Afleveringen

  • ประเด็นการเมืองซึ่งได้รับความสนใจที่สุดในตอนนี้หนีไม่พ้นคดียุบพรรคก้าวไกลที่ถูกยื่นเรื่องล้มล้างการปกครอง

    ที่มาของการสร้างกลไกยุบพรรคมาจากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ (militant democracy) คือแนวคิดการติดเครื่องมือให้ประชาธิปไตยต่อสู้กับภัยคุกคามที่จะมาล้มล้างระบอบได้

    แต่ที่ผ่านมาการยุบพรรคในไทยถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย มีข้อวิจารณ์จำนวนมากว่าเป็นกลไกที่ใช้ทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจ

    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงคุยกันเรื่องการยุบพรรคการเมืองในฐานะกลไกของระบอบประชาธิปไตยและการกลายพันธุ์ของการปรับใช้ในบริบทประเทศไทย มีปัจจัยใดบ้างที่เปลี่ยนจุดมุ่งหมายของการมีกลไกยุบพรรคในระบอบประชาธิปไตย จากเครื่องมือปกป้องประชาธิปไตย กลายเป็นเครื่องมือทำลายประชาธิปไตยเสียเอง

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world



    อ่านเพิ่มเติม

    - มาตรฐานแบบใดในคดีรัฐธรรมนูญ
    https://www.the101.world/inconsistent-standard-of-judgement/

    - ยุบพรรค ยุบนิติธรรม ยุบประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/party-dissolution-and-democracy/

    - Same Same But Different: รัฐธรรมนูญเยอรมันและการกลายพันธุ์ในรัฐธรรมนูญไทย กับ ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
    https://www.the101.world/poonthep-sirinupong-interview/

  • การเมืองไทยแบบเฉพาะหน้ากำลังเข้มข้นทุกขณะ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา 3 คดีสำคัญทางการเมือง - ยุบพรรคก้าวไกล, ถอดถอนนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน, การวินิจฉัยที่มาของ สว. - ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 พร้อมกันกับฉากการเมืองนอกศาลรัฐธรรมนูญมาถึงบทสำคัญ เมื่อ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มีกำหนดต้องไปมอบตัวสู้คดี ม.112
    .
    การเมืองไทยแบบระยะยาวก็น่าสนใจ เมื่อ ‘นายใหญ่’ ประกาศชวนคนเสื้อแดงกลับมาอยู่ด้วยกัน ส่งสัญญาณชัดเจนครั้งแรกหลังตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว ท่ามกลางคำถามว่า พลังทางการเมืองของทักษิณและคนเสื้อแดงจะยังคงทรงอิทธิฤทธิ์หรือไม่
    .
    และถึงที่สุดแล้วเศรษฐกิจการเมืองไทยต้องเอายังไงต่อ
    .
    .
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ 101 อ่านความเคลื่อนไหวการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพื่อเห็นเบื้องลึกเบื้องหลังที่สะท้อนภาพใหญ่เศรษฐกิจการเมือง
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง | สมคิด พุทธศรี

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • ท่ามกลางบรรยากาศเฉลิมฉลองใต้ธงสายรุ้งใน 'เดือนไพรด์' (Pride Month) เยาวชน LGBTQ+ ไทยยังต้องเผชิญ 'ความเจ็บปวด' จากการถูกละเมิดสิทธิ เลือกปฏิบัติ และไม่ได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศสภาพจากสังคมอย่างกว้างขวาง 101 PUB ชวนสำรวจว่า พวกเขาต้องเผชิญปัญหาอย่างไรในชีวิต จากข้อมูลผลสำรวจเยาวชนสองหมื่นคนทั่วประเทศ ในรายการ Policy What!
    .
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!
    .
    ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ
    วรดร เลิศรัตน์ นักวิจัย 101 PUB

  • เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว พวกเราทุกคนก็ก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน ซึ่งถือว่าเป็นเดือน Pride Month หรือเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอีกครั้ง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเริ่มเห็นภาครัฐและภาคเอกชนต่างออกมาร่วมเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศไปด้วยกัน แต่ในอีกด้านก็มีหลายฝ่ายที่ตั้งคำถามว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้สนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสำรวจแนวคิด ‘rainbow washing’ หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีการนำสีรุ้งมาใช้ในการโฆษณา พร้อมร่วมหาคำตอบว่ากลุ่มธุรกิจต้องสนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างไรไม่ให้กลายเป็นเพียงการตลาดสีรุ้ง
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และ ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    Rainbow Washing การตลาดตบตาบนผืนผ้าสีรุ้ง
    https://www.the101.world/rainbow-washing/
    .
    Pride of 2024 : ยิ่งหลากหลาย ยิ่งทำกำไร!
    https://www.the101.world/pride-diversity-profitability/

