ์สไตล์ที่ใหญ่ที่สุดในจีนหลังจากการควบรวมกิจการ โครงสร้างบุคลากรของทั้งสองฝ่ายจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และแบรนด์และธุรกิจของทั้งสองฝ่ายจะได้รับการดำเนินการอย่างอิสระ ช่วงแรกของการตั้งบริษัทใหม่จะใช้ระบบเป็น CO-CEOการตัดสินใจที่สำคัญจะทำในระดับ CO-CEO แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดในการคงระบบ CO-CEO เพราะเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ แล้วยิ่งเป็นคู่แข่งกันมาก่อนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรต่อ รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 38
  • EP37 China Internet Landscape and Digital Giants Part 32

    • Wang Xing เชื่อว่าในปีแรกของอีคอมเมิร์ซแบบดั้งเดิม (Traditional eCommerce) คือปี 1998 แต่สำหรับปี 2010 ถือเป็นปีแรกของการให้บริการอีคอมเมิร์ซของจีน (Service eCommerce) และปี 2012 จะเป็นจุดผกผันใหม่ของ Services ECommerce สำหรับ Meituan

    • 95% ของธุรกิจแพลตฟอร์มคือบริการ และเป้าหมาย Meituan คือการเป็นองค์กรอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมบริการ

    • ดังนั้น Wang Xing จึงวางกลยุทธ์รูปตัว T ( T-shaped strategy) สำหรับแผนงานในอนาคตโดยมี Group-buying อุตสาหกรรมในแนวนอน (horizontal) และแนวดิ่ง (vertical) เช่น ภาพยนตร์และโรงแรม เป็นต้น

    • Maoyan Film (猫眼电影) จึงบังเกิดในปี 2012 และถือเป็นก้าวแรกของกลยุทธ์ T-shape• ในปี 2013 ก็ได้เปิดตัว 美团酒店 (Meituan Hotel) อย่างเป็นทางการ เพราะในขณะเดียวกัน ธุรกิจ Group-buying ของโรงแรมระดับล่างและระดับกลางก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ Meituan พบว่าตลาดส่วนนี้เป็นตลาดที่ถูกละเลยโดยแพลตฟอร์ม OTA หลัก (Ctrip/Qunar)

    • Wang Xing รู้สึกว่าในปี 2013 Group buying (团购) จะไม่ได้รับความสนใจมากนัก ไม่ใช่เพราะมันไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมันเป็นเรื่องธรรมดามาก และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคตามปกติมากขึ้นเรื่อยๆ • นอกจากนี้ การเข้าใจ local needs ของ user ถึงความสะดวกสบายของการมี application แบบครบวงจร (综合应用) มากกว่าการมี application แยก (独立应用) เป็นจุดสำคัญมากในการกำเนิดเป็น SuperAppในประเทศจีน

    • ในเวลานั้นนายทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง Meituan ส่วนใหญ่เป็น Alibaba, Tencent, Sequoia, Boyu Capital เป็นต้น และนักลงทุนของ Dianping ได้แก่ Alibaba, Tencent, Sequoia, TRUST และ Capital Today

    • เมื่อมองในระดับผู้ถือหุ้นด้วยกันนั้น ทั้งสองบริษัทมีนักลงทุนผู้ถือหุ้นทับซ้อนกัน และประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันของการเผาเงินอย่างมหาศาลของ Meituan

    • ดังนั้นเหตุการณ์ต่อมาจึงเกิดขึ้น นั่นคือ การคลุมถุงชน (ควบรวมกิจการ) ระหว่าง Meituan – Dianping จนกลายมาเป็น Meituan Dianping ในปี 2015

    • รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 37

  • EP36 China Internet Landscape and Digital Giants Part 31ประวัติการพัฒนาของ Meituan (HKG: 3690) ของนายWang Xing (王兴)ในช่วงก่อตั้งคือการลอกเลียนแบบธุรกิจมาจาก Groupon ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ รูปแบบการทำกำไร การวางดีไซน์ ไปจนถึงฟังก์ชั่นภายในเว็บไซต์จนกระทั่ง 4 มีนาคม 2010 Groupon เวอร์ชั่นแดนมังกรได้กำเนิดขึ้น นี่คือการ Copy-to-China อีกครั้ง หลังจากเคยทำการ Copy-paste ไปกับธุรกิจ Duoduoyou (多多友) Youzitu (游子图) Xiaonei (小内) และ Fanfou (饭否) และล้วนล้มเหลวทั้งสิ้นผลิตภัณฑ์แรกของ Meituan ที่เปิดให้บริการในวันที่ 4 มีนาคม 2010 คือ Fanya Wine Testing Package เพคเกจนี้ดึงดูดลูกค้าได้ถึง 79 คน ปิดยอดขายไปได้ถึง 4,000 หยวน เพราะเพียงแค่คนละ 50 หยวนก็สามารถมาลิ้มลองรสชาติไวน์สุดหรูได้แล้ว ช่วงปีของการก่อตั้ง Meituan มีบริษัทคู่แข่งในตลาดGroup-buying (团购) ในจีนกว่า 5,000 รายในตลาดจีน เพราะการลอกเลียนแบบ business model ของGroup-buying website ไม่ได้ยากเลย แต่สิ่งที่ต้องมีคือ การดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง (Execution) ต่างหากในห้วงเวลานี้คู่แข่งของ Meituan มีกลยุทธ์โต้ตอบอย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือการขู่คู่แข่งให้กลัว ในข้อมูลสาธารณะแสดงให้เห็นว่า ในเดือนเมษายน 2011 นี้เองDianping (ครั้งยังเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Meituan) ได้ระดมทุนสำเร็จไปถึง $100 ล้าน ส่วน Lashou.com ก็ยังได้รับเงินรวมไปทั้งสิ้น $160 millionในการ raise fund ถึงสามครั้ง แต่ Wang Xing ก็ไม่ได้เล่นไปตามเกม ไม่ได้ลงแข่งในสงครามโฆษณาออฟไลน์ แต่มุ่งไปโฟกัสการทำการตลาดออนไลน์แทน แต่บริหารงานค่อนไปทาง conservative ดูแลกระแสเงินสดและควบคุมความเสี่ยงอย่างดีสุดท้าย Meituan จะเอาชนะคู่แข่งกว่า 5000 รายในตอนนั้นได้หรือไม่ อย่างไรรายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 36

  • EP35 China Internet Landscape and Digital Giants Part 30

    • Meituan (HKG: 3690) ก่อตั้งโดยนาย Wang Xing ถือเป็น Fu’er dai (富二代) The 2nd Generation Rich) ที่เกิดมาครอบครัวนักธุรกิจที่ร่ำรวย เกิดมารวยสบาย แต่ก็ไม่หยุดที่จะดิ้นรนเพื่อความสำเร็จของตัวเอง แต่แน่นอนคงไม่ใช่เพราะอยากทำเพื่อความร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะพื้นเพของเขาก็มีฐานะอยู่แล้ว

    • แต่การดิ้นรนของเค้า ทำให้หลายคนเรียกนาย Wang Xing ว่าเป็นนักลอกเลียนแบบ (The Cloner เพราะ startups หลายที่ที่เค้าก่อตั้งในจีนคือการ copy – paste จากผู้บุกเบิกหลายเจ้าในอเมริกาทั้งสิ้น

    • แต่การเลียนแบบรุ่นพี่ก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะสุดท้ายจุดที่ทำให้ชนะและยืนหนึ่งคือเรื่อง business model เสียมากกว่าเพราะหากจำกันได้ Alibaba group สร้าง Taobao มาหลังจาก eBay แต่ก็ปราบ eBay ในจีนได้ราบคาบ Tencent ก็ลอกไอเดียจาก ICQ แต่สุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น QQ และทำได้ดีกว่าและยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน

    • Wang Xing ใช้เวลากว่า 13 ปี นับตั้งแต่เริ่ม drop out ล้มเหลวหลายครั้งต่อหลายครั้ง การโดนครหาว่าเป็น copycat เป็นเรื่องไส้ติ่งสำหรับตัวเขาเพราะเขาใช้เวลายาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาว กว่าจะมายืนอยู่บนจุดสูงสุดของอาชีพ และกลายเป็นเจ้าของ Meituan – บริษัทให้บริการในพื้นที่ on demand services ที่ใหญ่ที่สุดในจีน

    • รายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 35

  • EP34 China Internet Landscape and Digital Giants Part 29

    เรื่องราวที่เกิดขึ้นของ Dianping ระหว่างปี 2009-2015โดยเฉพาะก่อนการควบรวมกิจการกับ Meituanปี 2009 Dianping.com ทำรายได้คิดประมาณ 10 million U.S. dollars เมื่อชัดเจนกับ revenue model มีbrand position ที่อยู่ในใจผู้บริโภคชาวจีนแล้ว เฉกเช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอื่นๆเมื่อเข้าสู่ยุค Mobile Internetก็จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองมาอยู่ในรูปแบบของApplication ที่มีทั้ง iPhone, Andriod นอกจากนี้ ก็ยังเพิ่มfeature ของ group buying (团购ถวนโก้ว) เข้ามาอีกด้วย ซึ่งสงคราม Group-buying ก็ดุเดือดสุดขีด แต่ผู้ชนะไม่ใช่ใครนอกจาก Meituanมิถุนายน 2013 Dianping ขยายบริการครอบคลุมไปกว่า300 เมืองในจีน มีร้านค้า merchants มากกว่า 4 ล้านบริษัทที่รวมกับบริการส่งอาหาร บันเทิง ไลฟ์สไตล์ต่างๆมากมาย และมากกว่านั้นมี 70 ล้าน MAUs จนไตรมาสแรกในปี 2015 Dianping มีมากกว่า users 200 MAUs มากกว่า 14Million Merchants และครอบคลุมมากกว่า 2,500 เมือง ทั้งในจีนและต่างประเทศเรื่องราวก่อนการแต่งงานกับ Meituan จะเป็นอย่างไร รายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 34
  • EP33 China Internet Landscape and Digital Giants Part 28

    • Customer value proposition หรือ คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าของ JD.com (HKG: 9618; NASDAQ: JD) คือสิ่งที่สะท้อนผ่าน Logo ที่เห็นประกอบด้วยตัวอักษร 4 ตัวคือ 多 快 好 省 more, fast, good, save เยอะ เร็ว ดี ประหยัด

    • Model หลักของ JD ตั้งแต่เริ่มต้น คือ B2C แต่การ operate คือเป็นการซื้อมาแล้วขายตรงไปยังผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือ การรับผิดชอบการขนส่งด้วยตัวเอง (Self-own logistic model) ไม่ได้ไปจ้าง 3rd party แต่พัฒนาเครือข่าย logistics ยอมลงทุนสร้างศูนย์โกดัง fulfillment, last-mile delivery ต่างจาก Alibaba ที่เน้นด้านความเป็น asset-light business model ของการเป็นเพียงแพลตฟอร์มเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขาย ในแบบ C2C/ B2C และเชื่อมผู้ขนส่งแบบ3rd party partner เท่านั้น

    • JD ค่อยๆกินส่วนแบ่งการตลาด B2C eCommerce ทั่วไป โดยJD มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 25.2% ใน 2015Q2 ขึ้นจาก 2014Q4 ที่มีเพียง 18% ส่วน Tmall ก็ลดลงจาก 61% มาอยู่ที่ 55.7%

    • ถึงแม้จะยังทิ้งห่าง ยักษ์ใหญ่อย่างค่าย Alibaba (ที่มี Taobao/Tmall) แบบไม่เห็นฝุ่น แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี เพราะทำให้ยักษ์ใหญ่มีสั่นคลอนและเป็นการเติบโตในส่วนแบ่งตลาดถึงเท่าตัวเลยทีเดียว การเข้ามาครองส่วนแบ่งการตลาดได้จากหน้าใหม่สู่หน้าหลักก็ต้องขอบคุณระบบการขนส่งที่มีคุณภาพนี้นี่เอง

    • รายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 33

  • EP32 China Internet Landscape and Digital Giants Part 27

    Jd.com ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม eCommerce ที่ได้รับอานิสงค์จากการระบาดของโรคซาร์ ที่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2002 ถึงกลางปี 2004 ทำให้ต้องผันตัวเองจากขายหน้าร้าน Physical stores ที่เค้าก่อตั้งมาในปี 1998มาสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัวในปี 2004Richard Liu พลิกวิกฤติจากโรคระบาดหนักในช่วงปี 2003 ให้เป็นโอกาส ในปลายปี2003 เขาเห็นว่ามีเพียงeCommerce ที่จะเติบโตและมองว่านี่คืออนาคต จึงตัดสินใจเปิดเป็นลักษณะแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ (Online retailer)จุดที่เขาวางกลยุทธ์ลงทุนด้าน logistics ก็ทำให้แตกต่างจาก Alibaba เนื่องจาก Alibabaหรือตอนนั้นมีแพลตฟอร์ม Taobao เป็นเพียง C2C Platform เท่านั้น แต่ JD ทำตัวเองเสมือน Online Retailer /direct sales platform sourcing from branded suppliers เพื่อสร้างความเชื่อใจและมั่นใจเรื่องสินค้าของแท้อย่างเต็มเหนี่ยว สองสิ่งนี้เป็นแกนหลักที่ทำให้เขาแตกต่างจากคู่แข่งและส่งผลให้ JD เติบโตต่อไปได้ในเวลาต่อมา อีกทั้งการเติบโตของ eCommerce ในจีน ก็ได้อานิสงค์จากmodel ที่ Richard Liu วางไว้อีกด้วยรายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 32
  • EP31 China Internet Landscape and Digital Giants Part 26