  • หนึ่งในฝันใหญ่ของประชาธิปไตยไทย คือการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งพรรคการเมืองแทบทุกพรรคต่างหยิบประเด็นนี้มาเป็นนโยบายหาเสียง แต่เอาเข้าจริงฝันนี้กลับไม่ง่าย เมื่อรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เลือกประนีประนอมกับอำนาจ

    เจาะลึกสถานการณ์และความเป็นไป(ไม่)ได้ของการปฏิรูปกองทัพภายใต้การเมืองปัจจุบัน ใน “ค.การเมือง” รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสานามข่าวมาหลายทศวรรษ

    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world

    ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เวลาสองทุ่มตรง ทาง 101 ทุกแพลตฟอร์ม
    #ปฏิรูปกองทัพ #การเมืองไทย #คอการเมือง

  • ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือแนว ‘ฮาวทู’ (how to) หรือ Self-Help Books ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่านเป็นอย่างสูง เห็นได้จากยอดขายที่ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างต่อเนื่องและกระแสการพูดถึงในโลกออนไลน์ ความเฟื่องฟูของหนังสือฮาวทูเหล่านี้กำลังสะท้อนความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในสังคม

    ท่ามกลางยุคสมัยแห่งความอ่อนล้าและการแสวงหาที่พึ่ง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมองวิวัฒนาการ ‘หนังสือฮาวทู’ ที่กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด หาคำตอบว่าหนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้จริงหรือไม่ พร้อมสำรวจเทรนด์แห่งยุคสมัยที่ ‘แมว’ ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือในฐานะผู้ให้บทเรียนในการใช้ชีวิต

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world



    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    หนังสือ ‘ฮาวทู’ มีประโยชน์จริงหรือ?
    https://www.the101.world/self-help-books/

    เมื่อเหมียวบุกชั้นหนังสือ: สำรวจ ‘แมว’ ในฐานะความรู้สึกแห่งยุคสมัย ที่คนกลายเป็น ‘ทาสแมว’
    https://www.the101.world/cat-books/

  • ทักษิณ 112 : ถอดรหัสการเมืองเรื่องดีล
    ปรากฏการณ์ 40 สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการสั่งฟ้อง ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ตามมาตรา 112 โดยอัยการสูงสุด กำลังนำสังคมไทยไปสู่ ‘ความไม่แน่นอน’
    .
    ท่ามกลางความวุ่นวายเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น คำถามมีอยู่ว่า เราควรทำความเข้าใจการเมืองไทยปัจจุบันอย่างไร ดีลการเมืองมีความหมายแค่ไหน และตรรกะของอำนาจที่ขับเคลื่อนการเมืองไทยเป็นแบบใด
    .
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ 101 อ่านความเคลื่อนไหวการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพื่อเห็นเบื้องลึกเบื้องหลังที่สะท้อนภาพใหญ่เศรษฐกิจการเมือง
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | สิริพรรณ นกสวน สวัสดี | สมคิด พุทธศรี

  • กากแคดเมียมกลางกรุงเทพ ไฟไหม้โรงงานสารเคมี และอีกหลายข่าวมลพิษอุตสาหกรรมที่มีให้เห็นบ่อยครั้ง ชวนให้ต้องตั้งคำถามว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ที่ใช้กันอยู่ในไทยนั้นมีกลไกการทำงานอย่างไร ควบคุมผลกระทบได้จริงไหม หรือเป็นเพียงเสือกระดาษของวงการสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรจึงจะอุดรูรั่วสารเคมีได้จริง ติดตามใน Policy What!
    .
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!
    .
    ดำเนินรายการโดย
    อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล กองบรรณาธิการ The101.world และ
    สรัช สินธุประมา นักวิจัย 101 PUB
    .
    ติดตามรายการได้ที่
    Youtube:
    .
    spotify:
    .
    Soundcloud:
    .
    อ่านเพิ่มเติม
    EIA เสือกระดาษวงการสิ่งแวดล้อม?
    https://101pub.org/tanloke-33-environmental-impact-assessment/

  • ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงในทุกวัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การทำ ‘ข่าวต่างประเทศ’ ย่อมต้องพบกับความท้าทายในทุกวันเช่นกัน
    .
    สังคมไทยเห็นสื่อมวลชนคนหนึ่งอยู่บนหน้าจอโทรทัศน์มาเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี อย่าง ‘ณัฏฐา โกมลวาทิน’ ผู้ที่คร่ำหวอดในฐานะผู้ประกาศข่าวของ Thai PBS ที่พาผู้ชมติดตามข่าวสารรอบโลกรายวัน เธอเคยเล่าว่าการทำงานในสื่อสาธารณะอย่าง Thai PBS นั้นเป็นเหมือน “ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ เติบโต ปรับตัว ปรับใจ และที่สำคัญที่สุดคือปรับความคิดตัวเอง” จนกระทั่งปี 2567 เธอตัดสินใจเดินออกมาจากสื่อโทรทัศน์ และก้าวสู่ตำแหน่งบริหารของสื่อออนไลน์อย่าง THE STANDARD ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายข่าว
    .
    นับเป็นโอกาสอันดีที่จะชวนเธอมานั่งพูดคุยถึงประสบการณ์การทำงานสื่อที่ผ่านมา ตั้งแต่ The Nation มาจนถึง THE STANDARD อีกทั้งครั้งหนึ่งเธอยังเคยร่วมงานกับสื่อระดับโลกอย่าง BBC อะไรคือบทเรียนชีวิตและการทำงานที่เธอได้รับ และเธอมองความสนใจของสังคมต่อ ‘ข่าวต่างประเทศ’ อย่างไร ติดตามฟังเรื่องราวได้ที่ PRESSCAST
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา

  • 22 พฤษภาคม 2557 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศรัฐประหารเวลา 16.30 น.

    ในวาระครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร ชวนสำรวจภาพใหญ่ของการยึดอำนาจที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมืองการปกครองทั้งองคาพยพ ทั้งในแง่สถาบันหลัก, การแต่งตั้ง สว. 250 รายที่มีสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี, การถือกำเนิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ 2560, การผูกขาดของระบบทุนกับเศรษฐกิจ ตลอดจนบาดแผลของผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบจากรัฐประหาร

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังพินิจพิเคราะห์บาดแผลและมรดกตลอดสิบปีที่ผ่านมาของการรัฐประหารโดย คสช. ไปด้วยกัน

  • การรัฐประหาร 2557 คือการพยายามสถาปนาระเบียบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ของชนชั้นนำไทย ซึ่งระเบียบการเมืองนี้ยังคงกำกับการเมืองไทยอย่างเข้มข้น
    .
    การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องการเข้าใจวาระและโครงการทางการเมืองของ คสช. รวมถึงเครือข่ายชนชั้นนำ พร้อมประเมินว่าพวกเขาบรรลุสิ่งที่ต้องการหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร
    .
    ร่วมทบทวน 10 ปีรัฐประหาร 2557 ใน “ค.การเมือง” รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เวลาสองทุ่มตรง ทาง 101 ทุกแพลตฟอร์ม

  • ในบรรดารัฐประหารทั้งหมด 13 ครั้ง ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐประหาร 2557 เป็นหนึ่งในรัฐประหารที่สร้างผลสะเทือนต่อระเบียบการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อย่างรุนแรง ลึกซึ้ง และแหลมคมมากที่สุด และผลสะเทือนนั้นยังคงมีส่วนกำหนดความเป็นไปของการเมืองไทยในปัจจุบันอย่างสำคัญ
    .
    การทบทวนทำความเข้าใจมรดกของรัฐประหารจึงมีความสำคัญ ในวันที่คำถามว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยและการสร้างระเบียบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ (ในรัฐบาลข้ามขั้ว) กำลังกลายเป็นคำถามแห่งยุคสมัย
    .
    101 ชวนทำความเข้าใจ ‘รัฐประหาร 2557’ อีกครั้ง - 10 ปี ผ่านไป เราเข้าใจและเห็นอะไรบ้าง และถึงที่สุดแล้ว เราควรมองรัฐประหาร 2557 ในบริบทประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยภาพใหญ่อย่างไร
    .
    ร่วมพูดคุยกับ
    - รศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    - ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
    - รศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    ดำเนินรายการโดย อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล กองบรรณาธิการ The101.world

  • หลังจากที่ สว. ชุดเก่าหมดวาระลงไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่กระบวนการเลือก สว. ชุดใหม่ โดยมีกำหนดเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม ก่อนจะไปสู่กระบวนการเลือกในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ในช่วงเดือนมิถุนายน
    .
    เพื่อต้อนรับเทศกาลการเลือก สว. ชุดใหม่ 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมาคุยว่าถึงแนวคิด-ข้อถกเถียงต่างๆ ว่าด้วย สว. โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เราเลือก(ตั้ง) สว. กันไปทำไม และ สว. ยังจำเป็นต้องมีอยู่ไหมสำหรับประเทศไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    เลือก(ตั้ง) ส.ว. ไปทำไม?
    https://www.the101.world/senator-nuttakorn/
    .
    หาคำตอบ ‘ส.ว. มีไว้ทำไม?’ กับปุรวิชญ์ วัฒนสุข เมื่อวุฒิสภาเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/purawich-watanasukh-interview/

  • การเสียชีวิตของ ‘บุ้ง’ - เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมทางการเมืองระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำสร้างคำถามใหญ่ต่อกระบวนการยุติธรรมไทยทั้งระบบ รวมไปถึงพรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ฝ่ายการเมืองควรต้องออกมามีบทบาทในคดีความทางเมืองมากกว่านี้
    .
    อันที่จริง ความล่าช้าในการขับเคลื่อนประเด็นการเมืองอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งการนิรโทษกรรมและการแก้รัฐธรรมนูญก็ทำให้คนตั้งข้อกังขาอยู่แล้วว่า รัฐบาลตั้งใจขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้มากแค่ไหน หนักไปกว่านั้นคือการตั้งคำถามว่า หรือจริงๆ แล้วพรรคเพื่อไทยไม่มีโปรเจคทางการเมือง?
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ 101 อ่านความเคลื่อนไหวการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพื่อเห็นเบื้องลึกเบื้องหลังที่สะท้อนภาพใหญ่เศรษฐกิจการเมือง
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง | สมคิด พุทธศรี

  • หลังรัฐบาลเตรียมนำข้าวจากโครงการจำนำข้าวออกขาย นโยบายนี้ก็กลับมาเป็นที่สนใจ-ถกเถียงของสังคมอีกครั้ง โฟกัสไปตกอยู่กับเรื่องข้าวเน่า-ขาดทุน-ทุจริต (?) แต่ที่จริง จำนำข้าวและเงินอุดหนุนเกษตรกรแบบเดิมๆ มีปัญหาใหญ่และสำคัญมากกว่านั้น

    101 PUB ชวนคุยว่า 'นโยบายเงินอุดหนุนเกษตรกร' แบบเดิมๆ อย่างจำนำข้าว มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงแก้จน-ยกระดับชีวิตเกษตรกรไทยไม่ได้เสียที ในรายการ Policy What!
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!

    ดำเนินรายการโดย
    อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล กองบรรณาธิการ The101.world
    วรดร เลิศรัตน์ นักวิจัย 101 PUB

  • ค่ำวันนี้ (15 พ.ค. 2024) กำลังจะเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของการเมืองสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมเข้าพิธีสาบานตนเป็นนายกฯ คนใหม่ หลังจากที่นายกฯ คนปัจจุบัน ลี เซียนลุง ประกาศลงจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนผ่านผู้นำครั้งแรกในรอบ 20 ปี
    .
    ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมาในบทบาทผู้นำสิงคโปร์ ลี เซียนลุง ผู้เป็นบุตรชายของบิดาแห่งชาติและผู้นำคนแรกอย่าง ลี กวนยู ได้พาสิงคโปร์ที่พ่อเขาสร้าง เดินหน้าพัฒนาต่อมาในทิศทางใด และอนาคตการเมืองของตระกูลลีจะเป็นอย่างไรต่อไปในวันที่ยังไร้วี่แววทายาทมาสานงานต่อ? ASEAN บ่มีไกด์ ชวน ชยาภัทร วารีนิล นักวิเทศสัมพันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาคุยถึงเรื่องราวตัวตน ผลงาน และครอบครัวของ ลี เซียนลุง ในวันสุดท้ายของเขาบนเก้าอี้นายกฯ สิงคโปร์
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • ChatGPT บุกห้องเรียนมหาวิทยาลัย เอไอละเมิดลิขสิทธิ์ เอไอแย่งงานมนุษย์ ฯลฯ

    ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าหันไปทางไหน เอไอก็แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน

    แม้เราจะอยู่ท่ามกลางการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเอไอในทุกๆ วัน กระนั้นการมองเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนสำคัญของวัฒนธรรมมนุษย์ กลับไม่ค่อยถูกกล่าวถึงเท่าไรนัก

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยเรื่องบทบาทของ ‘เอไอ’ ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ ตลอดจนหลักการและนโยบายกำกับดูแลเอไอ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล https://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/

    มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม? เมื่อ ChatGPT และ AI ทำให้เราเรียนจบได้เหมือนกัน
    https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world/

    อาจารย์มหาวิทยาลัยจะสอนอย่างไร เมื่อ ChatGPT บุกห้องเรียน: ตัวอย่างการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์ https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world-7/

  • การเลือกตั้ง 2566 เคยเป็นความหวังของประชาชนในการออกจากระบอบประยุทธ์ แต่การจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วที่พรรคเพื่อไทยต้องจับมือ ‘สองลุง’ ทำให้ยังไม่ชัดเจนว่า เราออกจากระบอบนี้ไปแล้วหรือยัง
    .
    เหนือสิ่งอื่นใดนั้น ความหวังของประชาชนยังอยู่ เปลี่ยนรูป และย้ายไปที่ใดในการเมืองปัจจุบัน
    .
    ร่วมทบทวน 1 ปีเลือกตั้ง 2566 ใน “ค.การเมือง” รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และประทีป คงสิบ สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เวลาสองทุ่มตรง ทาง 101 ทุกแพลตฟอร์ม

  • นับตั้งแต่การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในเดือนพฤษภาคม 2553 ‘เดือนพฤษภาคม’ ก็กลายเป็นหมุดหมายใหม่ทางการเมือง เมื่อเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้สร้างแผลเป็นให้กับการเมืองไทยจนวันนี้ โดยเฉพาะยิ่งเมื่อผู้คนจำนวนมากยังไม่ได้รับความยุติธรรม
    .
    พฤษภาคม 2567 การเมืองไทยร้อนแรงเข้มข้น เมื่อ สว. ในฐานะองคาพยพสำคัญของระบอบต่อต้านเสียงกำลังจะหมดวาระ ในขณะที่เกมการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ก็กำลังเข้มข้นมากขึ้น
    .
    101 ชวน ‘จักรภพ เพ็ญแข’ สนทนาว่าด้วยการเมืองในเดือนพฤษภาคม จากมุมมองอดีตผู้ลี้ภัย คนเสื้อแดง และคนที่เข้าใจรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์
    .
    วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 เวลา 19.00 น. ทุกแพลตฟอร์มของ The101.world

  • ‘อยากเรียน ไม่ได้เรียน’
    ‘อีก 10 ปีข้างหน้า ผมก็น่าจะทำไร่อยู่บนดอย’
    ‘ถ้าเด็กมีทางเลือก เขาก็ไม่มามาบวชเรียน’

    ข้างต้นนี้คือเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากกลุ่ม ‘เด็กนอกสายตา’ ที่กำลังเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำหลายมิติ และเงื่อนไขสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป บางคนคือเด็กจากครอบครัวยากไร้ บางคนเป็นเด็กจากภาคเกษตรบนดอยสูง บางคนเป็นสามเณรที่ต้องบวชเพื่อให้ได้เรียน

    พ้นไปจากนี้ยังมีเด็กอีกมากมายที่ไม่เคยถูกมองเห็น ให้ความสำคัญ หรือกระทั่งทำความเข้าใจตัวตนและชีวิตเขาอย่างแท้จริง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุณมาลองเปิดตา เปิดใจ รับฟังเรื่องราวจากเด็กหลากหลายกลุ่มในชุดผลงาน Spotlight ‘เด็กนอกสายตา’ โดย 101 ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และสมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world