    Baidu ประกาศกร้าวว่าจะเป็นผู้บุกเบิกในด้าน Artificial Intelligence (AI) โดยในวันที่ 16 พฤษภา 2014 ไป่ตู้ได้ประกาศแต่งตั้งแม่ทัพเพื่อนำศึกสรภูมิครั้งนี้ นั่นคือ Andrew Ng เพื่อดำรงตำแหน่ง Chief Scientist ของ Baidu เขาผู้นี้ก็จะนำ Baidu Research ที่มีห้องปฏิบัติการทดลอง R&D ทั้งในปักกิ่งและSilicon Valley 3 research labs อยู่ภายใต้สถาบัน Baidu Research ได้แก่ the Silicon Valley AI Lab, the Beijing Deep Learning Lab และ the Beijing Big Data Lab.Baidu เริ่มลงทุนใน AI ก่อนคู่แข่งคนอื่น นอกจากนี้ ก็ยัง recruit top talents ในเงินเดือนที่สูงมากจากทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นปัจจัยที่ทำให้เขาได้เปรียบในการแข่งขันต่อการปฏิวัติ AI คือalgorithms computing และ data.Andrew กล่าวว่า Badu จึงเป็นบริษัทระดับโลกแค่ไม่กี่บริษัทที่สามารถเข้าถึงจำนวนข้อมูลมหาศาลขนาดนี้ได้ และตอนนี้ผู้นำ AIกำลัง shift ไปสู่ high-performance computing และ Baidu ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทของโลกที่จะสร้าง processor สำหรับ deep learningรายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 31
  • EP30 China Internet Landscape and Digital Giants Part 25

    iQIYI (Nasdaq: IQ) iQiyi เป็นแพลตฟอร์ม streaming หนังและวิดีโอชื่อดังของประเทศจีน ที่เป็นทั้ง Original content, UGC (User Generated content), partner-generated content (PGC) , แบบซื้อลิขสิทธิ์มา และในปัจจุบันก็กำลังลุยตลาดไทยอย่างหนัก ถ้านึกถึง iQiyi ก็อาจจะต้องนึกถึงNetflix ที่บ้านเราชมกัน เพียงแต่ต้องบอกว่า Netflix จะไม่มีcontent ที่เป็น UGC ดังนั้น iQiyi จึงเหมือนเอา Netflixมารวมกันกับ YouTube มีความหลากหลายเป็นมากกว่าแพลตฟอร์ม Streamingไป่ตู้เข้ามาลงทุนใน iQiyi วันที่ 2 พฤศจิกายนปี 2012 กลายเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ 100% และต่อมา iQiyi ก็เป็น subsidiaryของ Baidu3 กรกฏา 2015 iQIYI ปล่อย ซีรีย์ที่ผลิตขึ้นเอง ที่ชื่อว่า The Lost Tomb 盗墓笔记 Dàomù Bǐjì บันทึกจอมโจรแห่งสุสาน ให้กับ subscribers ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อที่สามารถรับชมต่อเนื่องได้ทั้งเรื่อง ผลปรากฏว่ามียอดจำนวนดาวโหลดและยอมจ่ายเงิน subscription จำนวนมหาศาล หลังจาก EP ปล่อยออกมา The Lost Tomb มีคนดูแล้วว่า 1000 ล้านครั้งทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ iQIYI สิ้นสุดยุคนี้คือปี 2015 สามารถแซงโด่งไปอยู่ที่ 63.1% ตามด้วยYoukuTudou34.7% แล้วตามมาด้วย Tencent Video 31.5% ค่ะรายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ใน EP 30